ISO 50001: 2018 / มตช.50001-2562

1. ชื่อมาตรฐาน
(ภาษาอังกฤษ) ISO 50001:2018 Energy management systems — Requirements with guidance for use
(ภาษาไทย) มตช. 50001:2562 ระบบการจัดการพลังงาน – ข้อกำหนดและข้อแนะนำในการใช้

2. การประกาศใช้เมื่อ
ISO : 20 August 2018
มอก : วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2555

3. หน่วยงานเจ้าของมาตรฐาน (ผู้ประกาศใช้)
ISO : International Organization for Standardization (TC 242 Energy Management)
มอก. : สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

4. ประเภทมาตรฐาน
ISO 50001 / มอก.50001 เป็นมาตรฐานระบบการจัดการ สามารถขอการรับรองจากหน่วยรับรองระบบ (Certification Body) ที่ให้บริการได้

5. ขอบเขตและการนำมาตรฐานไปใช้
1) ขอบเขตการนำไปใช้
มาตรฐานนี้ระบุข้อกำหนดสำหรับองค์กรในการจัดทำ นำไปปฏิบัติ รักษาไว้ และปรับปรุงระบบการจัดการพลังงาน เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินงานอย่างเป็นระบบ สามารถบรรลุผลการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงาน รวมถึงประสิทธิภาพพลังงาน ลักษณะการใช้พลังงาน และปริมาณการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง
มาตรฐานนี้ระบุข้อกำหนดที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับลักษณะและปริมาณการใช้พลังงาน รวมถึงการวัด การจัดทำเอกสารและการรายงาน การออกแบบและการจัดหาอุปกรณ์ ระบบ กระบวนการ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะด้านพลังงาน
มาตรฐานนี้ใช้ได้กับตัวแปรทุกชนิดที่ส่งผลต่อสมรรถนะด้านพลังงาน ซึ่งองค์กรสามารถเฝ้าระวังและควบคุมได้โดยไม่ได้กำหนดเกณฑ์เฉพาะที่เกี่ยวกับสมรรถนะด้านพลังงาน และสามารถใช้ได้อย่างอิสระและบูรณาการกับระบบบริหารจัดการอื่นได้
2) องค์กรที่นำไปใช้
ประยุกต์ใช้ได้กับองค์กรทุกประเภท และทุกขนาด โดยองค์กรที่ประสงค์จะสร้างความเชื่อมั่นว่าสามารถบรรลุตามนโยบายพลังงาน และแสดงให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบผลสำเร็จดังกล่าว สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้เพื่อรับรองตนเองหรือรับรองโดยหน่วยรับรอง

6. สาระสำคัญของมาตรฐาน
มาตรฐาน ISO 50001: 2018 นี้ใช้หลักการการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย การวางแผน-การปฏิบัติ-การตรวจ-การแก้ไขและปรับปรุง (Plan-Do-Check-Act; PDCA) เข้าไปในกิจกรรมประจำในการจัดการพลังงานขององค์กร แนวทางนี้สามารถแสดงรายละเอียดได้ คือ
– การวางแผน : ดำเนินการทบทวนด้านพลังงาน และจัดทำข้อมูลฐานด้านพลังงาน ตัวชี้วัดสมรรถนะด้านพลังงาน วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และแผนปฏิบัติการที่จำเป็น เพื่อให้ได้ผลที่จะปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงานให้เป็นไปตามนโยบายพลังงานขององค์กร
– การปฏิบัติ : การนำแผนการจัดการพลังงานไปปฏิบัติ
– การตรวจ : เฝ้าระวังและวัดกระบวนการและลักษณะของการดำเนินงานที่มีต่อสมรรถนะด้านพลังงานเทียบกับนโยบายพลังงาน และวัตถุประสงค์ด้านพลังงาน
– การแก้ไขและปรับปรุง : ดำเนินการเพื่อปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงาน และระบบการจัดการพลังงานอย่างต่อเนื่อง

