ISO 20400:2017

1. ชื่อมาตรฐาน
ภาษาอังกฤษ : Sustainable procurement — Guidance
ภาษาไทย : แนวทางการจัดการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน

2. การประกาศใช้
ISO : 19 เมษายน 2017

3. หน่วยงานเจ้าของมาตรฐาน
ISO : International Organization for Standardization (ISO)

4. ประเภทมาตรฐาน
ISO 20400 เป็นมาตรฐานซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติ ไม่สามารถขอการรับรองได้

5. ขอบเขตและการนำมาตรฐานไปใช้
มาตรฐานฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นแนวทางนำไปประยุกต์สำหรับหน่วยงานทุกประเภท ทุกขนาด เพื่อให้องค์กรมีกระบวนการจัดซื้อย่างยั่งยืน โดยจะสามารถจัดการความเสี่ยง (รวมถึงโอกาส) เพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยนำไปใช้กับนโยบาย กลยุทธ์ และกระบวนการการจัดซื้อขององค์กร โดยระบุหลักการสำหรับการจัดซื้ออย่างยั่งยืน เช่น ความรับผิดชอบ ความโปร่งใส การเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและพฤติกรรมด้านจริยธรรม
มาตรฐานนี้จะช่วยให้องค์กรคำนึงถึงความรับผิดชอบด้านความยั่งยืน โดยให้เข้าใจถึงความหมายของการจัดซื้ออย่างยั่งยืน ผลกระทบและการพิจารณาความยั่งยืนในแง่มุมต่างๆ ของกิจกรรมการจัดซื้อ และแนวทางการจัดซื้ออย่างยั่งยืน

6. ประโยชน์ของการนำมาตรฐานไปใช้

ทำให้มั่นใจในความปลอดภัยของซัพพลายเชน เช่น การเรียกกลับผลิตภัณฑ์ ข้อผิดพลาดของผู้ส่งมอบ
ป้องกันความเสี่ยงด้านการเงิน สิ่งแวดล้อม และชื่อเสียงขององค์กร
เสริมสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าและนักลงทุน
มีส่วนร่วมในการเปิดตลาดใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์และบริการ
ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต การประเมินคุณค่าและประสิทธิภาพการทำงาน ทำให้สามารถสื่อสารระหว่างผู้ซื้อ ผู้จัดหา และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด และส่งเสริมนวัตกรรม

7. สาระสำคัญของมาตรฐาน
มาตรฐาน ISO 20400 มุ่งเน้นที่การวิเคราะห์และเข้าใจผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจและกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง โดยคำนึงถึงบริบทเฉพาะและลักษณะของแต่ละองค์กร

องค์ประกอบของมาตรฐาน ประกอบด้วย
1. ขอบข่าย (Scope) กล่าวถึง ขอบข่ายของแนวทางการจัดซื้ออย่างยั่งยืน
2. เอกสารอ้างอิง (Normative references) เอกสารฉบับนี้ไม่มีการอ้างอิงเอกสารใดๆ
3. คำศัพท์และบทนิยาม (Terms and definitions) กล่าวถึง คำศัพท์และบทนิยาม และตัวย่อ ที่ปรากฏในมาตรฐานฉบับนี้
4. การเข้าใจพื้นฐานของการจัดซื้ออย่างยั่งยืน
4.1 แนวคิดของการจัดซื้ออย่างยั่งยืน
4.2 หลักการการจัดซื้ออย่างยั่งยืน
4.3 หัวข้อหลักของการจัดซื้ออย่างยั่งยืน
4.4 แรงจูงใจสำหรับการจัดซื้ออย่างยั่งยืน
4.5 การพิจารณาที่สำคัญสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน
5. การบูรณาการความยั่งยืนเข้ากับนโยบายและกลยุทธ์ด้านการจัดซื้อขององค์กร
5.1 มุ่งมั่นในการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน
5.2 การทำให้ชัดเจนด้านความรับผิดชอบ
5.3 การเชื่อมโยงการจัดซื้อจัดจ้างกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร
5.4 การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและห่วงโซ่อุปทาน
5.5 การจัดการการประยุกต์ใช้
6. การจัดระบบการจัดซื้อให้มีความยั่งยืน
6.1 การจัดซื้อจัดจ้าง
6.2 การใช้บุคลากร
6.3 การชี้บ่งและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
6.4 การจัดลำดับความสำคัญในการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน
6.5 การวัดและการปรับปรุงสมรรถนะ
6.6 การจัดตั้งกลไกการร้องทุกข์
7. การบูรณาการความยั่งยืนเข้าสู่กระบวนการการจัดซื้อจัดจ้าง
7.1 สร้างบนกระบวนการที่มีอยู่
7.2 การวางแผน
7.3 การบูรณาการข้อกำหนดด้านความยั่งยืน
7.4 การคัดเลือกผู้ส่งมอบ
7.5 การจัดการสัญญา
7.6 การทบทวนและเรียนรู้จากสัญญา

8. แหล่งข้อมูลอ้างอิง
– https://www.iso.org/standard/63026.html
– http://masci.or.th/sustainable-procurement-standard/

ปรับปรุงข้อมูลเมื่อเดือนมิถุนายน 2562