ISO 29001 : 2020

1. ชื่อมาตรฐาน
(ภาษาอังกฤษ) ISO 29001:2020 Petroleum, petrochemical and natural gas industries — Sector-specific quality management systems — Requirements for product and service supply organizations
(ภาษาไทย) ระบบบริหารคุณภาพ สำหรับอุตสาหกรรมน้ำมัน ปิโตรเคมีและก๊าซธรรมชาติ
2. การประกาศใช้
13 May 2020
3. หน่วยงานเจ้าของมาตรฐาน
ISO : International Organization for Standardization(ISO/TC 67)
พัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือกันระหว่าง คณะกรรมการทางด้านเทคนิค Technical Committee CEN/TC 12 ของ ISO ที่ดูแลทางด้านวัสดุ อุปกรณ์ และโครงสร้างนอกชายฝั่ง (Offshore) สำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และก๊าซธรรมชาติ และ European Committee for Standardization (CEN)
4. ประเภทมาตรฐาน
ISO 29001 เป็นระบบการจัดการ สามารถขอการรับรองจากหน่วยรับรองระบบ (Certification Body) ที่ให้บริการได้
5. ขอบเขตและการประยุกต์ใช้
ISO 29001 เป็นมาตรฐานสากลที่พัฒนาเพิ่มเติมจากระบบการจัดการคุณภาพ (ISO 9001) โดยเพิ่มเติมข้อกำหนดย่อยเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี (ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และก๊าซธรรมชาติ) โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับองค์กรที่ทำหน้าที่จัดให้มีสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ รวมถึงผู้ผลิตอุปกรณ์ เครื่องมือ และวัสดุ ทั้งในระดับต้นน้ำ (Upstream) และปลายน้ำ (Downstream) ในอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซรวมไปถึงผู้ให้บริการในอุตสาหกรรม ผู้จัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุและบริการ
6. สาระสำคัญของมาตรฐาน
ISO 29001 เป็นมาตรฐานด้านการจัดการคุณภาพบนพื้นฐานของ ISO 9001 ซึ่งได้เพิ่มเติมข้อกำหนดเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเน้นไปที่การป้องกันข้อบกพร่องและการลดความคลาดเคลื่อนและของเสียจากผู้ให้บริการ โดยกรอบแนวคิดตามโมเดลกระบวนการของระบบการจัดการคุณภาพ ดังภาพ


ภาพแสดงแผนผังของกระบวนการและการทำงานร่วมกันขององค์ประกอบของระบบการจัดการคุณภาพ

สาระสำคัญของมาตรฐานประกอบด้วย
ข้อ 0 บทนำ กล่าวถึง แนวทางการดำเนินงานตามระบบการจัดการคุณภาพ ความสัมพันธ์กับ ISO 9001 หลักการด้านการจัดการคุณภาพ แนวทางการนำมาตรฐานไปใช้ แนวคิดการประเมินความเสี่ยง และตวามสัมพันธ์กับมาตรฐานกลุ่ม ISO 9000
ข้อ 1 ขอบข่าย กล่าวถึง ขอบข่ายของการนำมาตรฐานฉบับนี้ไปใช้
ข้อ 2 การอ้างอิง กล่าวถึง เอกสารและมาตรฐานที่ใช้อ้างอิง ซึ่งมีการอ้างอิงถึง ISO 9000 : 2015 เรื่องคำศัพท์
ข้อ 3 คำศัพท์และคำจำกัดความ โดยอ้างอิงตาม ISO 9000 : 2015
ข้อ 4 บริบทองค์กร
– มีความเข้าใจในองค์กรและบริบทขององค์กร โดยพิจารณาปัจจัยภายนอกและภายในที่เกี่ยวข้องกับจุดประสงค์ขององค์กร และมีผลกระทบต่อความสามารถขององค์กรในการบรรลุผลลัพธ์ตามที่คาดหวังไว้
– เข้าใจถึงความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
– กำหนดขอบเขตของการนำระบบบริหารงานคุณภาพไปประยุกต์ใช้ โดยต้องพิจารณาถึงองค์กร บริบทองค์กร และความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย
– กำหนดกระบวนการที่จำเป็นและความสัมพันธ์ของแต่ละกระบวนการภายใต้ขอบเขตระบบบริหารงานคุณภาพ

