Search มาตรฐานและกฎระเบียบ

มติที่ 71/233 การประชุมสมัชชาสหประชาชาติ

ประเทศเกี่ยวข้อง
สหภาพยุโรป,เนเธอแลนด์,อังกฤษ,สหรัฐอเมริกา,แคนาดา,ออสเตรเลีย,ญี่ปุ่น,เกาหลีใต้,ฮ่องกง,สิงคโปร์,มาเลเซีย,อินโดนีเซีย,นิวซีแลนด์,อินเดีย,ไทย,เวียดนาม,กัมพูชา,พม่า,ฟิลิปปินส์,เยอรมัน,อื่นๆ,ฝรั่งเศส
สาขาอุตสาหกรรมสินค้า
อุตสาหกรรมพลังงาน
วันที่บังคับใช้
21 ธันวาคม 2559
มาตรฐานประเภท
บังคับ
ขอบข่าย

พลังงานหมุนเวียน

แหล่งพลังงานใหม่ๆ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สรุปรายละเอียดสำคัญ

ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติยอมรับการดำเนินการให้ทุกคนสามารถเข้าถึงพลังงานในราคาที่เหมาะสม มีศักยภาพน่าเชื่อถือ มีความยั่งยืน และมีความทันสมัย (Ensure access to affordable, reliable, sustainable and modern energy for all) โดยมติดังกล่าว มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

  1. ยอมรับรายงานสหประชาชาติทศวรรษของพลังงานที่ยั่งยืนเพื่อทุกคน (United Nations Decade of Sustainable Energy for All: SE4ALL) ระหว่าง พศ. 2557–2567 และเรียกร้องให้เร่งดำเนินการตามแผนการพร้อมกับยอมรับข้อเสนอจากรายงานให้มีการส่งเสริมแหล่งพลังงานหมุนเวียนและแหล่งพลังงานใหม่ๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการภายในปีพ.ศ. 2573 ได้แก่ ให้ประเทศสมาชิกเพิ่มแหล่งพลังงานหมุนเวียน ให้ทุกคนเข้าถึงพลังงานที่ทันสมัย และพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพด้านพลังงาน
  2. ยอมรับการทำงานของทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (International Renewable Agency : IRENA) และงบประมาณการดำเนินงานเพื่อผลักดันให้หน่วยงานดำเนินการสนับสนุนประเทศสมาชิกในการบรรลุเป้าหมายด้านพลังงานหมุนเวียน ซึ่งทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (International Renewable Agency: IRENA) ได้จัดตั้งขึ้นตามธรรมนูญของทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (Statute of the International Renewable Agency) ณ เมืองบอนน ์สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยมีประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ IRENA ด้วย IRENA และประเทศสมาชิกมีความต้องการที่จะส่งเสริมความแพร่หลายและเพิ่มการดำเนินการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  3. เน้นให้เกิดส่วนแบ่งของแหล่งพลังงานหมุนเวียนและแหล่งพลังงานใหม่ๆ ในตลาดโลก พัฒนาความมีประสิทธิภาพของพลังงาน สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อพลังงานที่สะอาดกว่า และมีประสิทธิภาพของพลังงาน รวมถึงการอนุรักษ์พลังงาน เทคโนโลยีเพื่อการประหยัดพลังงาน และตระหนักถึงความจำเป็นที่จะสร้างระบบพลังงานที่ทันสมัยที่สะอาด ปริมาณก๊าซคาร์บอนต่ำ ช่วยฟื้นฟูสภาพภูมิอากาศ ประหยัดและมีประสิทธิภาพ และทำให้บรรลุเป้าหมายตามความตกลงปารีส
  4. ส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน การต่อสู้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนอกเหนือจากการผลิตกระแสไฟฟ้า เชjน ในการอุตสาหกรรม การก่อสร้าง และโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการเดินทางขนส่ง โดยกำหนดเป็นนโยบายและ การลงทุนทั้งในระดับประเทศและระดับระหว่างประเทศ และอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนเพื่อที่จะมีการใช้เทคโนโลยีด้านพลังงานหมุนเวียนและการปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำที่สามรถช่วยลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมได
  5. ส่งเสริมให้มีการยอมรับมาตรฐานและมาตรการศักยภาพของอาคาร (Building performance codes and standards) โดยการใช้พลังงานหมุนเวียน การใช้ฉลากความมีประสิทธิภาพด้านพลังงาน (Energy efficiency labelling) การปรับปรุงติดตั้งอาคารเดิมและนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐด้านพลังงานโดยใช้แบบวิธีที่เหมาะสม เช่น การใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ระบบไฟฟ้าในเขตเมือง และแผนพลังงานของชุมชนเพื่อเชื่อมโยงระหว่างการใช้พลังงานหมุนเวียนและความมีประสิทธิภาพด้านพลังงาน
  6. ให้แต่ละประเทศส่งเสริมการเข้าถึงพลังงานทันสมัย ยั่งยืนที่สามารถจ่ายได้มีศักยยภาพน่าเชื่อถือ โดยเป็นการดำเนินการในระดับท้องถิ่นโดยใช้ข้อได้เปรียบจากการควบคุมโดยตรงและเป็นผู้ใช้ไฟฟ้า

แหล่งที่มา

  • United Nations, General Assembly, United Nations Decade of Sustainable Energy for All (Report of the Secretary), A/71//321 (United Nations : 10 August 2016).
  • UN-Energy, Activities of Member Organizations and Partners of UN-Energy in Support of “2014-2024 United Nations Decade of Sustainable Energy for All”, (United Nations : March 2016)