เสริมสร้างความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานด้วยมาตรฐาน ISO 45001

Share

3.1 ACHIEVE WORKPLACE SAFETY WITH ISO 45001การเปลี่ยนผ่านจากมาตรฐานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยต่างๆ เข้าสู่มาตรฐาน ISO 45001เมื่อเดือนมีนาคม 2564 เป็นช่วงเวลาที่องค์กรต่างๆ ได้ผ่านการปรับตัวเข้าสู่มาตรฐานใหม่แล้ว ปัจจุบัน องค์กรโดยทั่วไปต่างทราบดีว่าองค์กรมีหน้าที่ดูแลและลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตรายต่างๆ ได้สำหรับคนที่อาจได้รับผลกระทบจากกิจกรรมการปฏิบัติงาน เช่น พนักงาน ผู้จัดการ ผู้รับเหมา หรือผู้เข้าชมงาน เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อองค์กรมีส่วนร่วมเพื่อดำเนินกิจกรรมดังกล่าวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาชีพของพวกเขา

ข้อมูลจากการประเมินขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) พบว่ามีคนจำนวน 2.34 ล้านคนเสียชีวิตเมื่อปี 2556 (ค.ศ.2013) อันเนื่องมาจากกิจกรรมการทำงานเป็นส่วนใหญ่มากที่สุดถึง 2 ล้านคนซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปัญหาการบาดเจ็บต่างๆ  แล้วพบว่าเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพนั่นเอง และสถาบันความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (IOSH) ก็ได้ประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิต 660,000 รายต่อปีอันเป็นผลมาจากโรคมะเร็งที่เกิดจากกิจกรรมการทำงานด้วย

ไอเอสโอตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าวจึงได้พัฒนามาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ISO 45001, Occupational health and safety management systems — Requirements with guidance for use

ขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้องค์กรสามารถจัดการความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OH&S) และปรับปรุงประสิทธิภาพ OH&S ซึ่งการนำระบบการจัดการ OH&S ไปใช้จะเป็นกลยุทธ์การตัดสินใจสำหรับองค์กรที่สามารถนำไปใช้สนับสนุนความคิดริเริ่มด้านความยั่งยืนได้  ทำให้มั่นใจว่าผู้คนจะมีความปลอดภัยและมีสุขภาพดีขึ้น และขณะเดียวกันก็เพิ่มผลกำไรได้

ในส่วนของพนักงานเอง ข้อกำหนดทางกฎหมายจะช่วยให้สถานที่ทำงานมีความปลอดภัย โดยมีความรับผิดชอบในการดูแลสุขอนามัยและความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่นที่อาจได้รับผลกระทบจากการกระทำของตนเองในที่ทำงาน หากพนักงานปฏิบัติตามคำแนะนำด้านความปลอดภัย ก็จะช่วยให้สถานที่ทำงานให้ปลอดภัย และทำให้องค์กรสามารถปฏิบัติตามหน้าที่ทางกฎหมายได้เป็นอย่างดีโดยความรับผิดชอบหลักของพนักงานก็คือทำเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับงานของตนเอง และดำเนินงานอย่างปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงในที่ทำงาน

นอกจากนี้ พนักงานจำเป็นต้องปฏิบัติตามการฝึกอบรมด้านสุขภาพและความปลอดภัย และทำงานในลักษณะที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือเพิ่มความเสี่ยงให้กับตนเองหรือผู้อื่น  ปฏิบัติตามขั้นตอนด้านความปลอดภัย ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์ที่มีไว้เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น เช่น เกราะ ระบบ อุปกรณ์ และการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเอง (PPE) หากจำเป็นต้องใช้งาน รวมทั้งพนักงานควรปฏิบัติงานในเชิงรุกและช่วยป้องกันอันตรายในขณะปฏิบัติงานด้วย เช่น จัดระเบียบสิ่งกีดขวางหรือทำความสะอาด  ช่วยรายงานสิ่งผิดปกติในกระบวนการด้านความปลอดภัยเมื่อพบว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่เสี่ยงต่อความปลอดภัย เช่น พบอุปกรณ์ที่ชำรุดหรืออุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่ชำรุด ก็ต้องแจ้งหัวหน้าทันที เป็นต้น

ดังนั้น ISO 45001 จะช่วยในเรื่องความรับผิดชอบด้านสุขภาพและความปลอดภัยได้เป็นอย่างดี การมีระบบการจัดการด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่ชัดเจนจะช่วยให้องค์กรสามารถระบุความเสี่ยงเฉพาะและติดตามว่าพนักงานคนใดรับผิดชอบความเสี่ยงเหล่านั้น   เป้าหมายสูงสุดของการนำมาตรฐานนี้ไปใช้คือการทำให้พนักงานมีความปลอดภัยจากภยันตรายต่างๆ   อย่างไรก็ตาม การลดความเสี่ยงของอุบัติเหตุ การเรียกร้องสินไหมค่าใช้จ่าย และการหยุดชะงักของธุรกิจจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับองค์กรที่นำมาตรฐานนี้ไปใช้

การปฏิบัติตาม ISO 45001 จะช่วยให้องค์กรสามารถแสดงความสอดคล้องของระบบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และสามารถสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้ ตลอดจนสามารถรักษาธุรกิจเอาไว้ได้ รวมถึงโอกาสในการทำสัญญาต่างๆ กับภาครัฐด้วย
ที่มา: 1. https://www.iso.org/files/live/sites/isoorg/files/archive/pdf/en/iso_45001_briefing_note.pdf
2. https://www.british-assessment.co.uk/insights/who-is-responsible-health-and-safety-in-workplace/  

 1,106 ผู้เข้าชมทั้งหมด