ภาพวงจร Plan-Do-Check-Act

ข้อกำหนดสำหรับการนำไปปฏิบัติ
ข้อ 4 บริบทองค์กร
– มีความเข้าใจในองค์กรและบริบทขององค์กร โดยพิจารณาปัจจัยภายนอกและภายในที่เกี่ยวข้องกับจุดประสงค์ขององค์กร และมีผลกระทบต่อความสามารถขององค์กรในการบรรลุผลลัพธ์ตามที่ต้องการของระบบการจัดการจัดการพลังงาน
– เข้าใจถึงความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
– กำหนดขอบเขตของการนำระบบการจัดการจัดการพลังงานไปประยุกต์ใช้ โดยต้องพิจารณาถึงองค์กร บริบทองค์กร และความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย
– กำหนดกระบวนการที่จำเป็นและความสัมพันธ์ของแต่ละกระบวนการภายใต้ขอบเขตระบบการจัดการจัดการพลังงาน
ข้อ 5 ภาวะผู้นำ
– ผู้บริหารต้องแสดงบทบาทภาวะผู้นำและความมุ่งมั่นในการนำระบบการจัดการพลังงานไปใช้ในองค์กรและการปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
– กำหนดนโยบายของระบบการจัดการพลังงาน แผนงาน การสนับสนุนทรัพยากร การดำเนินการที่สอดคล้องตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
– การกำหนดบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่ในองค์กร การผนวกระบบการจัดการจัดการพลังงานเข้ากับกระบวนทางทางธุรกิจ การจัดสรรทรัพยากร การสื่อสารไปยังผู้เกี่ยวข้อง การสนับสนุนการดำเนินการ ติดตามผล และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ข้อ 6 การวางแผน
– การวางแผนระบบการจัดการพลังงาน ต้องพิจารณาถึงประเด็นหลักที่ได้จากการกำหนดบริบทองค์กร และความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย และชี้บ่งความเสี่ยงและโอกาสที่จำเป็นต้องจัดการ เพื่อให้ระบบการจัดการด้านบริการบรรลุผลลัพธ์ที่มุ่งหวัง ป้องกันหรือลดผลกระทบที่ไม่ต้องการ และให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
– กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายด้านพลังงาน และแผนงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย
– การทบทวนด้านพลังงาน
– การกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานด้านพลังงาน
– การกำหนดฐานพลังงานอ้างอิง (Energy Baseline)
– การวางแผนเก็บข้อมูลพลังงาน
ข้อ 7 การสนับสนุน
– องค์กรต้องจัดเตรียมทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการระบบการจัดการพลังงาน
– องค์กรต้องกำหนดความรู้ความสามารถของบุคลากรที่รับผิดชอบ และจัดให้มีการพัฒนาทักษะและความรู้ความสามารถที่จำเป็นต่อการดำเนินงาน
– การสร้างความตระหนักให้แก่บุคลากรเกี่ยวกับนโยบาย วัตถุประสงค์ของการจัดการพลังงาน การมีส่วนร่วม บทบาทหน้าที่ และประโยชน์ของการปรับปรุงผลการดำเนินงานด้านพลังงาน ผลกระทบของกิจกรรมหรือพฤติกรรมต่อผลการดำเนินงานด้านพลังงาน
– การสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร
– การจัดการเอกสารสารสนเทศตามข้อกำหนด การควบคุม และจัดทำเอกสารสารสนเทศให้ทันสมัย
ข้อ 8 การดำเนินการ
– องค์กรต้องมีการวางแผนและควบคุมกระบวนการที่จำเป็นภายใต้ระบบระบบการพลังงานเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการที่กำหนดไว้
– การออกแบบ โดยพิจารณาโอกาสในการปรับปรุงสมรรถนะด้านพลังงาน และ การควบคุมการปฏิบัติการ (operational control) ในการออกแบบใหม่ ปรับเปลี่ยนแก้ไข และการปรับปรุงใหม่ ของสิ่งอำนวยความสะดวก, อุปกรณ์, ระบบและกระบวนการ ที่สามารถมีผลกระทบที่มีนัยสำคัญกับสมรรถนะด้านพลังงาน
– การจัดซื้อ (Procurement) ต้องกำหนดเกณฑ์ในการจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์และบริการโดยคำนึงถึงผลการดำเนินงานด้านพลังงาน
ข้อ 9 การประเมินสมรรถนะ
– การเฝ้าระวัง การวัด การวิเคราะห์ และการประเมิน เพื่อให้มั่นใจถึงความถูกต้องของผลลัพธ์
– การตรวจประเมินภายใน
– การทบทวนของฝ่ายบริหาร
– การรายงานที่เกี่ยวข้องกับบริการ
ข้อ 10 การปรับปรุง
– องค์กรต้องปฏิบัติการแก้ไขเมื่อเกิดความไม่เป็นไปตามข้อกำหนด
– การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาระบบการจัดการพลังงานที่เหมาะสม เพียงพอ และเกิดประสิทธิผล

7. ประโยชน์จากการจัดทำมาตรฐาน
– เพิ่มโอกาสการลดต้นทุนการผลิตเนื่องจากมีการพิจารณาถึงการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและพิจารณาหาโอกาสการลดปริมาณการใช้พลังงาน ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถลดต้นทุนในการผลิตได้
– เพิ่มโอกาสทางธุรกิจเนื่องจากในปัจจุบันประเด็นพลังงานเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยในการลดปัญหาภาวะโลกร้อนหากสามารถลดการใช้พลังงานได้ก็มีส่วนช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เช่นกัน ซึ่งทำให้ช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้า
– ช่วยให้การดำเนินงานสอดคล้องกับกฎหมายด้านพลังงานที่เกี่ยวข้องซึ่งจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมทราบถึงสาระสำคัญของกฎหมายที่เกี่ยวข้องและนำไปเป็นแนวทางในการจัดการด้านพลังงานได้อย่างเหมาะสม
– สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ภาคอุตสาหกรรมการจัดการพลังงานเป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบทางด้านการปล่อยก๊าซที่ทำลายชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
– สร้างจิตสำนึกให้กับพนักงานในการแก้ไขและป้องกันปัญหาด้านพลังงาน

8. แหล่งข้อมูลและเอกสารอ้างอิง
– https://www.iso.org/standard/69426.html
– https://www.bsigroup.com/globalassets/localfiles/en-us/documents/bsi-us-iso-50001-guide-2018.pdf
– http://www.masciinnoversity.com/?p=23593&lang=TH
– http://www.isothai.com/forums/topic/11391-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%94-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-iso50001/

ปรับปรุงข้อมูลเมื่อเดือนกรกฎาคม 2563