มตช. 2 เล่ม 2-2564 ระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียน สําหรับองค์กร เล่ม 2  ข้อกําหนด

  1. ชื่อมาตรฐาน

ภาษาอังกฤษ :  CIRCULAR ECONOMY MANAGEMENT SYSTEM FOR ORGANIZATION PART 2: REQUIREMENTS

ภาษาไทย :  ระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียน สําหรับองค์กร เล่ม 2  ข้อกําหนด

  1. การประกาศใช้

17 พฤษภาคม 2564

  1. หน่วยงานเจ้าของมาตรฐาน

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

  1. ประเภทมาตรฐาน

เป็นมาตรฐานระบบการจัดการ โดยมีโครงสร้างของมาตรฐานเช่นเดียวกับมาตรฐานที่เป็นระบบการจัดการ เช่น ระบบการจัดการคุณภาพ ระบบการจัดการ สิ่งแวดล้อม ซึ่งเปนมาตรฐานที่องค์กรในประเทศไทยมีการประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายอยู่แล้ว ซี่งสามารถใช้ในการประเมินความสอดคล้อง องค์กรที่ต้องการแสดงให้เห็นถึงความสอดคลองตามมาตรฐานนี้สามารถทําโดย

  • พิจารณาด้วยตนเองและประกาศตนเอง (self-declaration)
  • ให้การยืนยันความสอดคล้องโดยหน่วยงานซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับองค์กร เช่น ลูกค้า
  • ใหการรับรองระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียนสําหรับองค์กร โดยหน่วยงานภายนอกองค์กร
  1. ขอบเขตและการนำมาตรฐานไปใช้

มาตรฐานนี้มีจุดมุ่งหมายให์องค์กรนําไปใช้สําหรับการดําเนินการเกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียนในองค์กร โดยมีโครงสร้างของมาตรฐานเช่นเดียวกับมาตรฐานที่เป็นระบบการจัดการ เช่น ระบบการจัดการคุณภาพ ระบบการจัดการ สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นมาตรฐานที่องคกรในประเทศไทยมีการประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายอยู่แล้ว ทั้งเพื่อให้องค์กร สามารถนําไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยหากต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม สามารถศึกษาได้จากมาตรฐานการตรวจสอบและรับรองแห่งชาติ แนวทางการใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนในองค์กร มาตรฐานเลขที่ มตช. 2 – 2562 และมีวัตถุประสงค์เพื่อนําไปใช้กับองค์กรใดๆ โดยไมคํานึงถึงสถานที่ตั้ง ขนาด กลุ่มประเภท และรูปแบบการดําเนินธุรกิจ

  1. ประโยชน์ของการนำมาตรฐานไปใช้

เศรษฐกิจหมุนเวียน มีเป้าประสงค์เพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจโลกให้สามารถเติบโตได้ในระยะยาวและมีศักยภาพที่จะช่วยให้เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจพร้อมกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ตลอดจนสนับสนุนการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงผลกระทบอาจที่เกิดขึ้นตามมา

  • ประโยชน์ระดับมหภาค

1) ลดการพึ่งพาการหาวัตถุดิบปฐมภูมิใหม่ๆ เนื่องจากมีการหมุนเวียนวัสดุให้อยู่ในวัฏจักรทั้งในท้องถิ่นและในเขตพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ช่วยลดความผันผวนของราคาสินค้าซึ่งเป็นความเสี่ยงหลักของธุรกิจที่ต้องพึ่งพาการนำเข้า และช่วยให้ระบบเศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้ดีขึ้น

2) ลดปัญหาด้านวัสดุและพลังงานที่มีอยู่อย่างจำกัดและส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ และทำให้องค์กรสามารถขยายการเจริญเติบโตต่อไปยังตลาดที่เกิดใหม่

3) รักษาต้นทุนธรรมชาติและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • ประโยชน์ระดับจุลภาค

1) ลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนสุทธิของการผลิต การได้มาและการใช้ผลิตภัณฑ์หรือบริการรูปแบบต่างๆ

2) สร้างนวัตกรรมและแหล่งรายได้ใหม่ ทั้งนี้ แหล่งรายได้ใหม่ดังกล่าว อาจมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการหรือการลงทุนที่เพิ่มขึ้นจากเดิม จึงควรมีการประเมินประโยชน์โดยรวมสุทธิ และควรระบุความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงสภาพตลาด

3) ปรับปรุงความสัมพันธ์กับลูกค้า องค์กรมีโอกาสที่จะสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้ามากขึ้น ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการรักษาฐานลูกค้า ความภักดีต่อแบรนด์ของสินค้า และจำนวนเข้าเยี่ยมชมหน้าร้านหรือหน้าเว็บไซต์

4) การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจขององค์กรที่ดีขึ้นจากการลดการพึ่งพาการนำเข้าหรือจัดหาวัตถุดิบปฐมภูมิใหม่ๆ และความท้าทายอื่นที่เกี่ยวข้อง

