ISO 56002:2019

1. ชื่อมาตรฐาน
ภาษาอังกฤษ : Innovation management – Innovation management system – Guidance
ภาษาไทย : มาตรฐานระบบการจัดการนวัตกรรม – ข้อแนะนำ

2. การประกาศใช้
ISO : กรกฎาคม 2019
3. หน่วยงานเจ้าของมาตรฐาน
ISO : International Organization for Standardization (ISO)

4. ประเภทมาตรฐาน
ISO 56002 เป็นมาตรฐานซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติ ไม่สามารถขอการรับรองได้ แต่สามารถขอรับการทวนสอบ (Verify) ได้ เพื่อแสดงความสอดคล้องของการนำมาตรฐานไปปฏิบัติ

5. ขอบเขตและการนำมาตรฐานไปใช้
มาตรฐานฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นแนวทางนำไปประยุกต์สำหรับหน่วยงานทุกประเภท ทุกขนาด เพื่อให้องค์กรมีแนวทางในการจัดทำ รักษา และพัฒนาแนวปฏิบัติในการจัดการนวัตกรรมอย่างเป็นระบบ และสามารถพัฒนาสู่การเป็นองค์กรนวัตกรรมและประสบความสำเร็จในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ บริการ กระบวนการ และรูปแบบธุรกิจใหม่

6. ประโยชน์ของการนำมาตรฐานไปใช้

ประโยชน์ที่ได้รับในด้านการตลาด

ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการที่องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ยังไม่บรรลุผล (ยังเป็นปัญหา)
เพิ่มโอกาสทางธุรกิจและการเปิดตลาดใหม่
นำไปสู่การลดลงของผลกระทบอันเนื่องมาจากการกีดกันทางการค้า
ลดเวลาในการวางตลาด (ทำได้รวดเร็วขึ้น)
เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันขององค์กรต่างๆ
ตอบความต้องการของทั้งผู้พัฒนา และระบบเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่

ประโยชน์ที่ได้รับในด้านวัฒนธรรม

เปิดใจที่จะอมรับรูปแบบวิธีการและธุรกิจใหม่ๆ
ส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมแบบนวัตกรรมในระดับโลก
อำนวยความสะดวกในการดำเนินงานร่วมมือกับพันธมิตร
ปรับปรุงการร่วมกันทำงานกับภาคีเครือข่ายในระดับโลก
การดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการนวัตกรรมขององค์กร

ประโยชน์ที่ได้รับภายในองค์กร

ประหยัดค่าใช้จ่ายและลดความเสี่ยงเมื่อการสร้างนวัตกรรมและการทำงานร่วมกันข้ามพรมแดนเนื่องจากการพัฒนาเครื่องมือที่มีมาตรฐาน
เพิ่มความสามารถในการตัดสินใจองค์กร: การทดลองที่ล้มเหลวอย่างรวดเร็วและความสามารถในการรับความเสี่ยงที่เหมาะสมเผชิญกับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงของโลก “(ความล้มเหลวต่าง ๆ จึงเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จนั้น ซึ่ง Startup จึงมีคำบอกว่า Fail Fast Succeed Faster ข้อดีของ Fail Fast Succeed Faster นั้นคือการที่คุณล้มเหลวรวดเร็วเท่าใด จะทำให้คุณประหยัดเงินได้เท่านั้น เพราะลองนึกถึงว่าในขั้นตอนการทำธุรกิจหรือเปิดตัวธุรกิจออกไปการใช้งบประมาณต่าง ๆ นั้นยังไม่เยอะมาก มีการลงทุนในเรื่องต่าง ๆ ในขั้นนี้ยังไม่เยอะเมื่อการล้มเหลวในขั้นนี้จะทำให้เกิดการกลับตัวมาใหม่ได้เร็วกว่า เพราะคุณยังเหลืองบประมาณต่าง ๆ ในมืออย่างมาก แต่ถ้าคุณยังคงทำต่อไปเมื่อยิ่งโตขึ้น ความล้มเหลวนั้นจึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดี เพราะการที่โตมากแปลว่าเงินหรืองบประมาณนั้นลงไปมากแล้ว การล้มในตอนนี้แทบจะทำให้คุณกลับตัวไม่ได้เลย เพราะเงินที่ลงไปในการทำธุรกิจนั้นเป็นจำนวนมากมาย)”
ปรับปรุงประสิทธิภาพและสมรรถนะการทำงานขององค์กรในการผลิตนวัตกรรม
ปรับปรุงผลลัพธ์ของกระบวนการนวัตกรรมและมีส่วนช่วยในการตรวจสอบผลตอบแทนของการลงทุนที่เกิดขึ้นในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
การแบ่งปัน (Share) ทั่วโลกยอมรับ “ภาษากลาง” สำหรับการจัดการนวัตกรรม
ประเมินความคืบหน้าขององค์กรและการระบุและการแบ่งปันวิธีปฏิบัติที่ดีในการจัดการนวัตกรรม

