ไอเอสโอเปิดใจ “ธรรมภิบาลสำคัญอย่างไร”

Share

ธรรมาภิบาลเป็นระบบและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการทำให้มั่นใจในการบริหารจัดการที่ดีขององค์กร ได้แก่ ทิศทาง ความมีประสิทธิผล การชี้แนะ และความรับผิดชอบขององค์กร

ไม่ว่าจะเป็นธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาข้ามชาติ องค์การสหประชาชาติ (UN) คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) หรือสถาบันด้านการพัฒนาที่สำคัญของโลก ต่างกล่าวว่าการส่งเสริมธรรมาภิบาลเป็นวาระสำคัญของการดำเนินงาน

เมื่อเร็วๆ นี้ คำถามที่ว่า “จะปรับปรุงธรรมาภิบาลอย่างไร” ได้กลายเป็นหัวข้อหลักในระดับโลก อันที่จริง ธรรมาภิบาลเป็นหัวใจหลักขององค์กรสากลที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางในการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์และขับเคลื่อนให้เกิดการปรับปรุงรวมทั้งรักษาไว้ซึ่งจุดยืนทางจริยธรรมและเรื่องทางกฎหมายในมุมมองของผู้ถือหุ้นและชุมชนในวงกว้าง

มีคำถามว่าธรรมภิบาลสามารถปรับปรุงได้อย่างไร และเราจะวัดหรือประเมินคุณภาพของธรรมาธิบาลได้อย่างไร เซอร์จิโอ มูจิก้า เลขาธิการไอเอสโอกล่าวในฐานะที่เป็นผู้นำขององค์กรระดับสากลว่า ธรรมาภิบาลเป็นส่วนสำคัญหลักขององค์กรใน 3 ระดับ

ระดับแรก ไอเอสโอเป็นระบบที่ประกอบด้วยสมาชิกจากทุกส่วนของโลกซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติรวม 162 ประเทศ วิสัยทัศน์ของไอเอสโอคือการนำไปสู่ความหลากหลายและชุมชนสมาชิกที่กำลังเติบโตและมีส่วนร่วมหรือได้รับผลกระทบจากการมาตรฐาน ประการที่สอง กลไกที่โปร่งใสและอยู่บนพื้นฐานของความเห็นพ้องต้องกันในการริเริ่มและส่งมอบมาตรฐานสากลที่ออกแบบมาเพื่อทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ ขอบข่ายและการจัดการด้านความร่วมมือทำให้ไอเอสโอมีกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลายกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ประการที่สาม ไอเอสโอตอบสนองความต้องการใหม่ๆ ของสังคมและผู้ที่มีบทบาทในด้านเศรษฐกิจ ตัวอย่างเช่น ไอเอสโอได้ตีพิมพ์เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมาภิบาลเมื่อเร็วๆ นี้ซึ่งเป็นเรื่องของระบบการจัดการการต่อต้านการติดสินบนและมาตรฐานระบบการจัดการด้านความสอดคล้องประเด็นธรรมาภิบาลได้กลายเป็นเรื่องที่มีความโดดเด่น และไอเอสโอได้มีส่วนร่วมที่สำคัญในการพัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องและประสบความสำเร็จในปัจจุบันด้วย กล่าวคือ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการไอเอสโอ ISO/TC 309, Governance of organizations ซึ่งมีการพัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับธรรมภิบาลในทุกแง่มุม รวมทั้งทิศทาง การควบคุม และความรับผิดชอบ ประเด็นนี้ยังให้ความสำคัญกับขอบข่ายที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น การบริหารความเสี่ยง ความต่อเนื่องทางธุรกิจ และการจัดซื้ออย่างยั่งยืนด้วยการเพิ่มความโปร่งใสและความรับผิดชอบขององค์กร

สำหรับไอเอสโอแล้ว เลขาธิการไอเอสโอกล่าวว่าการที่ไอเอสโอมี “แบรนด์เนม” ที่มีชื่อเสียงที่เกี่ยวข้องกับการแสดงถึงคุณภาพและเป็นที่รับรู้ไปทั่วโลกว่าเป็นองค์กรสากลนั้นก็ยังไม่เพียงพอ ไอเอสโอจะต้องค้นหาความก้าวหน้าและประเมินความต้องการ ความคาดหวัง และความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสม่ำเสมอด้วย ซึ่งจากการประชุมสมัชชาของไอเอสโอที่กรุงเบอร์ลินเมื่อเร็วๆ นี้ ทำให้ไอเอสโอได้มีโอกาสค้นหาสิ่งต่างๆ ดังกล่าว และได้ชี้แจงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการทบทวนในบางประเด็นของเรื่องธรรมภิบาลซึ่งก่อนหน้านี้ยังไม่ได้หารือกันอย่างเป็นทางการ รวมทั้งอัพเดทชุดเอกสารที่ประกอบด้วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง กฎระเบียบ คู่มือขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่งานและความโปร่งใส

ไอเอสโอจึงสามารถทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากขึ้น รวมทั้งมีโครงสร้างธรรมาภิบาลที่ดีและมีความสอดคล้องกับวิธีปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

เลขาธิการไอเอสโอกล่าวว่า ในฐานะที่เป็นผู้นำของไอเอสโอ เขามีบทบาทที่จะทำให้มั่นใจว่าองค์ประกอบของระบบนี้ ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 162 ประเทศ เปรียบเสมือนครอบครัวที่มีความมั่นคง มีผู้เชี่ยวชาญที่มีพันธสัญญา มีหุ้นส่วนระดับสากลที่เข้ามามีปฏิสัมพันธ์กันอย่างดี และธรรมาภิบาลที่ดีจะทำให้ทุกประเทศก้าวหน้าไปพร้อมๆ กันโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

 

ที่มา:

  1. https://www.iso.org/isofocus_125.html

 543 ผู้เข้าชมทั้งหมด