ISO 37120:2018

1. ชื่อมาตรฐาน
(ภาษาอังกฤษ) Sustainable development of communities — Indicators for city services and quality of life (การพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชน – ตัวชี้วัดสำหรับการให้บริการของเมืองและคุณภาพชีวิต)

2. การประกาศใช้
5 July 2018

3. หน่วยงานเจ้าของมาตรฐาน
ISO : International Organization for Standardization (ISO/TC 268)

4. ประเภทมาตรฐาน
ISO 37120 เป็นมาตรฐานซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้โดยไม่ต้องขอการรับรอง

5. ขอบข่ายการนำไปใช้
สามารถนำไปใช้ได้กับเมืองใหญ่ เทศบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอื่นๆ ที่ต้องการวัดประสิทธิภาพการทำงานในลักษณะที่ใกล้เคียงกันและสามารถตรวจสอบได้โดยไม่คำนึงถึงขนาดและสถานที่ตั้ง หรือใช้ในการติดตามผลการดำเนินงานของเมืองตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

6. สาระสำคัญของมาตรฐาน
ISO 37120 กล่าวถึงขอบข่าย เอกสารอ้างอิง คำศัพท์และบทนิยาม ตัวชี้วัดเมือง และแนวทางการกำหนดตัวชี้วัด สำหรับการบริการของเมืองและคุณภาพชีวิตของประชากร โดยจำแนกเป็น 17 ด้าน ดังนี้
1. ด้านเศรษฐกิจ (Economy) มีตัวชี้วัดหลัก 1 ตัว ได้แก่ อัตราการว่างงาน และตัวชี้วัดสนับสนุน 7 ตัว (มูลค่าประเมินของทรัพย์สินทางการค้าและอุตสาหกรรม สัดส่วนของประชากรที่ทำงานแบบเต็มเวลา อัตราการว่างงานของกลุ่มคนอายุน้อย จำนวนธุรกิจต่อประชากร 1 แสนคน จำนวนพ่อแม่รายใหม่ ต่อประชากร 1 แสนคน จำนวนนักท่องเที่ยวที่พำนักแบบค้างคืนต่อประชากร 1 แสนคน และการเชื่อมต่อในธุรกิจการบิน) และตัวชี้วัดด้านผลประโยชน์ 3 ตัว
2. ด้านการศึกษา (Education) โดยมีตัวชี้วัดหลัก 4 ตัว ได้แก่ สัดส่วนของเด็กผู้หญิงในวัยเรียนที่ได้รับการศึกษาในโรงเรียน สัดส่วนของนักเรียนที่จบระดับประถมศึกษา สัดส่วนของนักเรียนที่จบระดับมัธยมศึกษา และอัตราส่วนระหว่างนักเรียนและครูในระดับประถมศึกษา และตัวชี้วัดสนับสนุน 2 ตัว
3. ด้านพลังงาน (Energy) โดยมีตัวชี้วัดหลัก 5 ตัว ได้แก่ ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าในครัวเรือน/หัว(ประชากร) (kWh/year) สัดส่วนของพลังงานที่มาจากแหล่งพลังงานทดแทน สัดส่วนประชากรในเมืองกับผู้ให้บริการไฟฟ้าที่ได้รับอนุญาต ปริมาณผู้ให้บริการก๊าซ ต่อประชากร 1 แสนคน ปริมาณการใช้พลังงานของอาคารสาธารณะต่อปี (kWh/m2) ตัวชี้วัดสนับสนุน 2 ตัว และตัวชี้วัดด้านผลประโยชน์ 2 ตัว
4. ด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Environment and climate change) โดยมีตัวชี้วัดหลัก 3 ตัว ได้แก่ ความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ความเข้มข้นของฝุ่นละออง (PM10) ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ตัน/หัว) และตัวชี้วัดสนับสนุน 6 ตัว
5. ด้านการเงิน (Finance) โดยมีตัวชี้วัดหลัก 2 ตัว ได้แก่ อัตราส่วนความสามารถในการบริหารหนี้ (Debt Service Ratio) และการใช้จ่ายทุนต่อการใช้จ่ายรวม และตัวชี้วัดสนับสนุน 2 ตัว และตัวชี้วัดด้านผลประโยชน์ 2 ตัว
6. การกำกับดูแล (Governance) โดยมีตัวชี้วัดหลัก 1 ตัว ได้แก่ จำนวนผู้หญิงที่ได้รับการเลือกตั้งในระดับเมือง และตัวชี้วัดสนับสนุน 4 ตัว
7. การมีส่วนร่วมของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด (เช่น จำนวนผู้มาใช้สิทธิ์) และตัวชี้วัดสนับสนุน 4 ตัว
8. ด้านสุขภาพ (Health) โดยมีตัวชี้วัดหลัก 4 ตัว ได้แก่ อายุไขเฉลี่ยของประชากร จำนวนเตียงสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลต่อประชากร 1 แสนคน จำนวนแพทย์ต่อประชากร 1 แสนคน และจำนวนเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีที่เสียชีวิต ต่อจำนวนเด็กที่เกิด 1 พันคน และตัวชี้วัดสนับสนุน 2 ตัว
9. ด้านที่อยู่อาศัย (Houseing) โดยมีตัวชี้วัดหลัก 2 ตัว ได้แก่ สัดส่วนประชากรที่อาศัยในบ้านที่ไม่มีความเพียงพอ (inadequate housing) สัดส่วนประชากรที่อาศัยในบ้านที่สามารถหาได้ (affordable housing) และตัวชี้วัดสนับสนุน 2 ตัว
