Search มาตรฐานและกฎระเบียบ

CE Mark — Council Directive 93/68/EEC (22 July 1993)

ประเทศเกี่ยวข้อง
สหภาพยุโรป
สาขาอุตสาหกรรมสินค้า
อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์,อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภค บริโภค
มาตรฐานประเภท
สมัครใจ
ขอบข่าย

(1) ภาชนะรับแรงดัน (Simple Pressure Vessels) – Directive 87/404/EEC
(2) ของเล่น (Safety of Toys) – Directive 88/378/EEC
(3) วัสดุก่อสร้าง (Construction Products) – Directive 89/106/EEC
(4) ความเข้ากันได้ของแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Compatibility) – Directive 89/336/EEC
(5) เครื่องจักร (Machinery) – Directive 89/392/EEC
(6) อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment) – Directive 89/686/EEC
(7) เครื่องชั่งน้ำหนักแบบไม่อัตโนมัติ (Non-Automation Weighing Instruments) – Directive 90/384/EEC
(8) เครื่องมือแพทย์ฝังในที่มีกำลัง (Active Implantable Medical Devices) – Directive 90/385/EEC
(9) Appliances Burning Gaseous Fuels – Directive 90/396/EEC
(10) Telecommunications Terminal Equipment, including the Mutual Recognition of Their Conformity – Directive 91/263/EEC
(11) Efficiency Requirements for New Hot-water Boilers Fired with Liquid or Gaseous fuels – Directive 92/42/EEC
(12) Electrical Equipment Designed for Use within Certain Voltage Limits – Directive 73/23/EEC CE Mark หรือ Conformite

สรุปรายละเอียดสำคัญ

 Europeene Mark (เป็นภาษาฝรั่งเศส) มีความหมายเท่ากับคำว่า European Conformity Mark ในภาษาอังกฤษ
CE Mark เป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าสินค้าอุตสาหกรรมที่จำหน่ายในสหภาพยุโรป (European Union: EU) ทั้งสินค้านำเข้าและสินค้าที่ผลิตใน EU เอง มีการออกแบบและการผลิตที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยตามระเบียบข้อบังคับที่ EU กำหนด ทั้งนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคถึงความปลอดภัยในการใช้สินค้าและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง เพื่อสร้างมาตรฐานสินค้าของประเทศสมาชิกในกลุ่ม EU ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ขั้นตอนการขออนุญาตติดเครื่องหมาย CE บนสินค้าอุตสาหกรรม มีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้
(1)    การตรวจสอบสินค้าตามระเบียบข้อบังคับ (Directives) และตามมาตรฐานของสินค้าแต่ละประเภท เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกัน (Harmonized Standards)
(2)    การทดสอบผลิตภัณฑ์สินค้า เพื่อให้มีมาตรฐานความปลอดภัยตามที่ EU กำหนด: ผู้ผลิตสามารถตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยของสินค้าด้วยตนเอง ในกรณีที่สินค้าดังกล่าวมีความเสี่ยงน้อยในการใช้งาน แต่หากสินค้ามีความเสี่ยงสูงในการใช้งาน ผู้ผลิตจำเป็นต้องให้หน่วยงานตรวจสอบอิสระ (Notified Body) ที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมาธิการยุโรป (ปัจจุบันมีเกือบ 1,000 แห่งใน EU แต่ยังไม่มีในประเทศไทย แต่ผู้ประกอบการไทยสามารถติดต่อขอรับบริการทดสอบผ่านหน่วยตรวจสอบที่เป็นสาขาของหน่วยตรวจสอบต่างประเทศ ซึ่งมีที่ทำการตั้งอยู่ในประเทศไทย) เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยของสินค้านั้นๆ
(3)    การจัดทำแฟ้มเอกสารข้อมูลทางเทคนิค (Technical Documentation): ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือตัวแทนจำหน่ายต้องจัดทำแฟ้มเอกสารข้อมูลทางเทคนิค เพื่อเป็นหลักฐานแสดงต่อคณะกรรมาธิการยุโรปเมื่อมีการเรียกตรวจสอบ ทั้งนี้ แฟ้มเอกสารข้อมูลทางเทคนิคต้องมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้
•    ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต
•    ลักษณะและประเภทของสินค้า
•    ขั้นตอนการออกแบบ กระบวนการผลิต วิธีประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สินค้า และมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบ
•    รายงานผลการตรวจสอบ และ
•    คู่มือการใช้งาน
(4)    การจัดทำใบรับรอง (Declaration of Conformity): ผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้แทนจำหน่ายสินค้า ต้องจัดทำใบรับรอง เพื่อแสดงว่าสินค้าเป็นไปมาตรฐานความปลอดภัยตามที่ EU กำหนด โดยระบุรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้
•    ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายใน EU
•    ลักษณะของสินค้า
•    ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินค้า
•    มาตรฐานที่ใช้ในการตรวจสอบ
•    ชื่อหน่วยงานตรวจสอบอิสระที่เป็นผู้ทดสอบสินค้า
•    วันที่ออกใบรับรอง และ
•    ลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามของบริษัทผู้ผลิต
(5)    การติดแสดงเครื่องหมาย CE Mark: ผู้ผลิตจะสามารถติดแสดงเครื่องหมาย CE Mark บนตัวสินค้าหรือบนบรรจุภัณฑ์ได้ ก็ต่อเมื่อสินค้าของตนผ่านการทดสอบและสอดคล้องตามมาตรฐานที่ EU กำหนด ทั้งนี้ เครื่องหมาย CE ที่ติดบนตัวสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ต้องมีความคงทนถาวรและมีขนาดไม่ต่ำกว่า 5 มิลลิเมตร เพื่อให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน (เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ EU กำหนด)
ที่มา:
http://eur-lex.europa.eu/LexUriServ/LexUriServ.do?uri=CELEX:31993L0068:en:HTML