ISO 13482: 2014

1. ชื่อมาตรฐาน
ภาษาอังกฤษ : Robot and robotic devices – Safety requirements for personal care robots
ภาษาไทย : ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยสำหรับหุ่นยนต์ดูแลมนุษย์

2. การประกาศใช้
ISO : 01 กุมภาพันธ์ 2014

3. หน่วยงานเจ้าของมาตรฐาน
ISO : International Organization for Standardization (ISO)

4. ประเภทมาตรฐาน
ISO 13482 เป็นมาตรฐานซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัย ไม่สามารถขอการรับรองได้

5. ขอบเขตและการนำมาตรฐานไปใช้
มาตรฐานฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นข้อกำหนดและแนวทางในการออกแบบ ตัวชี้วัดการป้องกัน และข้อมูลสำหรับการใช้หุ่นยนต์ดูแลมนุษย์ และอธิบายถึงอันตรายที่เกี่ยวข้องกับการใช้หุ่นยนต์เหล่านี้และมีข้อกำหนดเพื่อลดหรือลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอันตรายเหล่านี้ไปถึงระดับที่ยอมรับได้ และอันตรายที่สำคัญและอธิบายถึงวิธีการจัดการกับหุ่นยนต์ดูแลส่วนบุคคลแต่ละชนิด โดยทั่วไปมี 3 ประเภท ได้แก่

หุ่นยนต์เคลื่อนที่ (Mobile servant robot) มีลักษณะเป็นหุ่นยนต์ที่เคลื่อนที่ได้อิสระในการทำงานตามที่สั่งการและช่วยการติดต่อทางกายภาพกับมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์มัคคุเทศก์ หุ่นยนต์ทำความสะอาด
หุ่นยนต์ที่ทำงานทางกายภาพ (Physical assistant robot) มีลักษณะไว้สวมใส่กับมนุษย์หรือผูกติดกับมนุษย์ เพื่อช่วยสนับสนุนหรือเพิ่มความสามารถทางกายภาพ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายภาพของบุคคล ตัวอย่างเช่น ชุดที่ทำขึ้นเพื่อสวมใส่สำหรับการฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง
หุ่นยนต์ที่ช่วยในการเดินทาง (Person carrier robot) เป็นหุ่นยนต์ที่มีลักษณะเป็นอุปกรณ์ที่มีที่นั่งหรือวางเท้า ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการขนส่งมนุษย์ไปยังสถานที่ต่างๆ ด้วยตนเอง หรือมีอิสระในการเคลื่อนไหว

อย่างไรก็ตาม ISO 13482 ไม่ครอบคลุมถึง

หุ่นยนต์เดินทางได้เร็วกว่า 20 กม. / ชม.
หุ่นยนต์ของเล่น
หุ่นยนต์ที่แล่นในน้ำ และหุ่นยนต์ที่บินได้
หุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่ครอบคลุมใน ISO 10218
หุ่นยนต์ที่เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์
หุ่นยนต์ทางการทหาร

6. ประโยชน์ของการนำมาตรฐานไปใช้
ผู้ผลิตสามารถนำไปใช้เพื่อการออกแบบหุ่นยนต์ที่มีความปลอดภัยต่อการใช้งานสำหรับมนุษย์ สัตว์เลี้ยงและทรัพย์สิน เพื่อช่วยควบคุมความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่อาจเกิด เนื่องจากมีการใช้หุ่นยนต์และตอบโต้กับมนุษย์อย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น โดยผู้บริโภคเกิดความมั่นใจมากยิ่งขึ้น

7. สาระสำคัญของมาตรฐาน
มาตรฐาน ISO 13482 มุ่งเน้นที่การออกแบบ ผลิต และใช้งานอย่างปลอดภัย โดยอ้างอิงกับมาตรฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การประเมินความเสี่ยงที่เทียบเคียงกับ ISO 12100 ซึ่งกล่าวถึงการระบุอันตราย และการประเมินความเสี่ยง
โครงสร้างมาตรฐาน ISO 13482 มีดังนี้

ISO 13482: 2014
1. ขอบข่าย (Scope)
2. เอกสารอ้างอิง (Normative references)
3. คำศัพท์และบทนิยาม (Terms and definitions)
4. การประเมินความเสี่ยง (Risk Management)
5. ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยและตัววัดด้านการป้องกัน (Safety requirements and protective measure)
6. ข้อกำหนดระบบการควบคุมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย (Safety-related control system requirements)
7. การทวนสอบและการตรวจสอบความถูกต้อง (Verification & Validation)
8. ข้อมูลสำหรับการนำไปใช้ (Information for use)
ภาคผนวก (Annex)
Annex A – รายการอันตรายที่สำคัญสำหรับหุ่นยนต์ดูแลมนุษย์
Annex B – ตัวอย่างพื้นที่ปฏิบัติการสำหรับหุ่นยนต์ดูแลมนุษย์
Annex C – ตัวอย่างการประยุกต์ใช้/กำหนดพื้นที่ที่ปลอดภัย
Annex D – ตัวอย่างหน้าที่การทำงานของหุ่นยนต์ดูแลมนุษย์
Annex E – ตัวอย่างการตลาดสำหรับหุ่นยนต์ดูแลมนุษย์

8. แหล่งข้อมูลอ้างอิง

https://static1.squarespace.com/static/51df34b1e4b08840dcfd2841/t/582442f620099e166efe959e/1478771456961/ROS-I-Conf2016-day2-06-jacobs.pdf
www.iso.org

ปรับปรุงข้อมูลเมื่อเดือนมิถุนายน 2561