วันความปลอดภัยอาหารโลกกับการเตรียมความพร้อมสำหรับสิ่งที่ไม่คาดคิด

Share

ไม่ใช่เรื่องธรรมดาเสียแล้วเมื่อทุก ๆ ปี คนทั่วโลก 1 ในสิบ 10 เกิดการล้มป่วยจากอาหารที่มีการปนเปื้อน  และมีโรคกว่า 200 โรคเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อน นอกจากนี้ ยังมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบถึงร้อยละ 40 มีปัญหาเกี่ยวกับโรคที่เกิดจากอาหาร

เหตุการณ์ด้านความปลอดภัยของอาหารเช่นนี้ทำให้องค์การสหประชาชาติรณรงค์เนื่องในวันความปลอดภัยอาหารโลกเพื่อให้คนทั่วโลกเห็นถึงความสำคัญของการเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยของอาหาร ไม่ว่าจะรุนแรงหรือไม่รุนแรงก็ตาม

องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 7 มิถุนายนของทุกปีเป็นวันความปลอดภัยอาหารโลก (World Food Safety Day) ซึ่งในปี 2567 (ค.ศ.2024) ให้ความสำคัญในหัวข้อ “เตรียมความพร้อมสำหรับสิ่งที่ไม่คาดคิด”

เหตุการณ์ด้านความปลอดภัยของอาหารเป็นสถานการณ์ที่อาจมีความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นหรือได้รับการยืนยันแล้วซึ่งเกี่ยวข้องกับการบริโภคอาหาร เหตุการณ์เกี่ยวกับอาหารสามารถเกิดขึ้นได้หลายด้านตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ไปจนถึงวิกฤตการณ์ที่สำคัญในระดับระหว่างประเทศ ตัวอย่างเช่น อุบัติเหตุ ไฟฟ้าดับ อาหารเป็นพิษ การควบคุมที่ไม่เพียงพอ การฉ้อโกงอาหาร การเรียกคืนผลิตภัณฑ์ที่ปนเปื้อนโดยผู้ผลิต การระบาดจากผลิตภัณฑ์นำเข้า และภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ถึงแม้ว่าการเตรียมพร้อมในการจัดการเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยของอาหารจะต้องอาศัยความพยายามอย่างทุ่มเทจากผู้กำหนดนโยบาย หน่วยงานด้านความปลอดภัยของอาหาร เกษตรกร และผู้ประกอบธุรกิจด้านอาหาร แต่ก็ยังอาจเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดดังกล่าวขึ้นได้

อันที่จริงแล้ว ความปลอดภัยของอาหารเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคนตั้งแต่ผู้ผลิตไปจนถึงผู้บริโภคซึ่งต้องมีส่วนร่วม วิธีนี้เป็นวิธีเดียวที่ทำให้เรามั่นใจได้ว่าอาหารในจานของเราจะมีความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม อันตรายด้านความปลอดภัยของอาหารไม่มีขีดจำกัดด้านพรมแดน  ในการจัดหาอาหารทั่วโลกมีความเชื่อมโยงถึงกันมากขึ้น ความเสี่ยงที่เกิดจากอาหารที่ไม่ปลอดภัยอาจพัฒนาอย่างรวดเร็วจากปัญหาในท้องถิ่นไปสู่ภาวะฉุกเฉินระหว่างประเทศได้

ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด การเตรียมพร้อมจึงเป็นกุญแจสำคัญ แผนเผชิญเหตุฉุกเฉินด้านความปลอดภัยของอาหารระดับประเทศและระบบเฝ้าระวังที่เข้มแข็งเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยของอาหาร ธุรกิจอาหารควรมีแผนการจัดการและการตอบสนองที่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินการทันทีในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยของอาหาร

การทำงานร่วมกันหลายภาคส่วนทำให้มั่นใจได้ว่าการตอบสนองจะมีประสิทธิผล ความรับผิดชอบร่วมกันด้านความปลอดภัยของอาหารต้องอาศัยความร่วมมือในประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อเราทุกคนในทุก ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก  แนวทางการประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานระดับประเทศ และอุตสาหกรรมอาหารสามารถช่วยลดผลกระทบด้านสาธารณสุขลงได้

การแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างรวดเร็วสามารถช่วยชีวิตผู้คน การแบ่งปันข้อมูลที่รวดเร็วและแม่นยำระหว่างพันธมิตรที่เกี่ยวข้องทั้งหมด รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ บริการตรวจสอบอาหาร ธุรกิจอาหาร ห้องปฏิบัติการ และองค์กรระหว่างประเทศ  จะช่วยระบุลักษณะและที่มาของเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยของอาหาร และช่วยชีวิตเราได้

ในขณะเดียวกัน การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพก็ช่วยรักษาความมั่นใจในการจัดหาอาหาร การให้ข้อมูลที่ถูกต้อง เปิดกว้าง และทันเวลาแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพ สื่อ และประชาชนทั่วไป จะช่วยรักษาความเชื่อมั่นในการจัดหาอาหารและป้องกันการเจ็บป่วยเพิ่มเติมได้

แผนการจัดการความปลอดภัยด้านอาหารช่วยปกป้องผู้บริโภค ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และผู้ค้าปลีกควรจัดทำและปรับปรุงแผนการจัดการความปลอดภัยด้านอาหารอย่างสม่ำเสมอเพื่อปกป้องสุขภาพของผู้คน การดำเนินการอย่างเข้มงวดของผู้ประกอบธุรกิจอาหารจะเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมอาหารซึ่งทุกคนจะต้องพร้อมที่จะดำเนินการตามแผนและแนวทางการรับมือเหตุฉุกเฉิน รวมถึงขั้นตอนการถอนคืนสินค้าและการเรียกคืนสินค้า ระบบตรวจสอบย้อนกลับเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการติดตามอาหารผ่านห่วงโซ่อาหาร

เรื่องของการจัดการความปลอดภัยของอาหารมีมาตรฐานหลายฉบับที่ช่วยท่านได้ ท่านที่สนใจองค์ความรู้หรือบริการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารและมาตรฐานอาหารอื่น ๆ  สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายรับรองระบบ โทรศัพท์ 026171723 – 36  หรือ Email: SCD@masci.or.th 

ที่มา: https://shorturl.at/Fzza7

 2,034 ผู้เข้าชมทั้งหมด