ISO 41000: 2018

  1. ชื่อมาตรฐาน

ภาษาอังกฤษ :  Facility management — Management systems — Requirements with guidance for use

ภาษาไทย      :  มาตรฐานการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก

  1. การประกาศใช้

ISO : 23 เมษายน 2018

  1. หน่วยงานเจ้าของมาตรฐาน

ISO : International Organization for Standardization (ISO/TC 267 Facility management)

  1. ประเภทมาตรฐาน

ISO 41000 เป็นมาตรฐานระบบการจัดการ โดยมีโครงสร้างของมาตรฐานเช่นเดียวกับมาตรฐานระบบการจัดการ เช่น ระบบการจัดการคุณภาพ ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม สามารถขอการรับรองจากหน่วยรับรองระบบ (Certification Body) ที่ให้บริการได้

  1. ขอบเขตและการนำมาตรฐานไปใช้

มาตรฐานนี้มีจุดมุ่งหมายให้องค์กรนําไปใช้สําหรับการจัดการที่กี่ยวข้องกับ คน กระบวนการ และพื้นที่ใช้สอย แบบบูรณาการ โดยสามารถนําไปใช้กับองค์กรใดๆ ทุกสถานที่ตั้ง ขนาด กลุ่มประเภท และรูปแบบการดําเนินธุรกิจ เพื่อต้องการให้องค์กร

  • สร้าง นำไปใช้ บำรุงรักษา และปรับปรุงระบบ FM แบบบูรณาการ
  • รับรองตนเองว่าสอดคล้องกับนโยบายการจัดการที่ประกาศไว้
  • แสดงความสอดคล้องกับเอกสารนี้ โดย:
  • ทำการกำหนดด้วยตนเองและประกาศตนเอง
  • ยืนยันความสอดคล้องโดยหน่วยงานที่มีส่วนได้เสียในองค์กร
  • ยืนยันการประกาศตนเองโดยหน่วยงานภายนอกองค์กร
  • ขอใบรับรอง/ลงทะเบียนระบบ FM โดยหน่วยงานรับรองที่เป็นบุคคลที่สามที่ได้รับการรับรอง
  1. ประโยชน์ของการนำมาตรฐานไปใช้

มาตรฐานนี้จะช่วยให้ทีมบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด  โดยให้ความสำคัญกับวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดในระดับสากลซึ่งเป็นมาตรฐานระบบการบริหารจัดการที่ประกอบด้วยการเปรียบเทียบเพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนในด้านกลยุทธ์ ยุทธวิธี และการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างมีประสิทธิผล

ประโยชน์ของมาตรฐานนี้ คือ ทำให้มีการปรับปรุงในด้านต่าง ๆ  ดังต่อไปนี้

  • ผลิตผลด้านแรงงาน ความปลอดภัย สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
  • การสื่อสารข้อกำหนดและวิธีการระหว่างองค์กรภาครัฐและเอกชน
  • ประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องต้นทุนขององค์กร
  • ความสม่ำเสมอของบริการ
  1. สาระสำคัญของมาตรฐาน

มาตรฐาน ISO 41000 ได้มีการนำเอาความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ บูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อให้ส่งผลต่อประสิทธิภาพ และการเพิ่มผลิตผลทางเศรษฐกิจของสังคม ชุมชน และองค์กร ตลอดจนรูปแบบที่ตัวบุคคลมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้นซึ่งเมื่อมีการส่งมอบบริการแล้วจะส่งผลต่อสุขภาพ ความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน การส่งมอบบริการนั้นสามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมทุกประเภท ตั้งแต่สำนักงาน สถานศึกษา สถานพยาบาล โรงแรม ไปจนถึงศูนย์กีฬาและสันทนาการ และห้องปฏิบัติการวิจัย เป็นต้น

Process approach methodology in facility management

     มาตรฐานนี้ ประกอบด้วย ส่วนที่เป็นข้อกำหนดทั่วไป คือ ข้อ 1 – ข้อ 3 และส่วนที่เป็นข้อกำหนดสำหรับนำไปปฏิบัติ คือ ข้อ 4 – ข้อ 10 และภาคผนวก (Annex) ดังนี้

บทนํา

  1. ขอบข่าย
  2. เอกสารอ้างอิง (Informative reference) : ISO 41011, Facility management — Vocabulary
  3. ศัพท์และนิยามศัพท์ : มีจำนวน 21 ข้อ ตาม ISO 41011, Facility management — Vocabulary มาใช้อ้างอิงได้
  4. บริบทองค์กร: การทําความเข้าใจและกําหนดระบบ FM ที่เหมาะสม โดยองค์กรต้องมี

4.1 การเข้าใจบริบทองค์กร

4.2 การเข้าใจความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย

4.3 การกําหนดขอบข่ายของระบบ FM ขององค์กร

4.4 ระบบ FM สําหรับองค์กร โดยองค์กรต้องจัดทํา นําไปปฏิบัติ คงไว้ และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

ความเป็นผู้นํา: การทําความเข้าใจบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบ นโยบาย และอํานาจหน้าที่ขององค์กร ต้องรวมถึง

5.1 ความเป็นผู้นําและความมุ่งมั่น โดยผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต้องแสดงให้เห็นถึงภาวะผู้นําและความมุ่งมั่นในการยอมรับต่อระบบ FM

5.2 นโยบาย โดยผู้บริหารระดับสูงต้องกําหนดนโยบาย FM

5.3 บทบาท ความรับผิดชอบ และอํานาจหน้าที่ โดยผู้บริหารระดับสูงต้องทําให้มั่นใจว่ามีการมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบและอํานาจหน้าที่ตามบทบาทเกี่ยวข้อง และสื่อสารภายในองค์กร