10. ประชากรและเงื่อนไขทางสังคม โดยมีตัวชี้วัดหลัก 1 ตัว ได้แก่ สัดส่วนประชากรเมืองที่อยู่ต่ำกว่าระดับรายได้ขั้นต่ำสุดที่ทำให้มีความเพียงพอในการครองชีพสากล ตัวชี้วัดสนับสนุน 2 ตัว และตัวชี้วัดด้านผลประโยชน์ 6 ตัว
11. ด้านสันทนาการ (Recreation) โดยมีตัวชี้วัดสนับสนุน 2 ตัว
12. ด้านความปลอดภัย (Safety) โดยมีตัวชี้วัดหลัก 5 ตัว ได้แก่ จำนวนเจ้าหน้าที่ดับเพลิงต่อประชากร 1 แสนคน จำนวนผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับไฟไหม้ต่อประชากร 1 แสนคน จำนวนผู้เสียชีวิตจากภัยธรรมชาติต่อประชากร 1 แสนคน จำนวนเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อประชากร 1 แสนคน และจำนวนฆาตกรรมต่อประชากร 1 แสนคน และตัวชี้วัดสนับสนุน 5 ตัว
13. ด้านขยะมูลฝอย (Solid Waste) โดยมีตัวชี้วัดหลัก 5 ตัว ได้แก่ จำนวนประชากรเมืองกับการจัดเก็บขยะมูลฝอยทั่วไป จำนวนขยะมูลฝอย/หัว สัดส่วนขยะมูลฝอยของเมืองที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ สัดส่วนขยะมูลฝอยของเมืองที่กำจัดในหลุมฝังกลบสุขาภิบาล สัดส่วนขยะมูลฝอยของเมืองที่มีการบำบัดในโรงงานพลังงานจากขยะ และตัวชี้วัดสนับสนุน 5 ตัว
และตัวชี้วัดสนับสนุน 7 ตัว
14. กีฬาและวัฒนธรรม (Sport and Culture) โดยมีตัวชี้วัดหลัก 1 ตัว จำนวนสถาบันวัฒนธรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬา และตัวชี้วัดสนับสนุน 2 ตัว
15. ด้านการสื่อสารทางไกล (Telecommunication) โดยตัวชี้วัดสนับสนุน 2 ตัว
16. ด้านการคมนาคมและการขนส่ง (Transportation) โดยมีตัวชี้วัดหลัก 2 ตัว ได้แก่ ระยะทาง (กิโลเมตร) ของระบบการคมนาคมสาธารณะต่อประชากร 1 แสนคน จำนวนเที่ยวต่อปีของระบบคมนาคมสาธารณะต่อ/หัว (ประชากร) ตัวชี้วัดสนับสนุน 5 ตัว และตัวชี้วัดด้านผลประโยชน์ 2 ตัว
17. การเกษตรในพื้นที่และความมั่นคงด้านอาหาร (Urban/Local agriculture and food security) โดยมีตัวชี้วัดหลัก 1 ตัว ได้แก่ จำนวนพื้นที่เกษตรโดยรวมต่อ ประชากร 1 แสนคน และตัวชี้วัดสนับสนุน 3 ตัว
18. ด้านการวางผังเมือง (Urban Planning) โดยมีตัวชี้วัดหลัก 1 ตัว ได้แก่ พื้นที่สีเขียว (แฮกเตอร์) ต่อประชากร 1 แสนคน ตัวชี้วัดสนับสนุน 3 ตัว และตัวชี้วัดด้านผลประโยชน์ 3 ตัว
19. ด้านน้ำเสีย (Wastewater) โดยมีตัวชี้วัดหลัก 5 ตัว ได้แก่ สัดส่วนจำนวนประชากรที่ได้รับบริการการจัดเก็บน้ำเสีย สัดส่วนของน้ำเสียของเมืองที่ได้รับการบำบัด สัดส่วนของประชากรที่เข้าถึงการปรับปรุงสุขาภิบาล และตัวชี้วัดสนับสนุน 1 ตัว
20. ด้านน้ำ (Water) โดยมีตัวชี้วัดหลัก 4 ตัว ได้แก่ สัดส่วนของประชากรต่อการให้บริการน้ำที่ดื่มได้ สัดส่วนของประชากรที่เข้าถึงแหล่งน้ำที่ได้รับการปรับปรุงได้อย่างยั่งยืน สัดส่วนของประชากรที่เข้าถึงการสุขาภิบาลที่ได้รับการปรับปรุงอย่างยั่งยืน และปริมาณการบริโภคน้ำในพื้นที่ (domestic) /หัว (ลิตร/วัน) อัตราของคุณภาพน้ำดื่มที่เป็นไปตามมาตรฐาน และตัวชี้วัดสนับสนุน 3 ตัว
ทั้งนี้ การรายงานผลและการรักษาบันทึก ในรายงานตามตัวชี้วัดจะต้องรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในวิธีการทดสอบเฉพาะที่ใช้

7. ประโยชน์ของการนำมาตรฐานไปใช้
– เพื่อให้วัดผลการดำเนินงานจัดการการให้บริการของเมืองและคุณภาพชีวิตเมื่อเวลาผ่านไป
– ช่วยให้เกิดการเรียนรู้จากผู้อื่นโดยการเปรียบเทียบกับตัววัดผลการดำเนินการ
– การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ

8. แหล่งข้อมูลอ้างอิง
– https://www.iso.org/standard/68498.html
– https://www.iso.org/files/live/sites/isoorg/files/archive/pdf/en/37120_briefing_note.pdf
– https://smartcity.pharosnavigator.com/static/content/en/626/
– https://resilientcities2018.iclei.org/wp-content/uploads/F3_Presentation_Full_Session.pdf

ปรับปรุงข้อมูลเมื่อเดือนกันยายน 2562