  1. สาระสำคัญของมาตรฐาน

     มาตรฐานนี้ ประกอบด้วย ส่วนที่เป็นข้อกำหนดทั่วไป คือ ข้อ 1 – ข้อ 3 และส่วนที่เป็นข้ำกำหนดสำหรับนำไปปฏิบัติ คือ ข้อ 4 – ข้อ 10 ดังนี้

บทนํา

  1. ขอบข่าย
  2. เอกสารอ้างอิง (Informative reference) : มตช. 2–2562แนวทางการใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนในองค์กร
  3. ศัพท์และนิยามศัพท์ : ระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy management system) หมายถึง ส่วนของระบบการจัดการที่มีการจัดทํา ดําเนินการ ติดตาม ตรวจสอบ และปรับปรุงด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนขององค์กร
  4. บริบทองค์กร โดยองค์กรต้องมี

4.1 การเข้าใจบริบทองค์กร

4.2 การเข้าใจความต์องการและความคาดหวังของผูมีสวนไดเสีย

4.3 การกําหนดขอบข่ายของระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียนสําหรับองคกร

4.4 ระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียนสําหรับองคกร

  1. ความเป็นผู้นํา ต้องรวมถึง

5.1 ความเป็นผู้นําและความมุ่งมั่น

5.2 นโยบาย (นโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน การสื่อสาร)

5.3 บทบาท ความรับผิดชอบ และอํานาจหนาที่

  1. การวางแผน ครอบคลุมถึง

6.1 การดําเนินการเพื่อจัดการกับความเสี่ยงและโอกาส

6.2 วัตถุประสงค์เศรษฐกิจหมุนเวียนและการวางแผนเพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์

  1. การสนับสนุน

7.1 ทรัพยากร : กําหนดและจัดหาทรัพยากรทั้งหมดที่จําเป็น สําหรับการจัดทํา นําไปปฏิบัติ รักษาไว้ และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องสําหรับระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียนสําหรับองค์กร

7.2 ความรู้ ความสามารถของบุคลากร : ต้องกําหนดความรู้ ความสามารถที่จําเป็นของบุคลากรที่ปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมขององค์กร

7.3 ความตระหนัก : บุคลากรที่ต้องตระหนักถึงนโยบายและความสําคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียน ความสําคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียน และบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบและการมีส่วนร่วม

7.4 การสื่อสาร: กําหนดกระบวนการสื่อสารภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องกับระบบการเศรษฐกิจหมุนเวียนองคกร

7.5 เอกสารสารสนเทศ: ต้องรวมถึงเอกสารสารสนเทศที่กําหนดโดยมาตรฐานฉบับนี้ และจําเป็นต้องมี เพื่อประสิทธิผลของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน การจัดทําและปรับปรุงให้ทันสมัย แลการควบคุมเอกสารสารสนเทศ

  1. การดําเนินการ

8.1 ประเด็นเศรษฐกิจหมุนเวียน (CE aspect)

8.2 การวางแผนและควบคุมนวัตกรรม : ต้องมีการวางแผน นําไปปฏิบัติและควบคุมกระบวนการที่จําเปนเพื่อใหเปนไปตามขอกําหนดและมีการนําไปปฏิบัติ สร้างแนวคิด ศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมของแนวคิด พัฒนาโครงการนําร่องและการสร้างต้นแบบ โดยตองนําแนวคิดหรือทางเลือกมาทดลองปฏิบัติ

8.3 การวางแผนและการควบคุมกระบวนการ: ต้องมีการวางแผน และควบคุมกระบวนการที่จําเป็นเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดและมีการนําไปปฏิบัติ โดยครอบคลุม การผลิต/การบริการ การใช้ การกําจัด  และเพื่อ ดําเนินการการปฏิบัติที่ได้กําหนดไว้

8.4 การร่วมมือและเครือข่าย (Collaboration and Networks) : ต้องกําหนดแนวทางและแผนการปฏิบัติงานการสร้างความร่วมมือและเครือข่ายที่เหมาะสม และเฝ้าระวังและทบทวนผลการดําเนินงานตามแผนการปฏิบัติงานที่กําหนดไว้

8.5 การบริหารจัดการข้อมูล

  1. การประเมินสมรรถนะ ประกอบด้วย

9.1 การตรวจติดตาม การตรวจวัด การวิเคราะห์ และการประเมินผล

9.2 การตรวจประเมินภายใน

9.3 การทบทวนฝายบริหาร

  1. การปรับปรุง ประกอบด้วย

10.1 สิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกําหนดและการปฏิบัติการแก้ไข (Nonconformity and corrective action) ต้องมีการจัดการที่เหมาะสม

10.2 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง สําหรับ ความเหมาะสม ความเพียงพอ และประสิทธิผลของระบบการจัดการ เศรษฐกิจหมุนเวียน

  1. แหล่งข้อมูลอ้างอิง