The General Principles of Food Hygiene: Good Hygiene Practices (GHPs) (CXC 1 – 1969, Rev.5-2020)

1. ชื่อมาตรฐาน
(ภาษาไทย)

  • มอก.34-2546 ข้อปฏิบัติแนะนำระหว่างประเทศ : หลักการทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหาร (หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร)
  • มกษ.9023-2550 หลักเกณฑ์การปฏิบัติ : หลักการทั่วไปเกี่ยวกับสุขลักษณะอาหาร (GMP)

(ภาษาอังกฤษ)

  • The General Principles of Food Hygiene: Good Hygiene Practices (GHPs) (CXC 1 – 1969, Rev.5-2020)

2. การประกาศใช้เมื่อ
22 มกราคม 2551 (มาตรฐานไทย) / 5 November 2020 (มาตรฐานสากล)

3. หน่วยงานเจ้าของมาตรฐาน (ผู้ประกาศใช้)
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.), สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ /Codex Alimentarius Commission

4.ประเภทมาตรฐาน

GMP/GHP และ HACCP เป็นมาตรฐานระบบการจัดการ สามารถขอการรับรองจากหน่วยรับรองระบบ (Certification Body) ที่ให้บริการได้

5.ขอบเขตและการนำมาตรฐานไปใช้

GMP/GHP และ HACCP เป็นมาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องการควบคุมด้านสุขลักษณะที่ดีในการผลิต และการควบคุมด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ เช่น ยา เครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์ที่สามารถสัมผัสกับอาหารโดยตรง

 6.สาระสำคัญของมาตรฐาน และประโยชน์ในการนำมาตรฐานไปปฏิบัติ

GHP/GMP ถือเป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนดขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิตและควบคุมการผลิตอาหารที่ปลอดภัย เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร (Food business operator: FBO) ปฏิบัติตาม โดยเน้นการป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่อาจจะทำให้อาหารเป็นพิษและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค หรือเป็นการปฏิบัติที่ดีนำไปสู่การผลิตอาหารที่ปลอดภัยในสถานที่ปฏิบัติงานที่สะอาด โดยรายละเอียดของ GHP ครอบคลุมในด้านต่างๆ ดังนี้

หลักเกณฑ์หรือวิธีการสุขลักษณะที่ดี (Good hygiene practices : GHP)
–    ส่วนที่ 1: บทนำและการควบคุมอันตรายที่มีต่ออาหาร (Introduction and control of food hazards)
–    ส่วนที่ 2: การผลิตขั้นต้น (Primary production)
–    ส่วนที่ 3: การออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ (Establishment – design of facilities and equipment)
–    ส่วนที่ 4: การฝึกอบรมและความสามารถ (Training and Competence)
–    ส่วนที่ 5: การบำรุงรักษาสถานประกอบการ การทำความสะอาด และการฆ่าเชื้อ และการควบคุมสัตว์พาหะนำโรค (Establishment maintenance, cleaning and disinfection and pest control)
–    ส่วนที่ 6: สุขลักษณะส่วนบุคคล (Personal hygiene)
–    ส่วนที่ 7: การควบคุมการปฏิบัติงาน (Control of operation)
–    ส่วนที่ 8: ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการสร้างความเข้าใจให้ผู้บริโภค (Product information and consumer awareness)
–    ส่วนที่ 9: การขนส่ง (Transportation)

ประโยชน์ของ GHP / GMP

  • ลดความเสี่ยงของการผลิตอาหารที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค
  • ป้องกันการเข้าอยู่อาศัยของสัตว์ที่เป็นพาหะนำเชื้อโรค เช่น แมลงวัน หนู เป็นต้น
  • ใช้ทรัพยากร (คน เงินทุน เวลา) อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สร้างความประทับใจให้ผู้บริโภคในเรื่องของความสะอาด

7. แหล่งข้อมูลและเอกสารอ้างอิง

ปรับปรุงข้อมูลเมื่อเดือนมิถุนายน 2564