Search มาตรฐานและกฎระเบียบ

International Standard for Phytosanitary Measure No.15 – Guidelines for regulating wood packaging material in international trade หรือ ISPM 15

ประเทศเกี่ยวข้อง
สหภาพยุโรป,สหรัฐอเมริกา,แคนาดา,จีน,นิวซีแลนด์,ไทย,อื่นๆ
สาขาอุตสาหกรรมสินค้า
อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้
วันที่บังคับใช้
01-04-2006
มาตรฐานประเภท
บังคับ
ขอบข่าย

วัสดุบรรจุหีบห่อที่เป็นเนื้อไม้ (Wood Package Material) เช่น พาเลทไม้ ลังไม้โปร่ง ลังไม้ทึบ ไม้แปรรูป เป็นต้น

สรุปรายละเอียดสำคัญ

ISPM 15 มาตรฐานระหว่างประเทศสำหรับมาตรการสุขอนามัยพืช ว่าด้วยแนวทางปฏิบัติสำหรับระเบียบควบคุมวัสดุบรรจุหีบห่อที่เป็นเนื้อไม้ในการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้ อนุสัญญาอารักขาพืชระหว่างประเทศ (International Plant Protection Convention, IPPC)

ISPM 15 กำหนดให้บรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยไม้ ต้องผ่านวิธีการควบคุมกำจัดศัตรูพืชและประทับตราเครื่องหมายรับรอง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของศัตรูพืชที่อาจติดมากับไม้ ไม่ไห้ได้รับผลกระทบจากการขนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งอาจนำผลกระทบมาสู่ประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทาง

ข้อกำหนดการปฏิบัติ คือ

  • บรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยไม้ ครอบคลุม ลังไม้แบบโปร่ง (Crates) กล่องไม้ (Boxes) ลังไม้แบบทึบ (Packing Cases) ไม้กันกระแทก (Dunnage) ไม้รองสินค้า/ไม้พาเลท (Pallets) และวงล้อไม้ (Cable Drums)
  • ข้อยกเว้น บรรจุภัณฑ์ไม้ที่ไม่ต้องผ่านวิธีการควบคุมกำจัดศัตรูพืชและการประทับตราเครื่องหมายรับรอง ได้แก่
  • ไม้ที่มีความหนาไม่เกิน 6 มิลลิเมตร
  • ไม้แปรรูป เช่น ไม้อัด (Plywood) ไม้อัดพาร์ติเคิล (Particle Board) ไม้อัดเรียงชิ้น (Oriented Stand Board) หรือไม้แผ่นบาง (Veneer) ที่ใช้กาว ความร้อน หรือวิธีการข้างต้นร่วมกันในการผลิต
  • ถังไวน์ หรือถังหมักสุราที่ได้รับความร้อนในกระบวนการผลิต
  • กล่องของขวัญ ไม้สำหรับใสไวน์ ซิการ์ หรือสินค้าอื่นๆ ที่ผ่านกระบวนการ หรือผลิตด้วยวิธีที่ปลอดศัตรูพืช
  • ขี้เลื่อย (Sawdust) ขี้กบ (Wood Shaving) และไส้ไม้ (Wood Wool)
  • ไม้ที่เป็นส่วนประกอบแบบถาวรบนพาหนะที่ใช้ขนส่งสินค้าและตู้สินค้า

วิธีควบคุมกำจัดศัตรูพืข สามารถทำได้ 2 วิธี คือ

  1. วิธีการอบด้วยความร้อน (Heat Treatment) วัตถุดิบไม้ที่นำมาประกอบเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ ต้องผ่านการอบด้วยความร้อน จนแกนกลางของไม้ได้รับความร้อนไม่น้อยกว่า 56 องศาเซลเซียส เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 นาที โดยสามารถทำได้หลายกรรมวิธี เช่น การอบแห้ง (Kiln-drying: KD) การอัดน้ำยาด้วยแรงอัด (Heat-enabled Chemical Pressure Impregnation :CPI) การอบด้วยคลื่นไมโครเวฟ (Microwave) หรือวิธีอื่นใด จึงจะได้รับการพิจารณาว่าผ่านวิธีปฏิบัติด้วยการอบด้วยความร้อน ทททั้งนี้ ต้องลอกเปลือกไม้ออกก่อนหรือหลังการอบทุกครั้ง
  2. วิธีรมด้วยเมทิลโบรไมด์ (Methyl Bromide Fumigation) คือ การใช้สาร Methyl Bromide รมที่แกนกลางของไม้ ให้ได้ค่า Concentration-time Product: CT ตามที่กำหนดดังตาราง โดยต้องตรวจวัดค่าความเข้มข้นทุก 2, 4 และ 24 ชั่วโมง และจะต้องลอกเปลือกไม้ออกก่อนการรม เนื่องจากเปลือกไม้มีผลต่อประสิทธิภาพการรมด้วยวิธีดังกล่าว
อุณหภูมิ (oC) CT (g·h/m3)

ในระยะเวลา 24 ชั่วโมง

ค่าความเข้มข้น

สุดท้ายต่ำสุด (g/m3) หลังจาก 24 ชั่โมง

21 หรือ มากกว่า 650 24
16 หรือ มากกว่า 800 28
10 หรือ มากกว่า 900 32

การประทับเครื่องหมายรับรองบนวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ หลังจากผ่านวิธีควบคุมกำจัดศัตรูพืช บรรตุภัณฑ์ที่ทำด้วยไม้ จะต้องผ่านการประทับเครื่องหมายรับรอง เพื่อยืนยันว่าได้ผ่านกระบวนการถูกต้องตามมาตรฐานแล้ว โดยจะต้องประทับเครื่องหมายแบบถาวรในบริเวณที่สามารถอ่านได้อย่างชัดเจนอย่างน้อย 2 ด้านที่อยู่ตรงข้าม และไม่ควรใช้สีแดงหรือสีส้มในการประทับ สำหรับประเทศไทย หน่วยงานที่มีนห้าที่รับผิดชอบ คือ กรมวิชาการเกษตร (DOA) โดยสัญลักษณ์ที่ใช้ต่างๆ มีความหมาย ดังนี้

  • IPPC หมายถึง สัญลักษณ์สากลตามมาตรฐาน ISPM 15
  • TH หมายถึง ประเทศไทย (กำหนดรหัสประเทศ 2 ตัวอักษร โดยหน่วยงาน ISO)
  • XXX หมายถึง เลขทะเบียนบริษัทผู้ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ ซึ่งออกโดยกรมวิชาการเกษร
  • HT หมายถึง การอบด้วยความร้อน เป็นรหัสวิธีการควบคุมกำจัดศัตรูพืช หรืออาจใช้รหัส MB หมายถึง การรมด้วยเมทิลโบรไมด์
  • อักษรย่อหน่วยงานที่รับรอง หมายถึง หน่วยตรวจสอบรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ เช่น DOA หมายถึง กรมวิชาการเกษตร (Department of Agriculture)

เครื่องหมายรับรอง

  1. ต้องชัดเจน
  2. ต้องประทับบนวัสดุภัณฑ์ไม้อย่างถาวร
  3. ต้องประทับบริเวณที่เห็นได้ง่ายอย่างน้อย 2 ด้านที่อยู่ตรงข้ามกัน
  4. ห้ามใช้สีแดง และ สีส้ม ควรใช้สีเข้ม

แหล่งข้อมูล:

http://www.acfs.go.th/sps/downloads/ISPM_NO15.pdf

http://www.acfs.go.th/sps/downloads/133703_ISPM15_2002_with_Ann.pdf