การมาตรฐานกับวันอนุรักษ์น้ำโลก

Share

วันอนุรักษ์น้ำโลก (World Water Day) ตรงกับวันที่ 22 มีนาคมของทุกปี  เนื่องในโอกาสนี้ องค์การสหประชาชาติจึงได้รณรงค์ให้วันอนุรักษ์น้ำโลกให้ความสำคัญกับหัวข้อ ธรรมชาติเพื่อน้ำ (Nature for Water) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสำรวจแนวทางแก้ไขปัญหาความท้าทายในเรื่องน้ำที่โลกของเรากำลังเผชิญในศตวรรษที่ 21

ระบบนิเวศน์ที่เสียหายได้ส่งผลกระทบต่อทั้งปริมาณและคุณภาพของน้ำที่มีอยู่สำหรับการบริโภคของมนุษย์ ปัจจุบัน มีประชากรโลกถึง 2.1 พันล้านคนต้องมีชีวิตอยู่โดยไม่มีน้ำที่สะอาดปลอดภัยซึ่งส่งผลต่อสุขภาพ การศึกษา และชีวิตความเป็นอยู่เป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาอย่างยั่งยืนตามเป้าหมายที่ 6 ขององค์การสหประชาชาติเกิดขึ้นด้วยความมั่นใจว่าคนทุกคนทั่วโลกจะสามารถเข้าถึงน้ำที่ปลอดภัยได้ภายในปี 2573 (ค.ศ.2030) รวมทั้งมีเป้าหมายในการปกป้องสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติและลดปัญหามลภาวะ

น้ำนับว่าเป็นพลังงานชีวิตของมนุษย์ ขณะเดียวกันน้ำก็ตกอยู่ภายใต้ภัยคุกคามด้วย  วันอนุรักษ์น้ำโลกเป็นการเตือนให้เรานึกถึงความสำคัญของทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในโลกซึ่งก็คือ “น้ำ” นั่นเอง

ความแห้งแล้ง น้ำท่วม และมลพิษทางน้ำทำให้เกิดแรงกดดันต่อการใช้น้ำทั่วโลก มีการคาดการณ์ว่าความต้องการน้ำจะเพิ่มขึ้นถึง 55% ภายในปี 2593 (ค.ศ.2050) วันอนุรักษ์น้ำโลกจึงต้องการให้โลกใส่ใจในการแก้ไขปัญหานี้

ไอเอสโอหรือองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานได้พัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับน้ำไปแล้วมากกว่า 1,200 มาตรฐาน ทำให้มีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับความท้าทายในเรื่องน้ำเป็นจำนวนมากและมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมเป้าหมายที่ 6 ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติในเรื่องน้ำสะอาดและการสุขาภิบาลเพื่อคนทั่วโลก

ตัวอย่างเช่น การใช้น้ำ สามารถส่งมอบทรัพยากรน้ำที่จำเป็นไปยังระบบนิเวศโดยไม่จำเป็นต้องมีการบำบัดหรือการใช้ซ้ำ เกี่ยวกับประเด็นนี้ ไอเอสโอได้พัฒนามาตรฐานจำนวนหนึ่งขึ้นมาเพื่อให้มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมาตรฐานสากลในเรื่องน้ำเสีย  ซึ่ง ISO 24516 ได้ให้แนวทางสำหรับการบริหารจัดการเครือข่ายน้ำเสียในขณะที่มาตรฐาน ISO 16075 ให้แนวทางการบริหารจัดการน้ำเสียในโครงการชลประทาน และในอนาคตอันใกล้ จะมีมาตรฐาน ISO 24526 ซึ่งจะกำหนดข้อกำหนดพื้นฐานสำหรับวิธีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้  คณะกรรมการโครงการใหม่ของไอเอสโอได้มีการจัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนามาตรฐานสำหรับฉลากผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพด้วย

ปัจจุบัน ไอเอสโอมีการพัฒนามาตรฐานเพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีและแนวทางการแก้ไขปัญหาใหม่ เช่น มาตรฐาน ISO 30500 ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งจะช่วยปรับปรุงสภาพการสุขาภิบาลสำหรับคนทั่วโลกอีกราว 1.8 พันล้านคนที่ต้องใช้น้ำที่ปนเปื้อนสิ่งแปลกปลอมต่างๆ

ดูเล โกเน่ รองผู้อำนวยการด้านน้ำ สุขาภิบาลและสุขอนามัยแห่งมูลนิธิเกตส์ กล่าวว่าเขาได้ทำงานด้านเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยให้มีห้องน้ำที่สะอาดและไม่ต้องพึ่งพิงกับระบบท่อน้ำทิ้ง และในฐานะประธานคณะกรรมการโครงการ ISO/PC 305 เขาได้ทำงานเพื่อสร้างแนวทางการสนับสนุนเทคโนโลยีใหม่นี้เช่นกัน

การสุขาภิบาลแบบแยกส่วนเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่จำเป็นต้องใช้แนวทางที่นวัตกรมีการลงทุนในทรัพยากรอย่างชาญฉลาด ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ในปัจจุบันยังคงมีค่าใช้จ่ายสูง เราจึงจำเป็นต้องทำให้ราคาถูกลงด้วยการใช้ในปริมาณสูง

แนวทางการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ทุกวันนี้ยังมีราคาสูง แต่เราสามารถทำให้ราคาต่ำลงได้ด้วยการขยายจำนวนการใช้งาน ด้วยเหตุนี้ มาตรฐานสากลจึงช่วยกำหนดข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของประชากรขนาดใหญ่ และเมื่อใดที่มีการนำมาตรฐานไปใช้ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ก็จะทำให้อุตสาหกรรมนี้สามารถแข่งขันได้ด้วยการส่งมอบนวัตกรรมและบริการที่ดีที่สุดในราคาที่คนส่วนใหญ่สามารถซื้อหามาได้

ผู้สนใจมาตรฐานสากลเรื่องน้ำ สามารถศึกษาได้จากเว็บไซต์ของไอเอสโอ : https://www.iso.org/publication/PUB100293.html
วารสารไอเอสโอโฟกัสในหัวข้อน้ำและการสุขาภิบาล : https://www.iso.org/isofocus_126.html

 

ที่มา : 1. https://www.iso.org/news/ref2276.html

         2. http://worldwaterday.org/

 468 ผู้เข้าชมทั้งหมด