ISO 39001: 2012

1. ชื่อมาตรฐาน
(ภาษาอังกฤษ) ISO 39001: 2012 Road traffic safety (RTS) management systems – Requirements with guidance for use

2. การประกาศใช้
ISO : 1 October 2012

3. หน่วยงานเจ้าของมาตรฐาน
ISO : International Organization for Standardization (TC 241 Road traffic safety management systems)

4. ประเภทมาตรฐาน
ISO 39001 เป็นมาตรฐานระบบการจัดการ สามารถขอการรับรองจากหน่วยรับรองระบบ (Certification Body) ที่ให้บริการได้

5. ขอบเขตและการประยุกต์ใช้
ISO 39001 เป็นมาตรฐานสากลที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับองค์กรทุกประเภท ทุกขนาด ไม่ว่าจะเป็นภาคการผลิต ภาคการบริการ และหน่วยงานภาครัฐ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจการที่มีการใช้ยานพาหนะส่งสินค้า วัตถุดิบ เอกสาร หรือพนักงาน)

6. ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำมาตรฐานไปใช้
ช่วยให้องค์กรที่มีระบบการจัดการจราจรที่ปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงและการเกิดอุบัติเหตุจากการจราจรบนถนน ที่มีผลก่อให้เกิดการบาดเจ็บที่ร้ายแรงและเสียชีวิตต่อพนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึง

ลดค่าใช้จ่ายและความสูญเสียจากอุบัติเหตุบนถนน
ลดและควบคุมความเสี่ยงอันตรายจากการใช้ถนน
เป็นการเตรียมความพร้อมรับมือจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบและความสูญเสีย
เป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม

7. สาระสำคัญของมาตรฐาน
ISO 39001 ซึ่งกล่าวถึงการจัดการระบบความปลอดภัยบนท้องถนน (Road traffic safety management systems: RTSMS) ระบุข้อกำหนดเพื่อให้องค์กรมีการกำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์และนำไปปฏิบัติ โดยสอดคล้องกับกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ที่องค์กรรับไปปฏิบัติ ประกอบด้วย

การทำความเข้าใจต่อบริบทขององค์กร ได้แก่ ปัจจัยภายในและภายนอกองค์กรที่มีผลต่อ RTSMS ความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การกำหนดขอบข่ายของ RTSMS และการดำเนินการตาม RTSMS
ภาวะผู้นำ กล่าวถึง บทบาทหน้าที่ของผู้นำและการแสดงความมุ่งมั่น นโยบาย การกำหนดบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่
การวางแผน กล่าวถึง การจัดทำแผนการดำเนินงาน โดยต้องกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของ RTSMS และเผยแพร่ การชี้บ่งความเสี่ยงและโอกาส และความสอดคล้องกับมาตรฐานอื่นๆ การชี้บ่งความเสี่ยง การกำหนดวัตถุประสงค์และแผนงานจัดการความเสี่ยง
การสนับสนุน กล่าวถึง ความร่วมมือในองค์กรในแต่ระดับและส่วนที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสีย การจัดสรรทรัพยากร การกำหนดความสามารถที่จำเป็นของบุคลากรที่รับผิดชอบ และมั่นใจว่าบุคลากรเหล่านั้นมีความสามารถเพียงพอ การสร้างความตระหนักให้แก่คนในองค์กร การสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กร การกำหนดเอกสารที่จำเป็น การควบคุม และจัดเก็บ
การปฏิบัติ กล่าวถึง การปฏิบัติตามแผน และการตอบสนองและการเตรียมความพร้อมต่อเหตุฉุกเฉิน
การประเมินผล กล่าวถึง การติดตาม วัด วิเคราะห์ และประเมินผล การสอบสวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น การตรวจติดตามภายใน การทบทวนของฝ่ายบริหาร
การปรับปรุง กล่าวถึง การดำเนินการต่อความไม่สอดคล้องหรือการแก้ไขความไม่สอดคล้อง และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

8. แหล่งข้อมูลอ้างอิง

http://www.iso.org/iso/catalogue_detail.htm?csnumber=44958

ปรับปรุงข้อมูลเมื่อเดือนมีนาคม 2556