การวางแผน: การทําความเข้าใจความเสี่ยง วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ และนโยบายในปัจจุบัน ครอบคลุมถึง

6.1 การดําเนินการเพื่อจัดการกับความเสี่ยงและโอกาส

  • วัตถุประสงค์ FM และการวางแผนเพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์
  1. การสนับสนุน: การทําความเข้าใจทรัพยากรที่มีพร้อมใช้กับทรัพยากรที่ต้องการในรูปของการเงิน ทรัพยากรมนุษย์ และเทคโนโลยี

7.1 ทรัพยากร : กําหนดและจัดหาทรัพยากรทั้งหมดที่จําเป็น สําหรับการจัดทํา นําไปปฏิบัติ รักษาไว้ และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องสําหรับระบบ FM

7.2 ความรู้ ความสามารถของบุคลากร : ต้องกําหนดความรู้ ความสามารถที่จําเป็นของบุคลากรที่ปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมขององค์กร ต้องทำให้มั่นใจว่าความสามารถอยู่ในแนวทางเดียวกับบริบทท้องถิ่น

เก็บรักษาเอกสารสารสนเทศไว้เป็นหลักฐาน และวางแผนสําหรับทรัพยากรในอนาคตและข้อกําหนดระยะยาว

7.3 ความตระหนัก : บุคลากรที่ต้องตระหนักถึงนโยบาย วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ผลที่ได้และผลลัพธ์ที่ปรารถนาขององค์กร การสนับสนุนของบุคลากรเพื่อให้เกิดประสิทธิผลของระบบ FM รวมถึงประโยชน์ของการปรับปรุงสมรรถนะ FM และความหมายของการไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดของระบบ FM

7.4 การสื่อสาร: กําหนดกความต้องการของสื่อสารภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องกับระบบ FM รวมถึง ข้อมูลอะไรที่จะสื่อสาร ทําไมข้อมูลจึงจําเป็นต้องสื่อสาร จะสื่อสารเมื่อไหร่ จะสื่อสารข้อมูลกับใคร วิธีการสื่อสารคืออะไร และวิธีการเฝ้าระวังประสิทธิผลของการสื่อสารเป็นอย่างไร

7.5 เอกสารสารสนเทศ: ต้องรวมถึงเอกสารสารสนเทศที่กําหนดโดยมาตรฐานสากลนี้ และเอกสารสารสนเทศที่กําหนดโดยองค์กรว่าจําเป็นต่อประสิทธิผลของระบบ FM การจัดทําและปรับปรุงให้ทันสมัย และการควบคุมเอกสารสารสนเทศ และการกำหนดข้อกําหนดสารสนเทศที่สนับสนุนระบบ FM

7.6 ความรู้ขององค์กร: องค์กรต้องกําหนดความรู้ที่จําเปUนสําหรับการปฏิบัติงานตามกระบวนการขององค์กรและเพื่อให้บรรลุความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์และบริการ และองค์กรต้องกําหนดความรู้ที่จําเปUนสําหรับการปฏิบัติงานตามกระบวนการขององค์กรและเพื่อให้บรรลุความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์และบริการ

การดําเนินการ: การส่งมอบงานบริการ FM แบบบูรณาการ

8.1 การวางแผนและควบคุมการปฏิบัติงาน: องค์กรต้องวางแผน นําไปปฏิบัติ และควบคุมกระบวนการที่จําเป็นเพื่อให้เป็นไปตามข้อกําหนดและเพื่อนําการดําเนินงานต่างๆไปปฏิบัติตามที่กําหนดไว้

8.2 การประสานงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย: องค์กรต้องบริหารความสัมพันธ์กับผู้ใช้ขั้นสุดท้าย (end user) และผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ และประสานงานกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อลดผลกระทบด้านลบให้เหลือน้อยที่สุดต่อกิจกรรมที่สําคัญที่สุดของ demand organization

หมายเหตุ : demand organization หมายถึง บุคคล คณะบุคคล บริษัท หรือองค์กร ที่มีความต้องการและมีอำนาจในการก่อให้เกิดต้นทุนเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนด โดยทั่วไปแล้วจะเป็นตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจภายในหน่วยงานขององค์กร

8.3 การบูณาการการบริการ: องค์กรต้องแสดงให้เห็นว่ามีการปฏิบัติหน้าที่ FM แบบบูรณาการเพื่อให้มั่นใจว่าบริการ FM มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

การประเมินสมรรถนะ: การเปรียบเทียบกับมาตรฐาน การเฝ้าระวัง และการปฏิบัติตามข้อกําหนดที่เป็นเป้าหมาย ประกอบด้วย

9.1 การตรวจติดตาม การตรวจวัด การวิเคราะห์ และการประเมินผล

9.2 การตรวจประเมินภายใน

9.3 การทบทวนฝายบริหาร

  1. การปรับปรุง: การทบทวนมาตรฐานที่ใช้เปรียบเทียบ ความคิดริเริ่มในการปรับปรุงการดําเนินการชี้บ่งและนําไปปฏิบัติ ประกอบด้วย

10.1 สิ่งที่ไม่เป็นไปตามขอกําหนดและการปฏิบัติการแก้ไข (Nonconformity and corrective action) ต้องมีการจัดการที่เหมาะสม

10.2 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง สําหรับความเหมาะสม ความเพียงพอ และประสิทธิผลของระบบ FM

10.3 การป้องกัน ต้องจัดทํากระบวนการเพื่อชี้บ่งช่องว่างที่อาจเกิดขึ้นในการบริการและสมรรถนะของระบบ FM ในเชิงรุก และประเมินความจําเป็นในการใช้มาตรการเชิงรุก

Annex A : แนวทางการใช้มาตรฐานนี้

  1. แหล่งข้อมูลอ้างอิง