ข้อ 5 ความเป็นผู้นำ
– ผู้บริหารต้องแสดงบทบาทภาวะผู้นำและความมุ่งมั่นในการนำระบบบริหารงานคุณภาพไปใช้ในองค์กร มีการกำหนดนโยบาย บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่ในองค์กร และมีการสื่อสารไปยังผู้เกี่ยวข้อง
ข้อ 6 การวางแผน
– การวางแผนระบบบริหารงานคุณภาพ ต้องพิจารณาถึงประเด็นหลักที่ได้จากการกำหนดบริบทองค์กร และความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย และชี้บ่งความเสี่ยงและโอกาสที่จำเป็นต้องจัดการ เพื่อให้ระบบบริหารงานคุณภาพบรรลุผลลัพธ์ที่มุ่งหวัง ป้องกันหรือลดผลกระทบที่ไม่ต้องการ และให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
– กำหนดและสื่อสารวัตถุประสงค์และแผนงานไปยังหน่วยงานต่างๆ ในองค์กร
– การวางแผนสำหรับการเปลี่ยนแปลง
ข้อ 7 การสนับสนุน
– องค์กรต้องจัดเตรียมทรัพยากรที่จำเป็น
– องค์กรต้องกำหนดความรู้ความสามารถของบุคลากรที่รับผิดชอบ และจัดให้มีการพัฒนาทักษะและความรู้ความสามารถที่จำเป็นต่อการดำเนินงาน
– การสร้างความตระหนักให้แก่บุคลากรเกี่ยวกับนโยบาย วัตถุประสงค์คุณภาพ การมีส่วนร่วม บทบาทหน้าที่ และสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อระบบ
– การสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร
– การจัดการเอกสารสารสนเทศตามข้อกำหนด การควบคุม และจัดทำเอกสารสารสนเทศให้ทันสมัย
ข้อ 8 การดำเนินการ
– องค์กรต้องมีการวางแผนและควบคุมกระบวนการที่จำเป็นภายใต้ระบบบริหารงานคุณภาพ เพื่อให้สอดคล้องตามข้อกำหนดของการจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์และบริการ
– การระบุ และทบทวนข้อกำหนดด้านผลิตภัณฑ์และบริการ
– การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ
– การควบคุมผู้ส่งมอบภายนอก ครอบคลุมผู้ส่งมอบสินค้า บริการ กิจกรรม/กระบวนการที่ว่าจ้างภายนอกดำเนินการแทน
– การทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์และบริการ
– การตรวจปล่อยผลิตภัณฑ์และบริการ
– การควบคุมผลิตภัณฑ์และบริการที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
ข้อ 9 การประเมินสมรรถนะ
– การเฝ้าระวัง การวัด การวิเคราะห์ และการประเมิน เพื่อให้มั่นใจถึงความถูกต้องของผลลัพธ์
– การตรวจประเมินภายใน
– การทบทวนของฝ่ายบริหาร
ข้อ 10 การปรับปรุง
– องค์กรต้องปฏิบัติการแก้ไขเมื่อเกิดความไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
– การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาระบบบริหารงานคุณภาพที่เหมาะสม เพียงพอ และเกิดประสิทธิผล
ภาคผนวก A การชี้แจงโครงสร้าง คำศัพท์ และขอบข่ายใหม่ของมาตรฐาน
ภาคผนวก B มาตรฐานสากลด้านการจัดการคุณภาพและระบบการจัดการสากลอื่นๆ ที่จัดทำโดย ISO/TS176
ภาคผนวก C การจัดการความเสี่ยงและโอกาส และกระบวนการประเมินความสอดคล้อง
7. ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำมาตรฐานไปใช้
– ผู้ที่ได้รับการรับรอง ISO 29001 สามารถได้รับใบอนุญาตทางการค้าที่ช่วยเพิ่มโอกาสในทางธุรกิจ
– แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและแนวทางการปฏิบัติที่ดีขององค์กรเพื่อผู้มีส่วนได้เสีย
– ปรับปรุงวิธีจัดการกับความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
– ปรับปรุงการดำเนินงานในการปรับปรุงคุณภาพและลดของเสีย
– ทำให้มีการสื่อสารที่ดีและการประเมินอย่างสม่ำเสมอเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
8. แหล่งข้อมูลอ้างอิง
– https://www.iso.org/standard/67773.html
– https://innoversity.masci.or.th/?p=25246

ปรับปรุงข้อมูลเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563