7. สาระสำคัญของมาตรฐาน

หลักการของระบบการจัดการนวัตกรรม (innovation management system) ประกอบด้วย
a) การสร้างคุณค่า (realization of value)
b) ผู้นำที่มุ่งสู่อนาคต (future-focused leaders)
c) ทิศทางกลยุทธ์ (strategic direction)
d) วัฒนธรรม (culture)
e) การใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึก (exploiting insights)
f) การจัดการความไม่แน่นอน (managing uncertainty)
g) การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง (adaptability)
h) การมุ่งเน้นระบบ (systems approach)

โครงสร้างมาตรฐาน
ในมาตรฐาน ISO 56002:2019 อ้างอิงการใช้โครงสร้าง High Level Structure ตาม ANNEX SL ของ ISO ดังนี้

มาตรฐานนี้ กล่าวถึงขอบข่าย บทนิยาม และข้อกำหนดของระบบการจัดการนวัตกรรม ประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้
ข้อ 4 บริบทองค์กร (Context of the organization)
– การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ทั้งปัจจัยภายในและภายนอกองค์กร
– การวิเคราะห์ความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
– การกำหนดขอบข่ายของระบบการจัดการนวัตกรรม
– การสร้างระบบการจัดการนวัตกรรม ซึ่งจะดำเนินการให้สอดคล้องตามหลักการของการจัดการนวัตกรรม การส่งเสริมและสร้างให้มีวัฒนธรรมที่เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม และรวมไปถึงการสร้างความร่วมมือ ไม่ว่าจะหน่วยงานภายในและภายนอก เพื่อให้เกิดการแบ่งปันความรู้และทรัพยากรต่างๆ และลดความเสี่ยง และลดระยะเวลาของการดำเนินการทางนวัตกรรม
ข้อ 5 บทบาทของผู้นำ (Leadership)
– มุ่งไปยังการสร้างมูลค่าที่แท้จริงต่อการสร้างนวัตกรรม
– ผู้บริหารต้องกำหนดวิสัยทัศน์ด้านนวัตกรรมขององค์กร
– ผู้บริหารต้องแสดงให้เห็นถึงภาวะความเป็นผู้นำและความเอาใจใส่ต่อหน้าที่ความรับผิดชอบในระบบบริหารจัดการนวัตกรรม ผ่านสิ่งต่าง ๆ เช่น การกำหนดกลยุทธ์ นโยบายและวัตถุประสงค์ด้านนวัตกรรม การสนับสนุนทรัพยากร อำนวยความสะดวกและสนับสนุนบุคลากรเพื่อให้เกิดประสิทธิผล เป็นต้น
– กำหนดความรับผิดชอบ บทบาท และหน้าที่ ของผู้จะดำเนินการต่อระบบการจัดการนวัตกรรม และ ผู้ที่รับผิดชอบในส่วนของโครงการนวัตกรรมต่างๆ เพื่อรายงานถึงสมรรถนะของระบบการจัดการนวัตกรรม และโอกาสในการปรับปรุงตามเวลาที่กำหนด
ข้อ 6 การวางแผน (Planning)
– วางแผนการปฏิบัติ โดยพิจารณาถึงบริบทองค์กร และความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย และให้มีการระบุความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างนวัตกรรม
– ระบุประเด็นปัญหาด้านนวัตกรรมทั้งภายในและภายนอกองค์กร
– มีการวางแผนวิธีการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านนวัตกรรม กำหนดกิจกรรม ทรัพยากร ความรับผิดชอบ ปัจจัยผลักดัน ขั้นตอนการจัดการนวัตกรรมและสร้างตัวชี้วัดในการตรวจสอบความสำเร็จในระยะสั้นและระยะยาวของระบบบริหารจัดการนวัตกรรม
– กำหนดโครงสร้างองค์กร ที่ให้มั่นใจต่อการดำเนินการได้ในระบบการจัดการนวัตกรรม
– การจัดทำแฟ้มสะสมงาน (Innovation portfolio) เพื่อเป็นการวิเคราะห์ถึงความเสี่ยง และระดับของนวัตกรรม ตามขอบข่ายและเวลา และให้สอดคล้องไปกับกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ของนวัตกรรม
ข้อ 7 การสนับสนุน (Support)
– องค์กรต้องจัดโครงสร้าง บทบาท ความรับผิดชอบ และทรัพยากร
– องค์กรต้องจัดสรรทรัพยากรในด้านบุคลากร เวลา องค์ความรู้ การเงิน และโครงสร้างพื้นที่ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อระบบการจัดการนวัตกรรมและโครงการด้านนวัตกรรม
– องค์กรต้องกำหนดคุณสมบัติของบุคลากรที่รับผิดชอบ และจัดให้มีการพัฒนาทักษะ ความรู้ และความสามารถที่จำเป็น
– การสร้างความตระหนักให้แก่บุคลากรขององค์กร และสร้างแรงจูงใจ/วัฒนธรรมองค์กรด้านนวัตกรรม
– การสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร
– ระบบเอกสารสารสนเทศ
– เครื่องมือและวิธีการ
– การจัดการปัญญาเชิงกลยุทธ์
– การจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและความรู้
ข้อ 8 การดำเนินการ (Operation)
– การวางแผนและการควบคุม องค์กรต้องสร้างแผนการดำเนินการและการควบคุม สำหรับการริเริ่ม กระบวนการ โครงสร้าง และการสนับสนุนที่ความต้องการที่ได้ระบุโอกาส และการต้องการที่จะดำเนินการทางนวัตกรรมให้บรรลุได้ตามวัตถุประสงค์
– ความคิดริเริ่มด้านนวัตกรรม
– กระบวนการทางนวัตกรรม ซึ่งประกอบไปด้วย การชี้บ่งโอกาส การสร้างแนวคิด การทวนสอบแนวคิด การพัฒนารูปแบบนวัตกรรม และการดำเนินการและติดตามผลของนวัตกรรมดังกล่าว
ข้อ 9 การประเมินสมรรถนะ (Performance evaluation)
– กำหนดตัวชี้วัด วิธีการสำหรับการตรวจติดตามและเกณฑ์ในการตรวจวัด
– การตรวจประเมินภายใน
– การทบทวนฝ่ายบริหาร
ข้อ 10 การปรับปรุง (Improvement)
– ชี้บ่งความเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้น และกำหนดวิธีการแก้ไข เพื่อกำจัดสาเหตุของความเบี่ยงเบน หรือสร้างการดำเนินการแก้ไขเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและผลลัพธ์ของระบบการบริหารจัดการนวัตกรรม
– การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

8. แหล่งข้อมูลอ้างอิง
– https://www.iso.org/standard/68221.html