Search มาตรฐานและกฎระเบียบ

ยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน

ประเทศเกี่ยวข้อง
สหภาพยุโรป
สาขาอุตสาหกรรมสินค้า
อุตสาหกรรมพลังงาน
มาตรฐานประเภท
สมัครใจ
ขอบข่าย

เทคโนโลยีด้านพลังงานและนวัตกรรม,

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ,

พลังงานหมุนเวียน

สรุปรายละเอียดสำคัญ

สหภาพยุโรปมีการกำหนดยุทธศาสตร์ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อให้ประเทศสมาชิกมีจุดมุ่งหมายและนำไปเป็นนโนบายของแต่ละประเทศที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน การกำหนดยุทธศาสตร์ด้านพลังงานฉบับแรกเริ่มในปีพ.ศ. 2553

ปัจจุบันมียุทธศาสตร์ด้านพลังงาน 3 ระยะ คือ ยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน ค.ศ. 2020 ยุทธศาสตร์พลังงาน ค.ศ. 2030 และยุทธศาสตร์พลังงาน ค.ศ. 2050

ยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน ค.ศ. 2020 จัดทำในปีพ.ศ. 2553 เพื่อการดำเนินการสำหรับระยะเวลา 10 ปีจนถึงปีพ.ศ. 2563 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้สหภาพยุโรปมีแหล่งพลังงานที่หลากหลายเพื่อความมั่นคงและความยั่งยืน โดยมียุทธศาสตร์ 5 ด้านได้แก่ความมีประสิทธิภาพด้านพลังงานของสหภาพยุโรป สร้างตลาดพลังงานที่มีการบูรณาการอย่างจริงจัง สร้างความเข้มแข็งให้ผู้บริโภคที่จะบรรลุความปลอดภัยและความมั่นมั่นคงทางพลังงานในระดับที่สูงที่สุด เพิ่มความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีด้านพลังงานและนวัตกรรมของสหภาพยุโรป และเสริมสร้างมิติภายนอกของตลาดพลังงานของสหภาพยุโรป โดยความมีประสิทธิภาพด้านพลังงานของสหภาพยุโรปเป็นศูนย์กลางเป้าหมายของสหภาพยุโรปที่จะบรรลุเป้าหมายด้านความมั่นคงพลังงานและการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีเป้าหมาย 20/20/20 กล่าวคือลดพลังงานให้ได้ร้อยละ 20 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 20 และเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนร้อยละ 20 ของการบริโภคทั้งหมดภายในปีพ.ศ. 2563 โดยให้ประเทศสมาชิกกำหนดนโยบายและแผนการดำเนินการเพื่อประสิทธิภาพพลังงานของแต่ละประเทศ มุ่งไปจัดการภาคการขนส่งและอาคารที่มีความสามารถที่จะเพิ่มความมีประสิทธิภาพทางพลังงาน

ยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน ค.ศ. 2030 กำหนดให้ระหว่างปีพ.ศ. 2563–2573 มีเป้าหมายในการใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างน้อยร้อยละ 27 ของการบริโภคพลังหมุนเวียน190 ความมีประสิทธิภาพด้านพลังงานโดยมีการลดการใช้พลังงานอย่างน้อยร้อยละ 25 และการลดก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับระดับของปีพ.ศ. 2533 โดยการดำเนินการด้านปฏิรูประบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสหภาพยุโรป จัดทำตัวชี้วัดสสำหรับระบบความมั่นคงและการแข่งขันทางพลังงาน เช่น ราคาที่แตกต่างจากผู้ขายหลัก ความหลากหลายของอุปทาน และศักยภาพความเชื่อมโยงระหว่างประเทศสมาชิก นอกจากนี้ยังมีระบบธรรมภิบาลบนพื้นฐานของแผนระดับชาติเพื่อพลังงานที่มั่นคงยั่งยืน และมีการแข่งขันกันได้โดยแผนระดับชาติจะสอดคล้องกับแนววิธีการของสหภาพยุโรป

สำหรับยุทธศาสตร์ระยะยาว คือ ยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน ค.ศ. 2050 จัดทำขึ้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2554 โดยเกิดจากการขาดทิศทางที่เพียงพอในการดำเนินการต่อจากยุทธศาสตร์พลังงาน ค.ศ. 2020 ดังนั้นจึงเกิดการตั้งแนวทาง 4 ด้านได้แก่ ความมีประสิทธิภาพด้านพลังงาน พลังงานหมุนเวียน พลังงานนิวเคลียร์และการดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน เพื่อบรรลุเป้าหมายระบบพลังงานที่มั่นคง ยั่งยืน และมีการแข่งขันกัน ยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน ค.ศ. 2050 มีกลยุทธ์คือ

  • ระบบพลังงานที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่สามารถทำได้มากที่สุดทั้งทางด้านเทคโนโลยีและทางเศรษฐกิจเพื่อบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในต้นทุนการดำเนินการที่ต่ำกว่านโยบายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
  • เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนและใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมีต้นทุนต่ำลง และมีการสร้างทดแทนโครงสร้างพื้นฐานที่สร้างขึ้นเมื่อ 30-40 ปีที่แล้วโดยพลังงานทางเลือกที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำเพื่อที่จะหลีกเลี่ยงต้นทุนที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต
  • พลังงานนิวเคลียร์ยังคงอยู่ในระบบทั้งนี้เนื่องจากเป็นพลังงานที่มีปริมาณคาร์บอนต่ำ แต่ต้องมีการดำเนินการเรื่องกรอบกฎเกณฑ์สำหรับความปลอดภัยและความมั่นคงทางนิวเคลียร์เพิ่มมากขึ้นอย่างจริงจัง
  • การดักจับและการจัดเก็บคาร์บอนจะเป็นเทคโนโลยีที่สำคัญในการเปลี่ยนผ่าน พัฒนาระบบพลังงาน จึงต้องพัฒนาและนำมาใช้ติดตั้งในโรงไฟฟ้า

แหล่งข้อมูล

  • European Commission, Communication from the Commission to the European Parliament, the Council, the European Economic and Social Committee and the Committee of the Regions : Energy 2020 A Strategy for Competitive, Sustainable and Secure Energy, COM(2010) 0639 final, 10 November 2010 (European Commission : Brussels)
  • European Commission, Communication from the Commission to the European Parliament, the Council, the European Economic and Social Committee and the Committee of the Regions : A Policy Framework for Climate and Energy in the Period from 2020 to 2030, COM(2014) 015 final, 22 January 2014 (European Commission : Brussels)
  • European Commission, Communication from the Commission to the European Parliament, the Council, the European Economic and Social Committee and the Committee of the Regions : Energy Roadmap 2050, COM(2011) 0885 final, 15 December 2011 (European Commission : Brussels)