ISO 31000: 2018 / มตช.31000- 25ุ62

1. ชื่อมาตรฐาน
(ภาษาอังกฤษ) ISO 31000 : 2018 – Risk management – Guidelines
(ภาษาไทย) มตช. 31000 – 2562 : หลักการและแนวทางการบริหารความเสี่ยง

2. การประกาศใช้
ISO : 14 February 2018
มอก : 24 สิงหาคม พ.ศ.2555

3. หน่วยงานเจ้าของมาตรฐาน (ผู้ประกาศใช้)
ISO: International Organization for Standardization (TC 262 Risk management)
มอก. : สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

4. ประเภทมาตรฐาน
มอก.31000 / ISO 31000 เป็นมาตรฐานซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้โดยไม่ต้องขอการรับรอง

5. ขอบเขตและการนำมาตรฐานไปใช้
1) ขอบเขตการนำไปใช้
มาตรฐานนี้เป็นหลักการและแนวทางในการบริหารความเสี่ยงขององค์กร ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ได้ทุกขนาดและทุกชนิดของธุรกิจ อีกทั้งยังสามารถประยุกต์ใช้ได้ทั่วทุกกิจกรรมขององค์กร รวมถึง การกำหนดกลยุทธ์ในการตัดสินใจ กระบวนการปฏิบัติงาน โครงการต่างๆ ผลิตภัณฑ์ การบริการและทรัพย์สินขององค์กร โดยองค์กรที่นำไปใช้สามารถที่จะออกแบบและประยุกต์ใช้แผนการบริหารความเสี่ยงและกำหนดกรอบการบริหารความเสี่ยงได้อย่างเป็นระบบ
มาตรฐานนี้ไม่ได้มุ่งหวังให้เกิดการบริหารความเสี่ยงที่มีรูปแบบเหมือนกันทุกองค์กร ซึ่งการออกแบบและการนำไปใช้ของแผนและแนวทางการบริหารความเสี่ยงนั้นจะต้องนำไปใช้ให้เหมาะสมและเฉพาะเจาะจงกับองค์กรนั้นๆ ตามวัตถุประสงค์ บริบท โครงสร้าง การดำเนินการ กระบวนการ หน้าที่งาน โครงการ ผลิตภัณฑ์ บริการ หรือสินทรัพย์ รวมถึงการปฏิบัติในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ใช้
เจตนารมณ์ของมาตรฐานนี้เพื่อต้องการให้นำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้ประสานเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารความเสี่ยงที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันหรือที่จะดำเนินการในอนาคต
2) องค์กรที่นำไปใช้
มาตรฐานนี้สามารถนำไปใช้ได้กับองค์กรประเภทต่างๆ เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน วิสาหกิจชุมชน สมาคม กลุ่ม หรือบุคคล ไม่เฉพาะเจาะจงว่าเป็นอุตสาหกรรมหรือภาคส่วนใด ไม่ว่าความเสี่ยงขององค์กรแต่ละประเภทจะเป็นแบบใด ทั้งที่มีผลสืบเนื่องทางบวกหรือทางลบ

6. สาระสำคัญของมาตรฐาน

ภาพหลักการ กรอบกรอบการบริหาร และกระบวนการ การบริหารความเสี่ยง (ที่มา ISO 31000:2018)

มาตรฐานกล่าวถึงหลักการของการบริหารความเสี่ยง โดยองค์กรควรดำเนินการตามหลักการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ โดยหลักการของการบริหารความเสี่ยง คือ 1) การบูรณาการการจัดการความเสี่ยงให้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร 2) โครงสร้างและแนวทางการดำเนินการที่ครอบคลุมการบริหารความเสี่ยง 3)กรอบการบริหารและกระบวนการจัดการความเสี่ยงที่กำหนดเองและเหมาะสมกับบริบทองค์กร 5) การมีส่วนร่วมที่เหมาะสมและทันเวลาของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 6) มีความยืดหยุ่น 7) ข้อมูลที่นำมาใช้ในกรอบการบริหารความเสี่ยงที่เป็นประโยชน์ 8) ปัจจัยด้านบุคคลและวัฒนธรรม 9) ช่วยให้องค์กรเกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
กรอบการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วย
– ภาวะผู้นำและความมุ่งมั่นของผู้บริหาร
– บูรณาการการบริหารความเสี่ยงเข้ากับกระบวนการขององค์กร
– การออกแบบการจัดการความเสี่ยง โดยต้องทำความเข้าใจองค์กรและบริบทขององค์กร การจัดการความเสี่ยงที่ชัดเจน จัดทำนโยบาย วัตถุประสงค์ การจัดการความเสี่ยง กำหนดอำนาจ หน้าที่ และผู้รับผิดชอบ จัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นและเหมาะสม จัดทำกลไกการสื่อสารและการรายงานภายทั้งภายในและภายนอกองค์กร ทบทวนและปรับปรุง
– การนำการบริหารความเสี่ยงไปปฏิบัติ โดยนำกรอบการบริหารความเสี่ยงและกระบวนการบริหารความเสี่ยงไปปฏิบัติ
– การประเมินผลกรอบการบริหารความเสี่ยง
– การปรับปรุงกรอบการบริหารความเสี่ยง

นอกจากนั้นมาตรฐานฉบับนี้ยังมีกระบวนการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วย 1) การสื่อสารและการให้คำปรึกษา 2) การสร้างบริบทและการประเมินการปฏิบัติ 3) การติดตามตรวจสอบ 4) การบันทึกและการรายงานความเสี่ยง เพื่อให้ผู้ที่จะนำมาตรฐานนี้ไปใช้เกิดความความเข้าใจและประยุกต์ใช้ได้ดียิ่งขึ้น

7. ประโยชน์จากการจัดทำมาตรฐาน
• ภาคธุรกิจ / องค์กรไม่หวังผลกำไร
องค์กรที่นำมาตรฐานนี้ไปปฏิบัติจะได้รับการยอมรับว่าเป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เนื่องจากองค์กรแต่ละแห่งมีระดับความรู้ ความเข้าใจ และมีการนำความรับผิดชอบต่อสังคมไปใช้แบบบูรณาการในองค์กรของตนที่แตกต่างกัน
องค์กรที่เพิ่งเริ่มต้นอาจพบว่ามาตรฐานนี้ให้ประโยชน์ต่อตนเองโดยการศึกษาแล้วนำไปประยุกต์ใช้ ในขณะที่องค์กรที่มีประสบการณ์แล้วอาจนำไปใช้เพื่อปรับปรุงแนวปฏิบัติในปัจจุบันเพื่อการบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าไปในการดำเนินงานขององค์กร
• ภาครัฐ
ใช้ในการขับเคลื่อนให้องค์กรมีการบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อลดหรือป้องกันผลกระทบเชิงลบที่จะเกิดแก่องค์กรและผู้มีส่วนได้เสีย

8. แหล่งข้อมูลและเอกสารอ้างอิง
– https://www.iso.org/standard/65694.html
– http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/E/129/9.PDF

ปรับปรุงข้อมูลเมื่อเดือนกรกฎาคม 2563