มตช.14064 /ISO 14064

1.ชื่อมาตรฐาน
(ภาษาอังกฤษ)
– ISO 14064-1 Greenhouse gases — Part 1: Specification with guidance at the organization level for quantification and reporting of greenhouse gas emissions and removals
– ISO 14064-2 Greenhouse gases — Part 2: Specification with guidance at the project level for quantification, monitoring and reporting of greenhouse gas emission reductions or removal enhancements
– ISO 14064-3 Greenhouse gases — Part 3: Specification with guidance for the verification and validation of greenhouse gas statements
(ภาษาไทย)
– มตช. 14064 เล่ม 1 ข้อกำหนดและข้อแนะนำระดับองค์กรสำหรับการวัดปริมาณและการรายงานผลการปลดปล่อย และลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก
– มตช. 14064 เล่ม 2 ข้อกำหนดและข้อแนะนำในะระดับโครงการสำหรับการวัดปริมาณการติดตามตรวจสอบ และการรายงานการลดการปล่อยหรือการเพิ่มการดูดกลับก๊าซเรือนกระจก
– มตช. 14064 เล่ม 3 ข้อกำหนดและข้อแนะนำสำหรับการตรวจสอบความใช้ได้และการทวนสอบก๊าซเรือนกระจก
2. การประกาศใช้เมื่อ
ISO : ISO 14064-1 on 19 December 2018
ISO : ISO 14064-2 , ISO 14064-3 on 15 April 2019
มตช. : 14064 เล่ม 1 วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ.2562 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 24 มกราคม พ.ศ.2563
มตช. : 14064 เล่ม 2 และ เล่ม 3 วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2564 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ.2564)
3. หน่วยงานเจ้าของมาตรฐาน (ผู้ประกาศใช้)
ISO : International Organization for Standardization (Technical Committee ISO/TC 207, Environmental management)
มตช. : สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
4. ประเภทมาตรฐาน
มตช.14064 / ISO 14064 เป็นมาตรฐานซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติ สามารถนำไปประยุกต์ใช้และขอการทวนสอบได้
5. ขอบเขตและการนำมาตรฐานไปใช้
1) ขอบเขตการนำไปใช้
• มตช. 14064 เล่ม 1 / ISO 14064-1
มาตรฐานนี้ระบุหลักการและข้อกำหนดระดับองค์กรสำหรับการวัดปริมาณและการรายงานผลการปลดปล่อย และลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก รวมถึงข้อกำหนดสำหรับการออกแบบ การพัฒนา การจัดการ การรายงาน และการทวนสอบบัญชีรายการการปลดปล่อย และการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกขององค์กร
• มตช. 14064 เล่ม 2 / ISO 14064-2
มาตรฐานนี้ระบุหลักการ ข้อกำหนด และข้อแนะนำสำหรับการวัดปริมาณกาซเรือนกระจก การติดตามตรวจสอบ และการรายงานกิจกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลดการปล่อยหรือเพิ่มการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกในระดับโครงการ โดยรวมถึงข้อกำหนดสำหรับการวางแผนโครงการ การระบุและเลือกแหลงกำเนิด แหล่งดูดซับ และแหล่งกักเก็บที่เหมาะสมกับโครงการและกรณีฐาน (Baseline Scenario) การติดตามตรวจสอบ การวัดปริมาณ การจัดทำเอกสาร การรายงานผลการดำนินโครงการ และการจัดการคุณภาพข้อมูล ทั้งนี้ กลุ่มมาตรฐาน ISO 14060 เป็นโปรแกรมสำหรับก๊าซเรือนกระจกที่เป็นกลาง หากมีการประยุกต์ใช้โปรแกรมก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ข้อกำหนดของโปรแกรมก๊าซเรือนกระจกนั้นๆ จะเป็นข้อกำหนดเพิ่มเติม
• มตช. 14064 เล่ม 3 / ISO 14064-3
มาตรฐานนี้ระบุหลักการ ข้อกำหนด และข้อแนะนำสำหรับการทวนสอบ และการตรวจสอบความใช้ได้ของถ้อยแถลงปริมาณก๊าซเรือนกระจก ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ได้กับการแสดงปริมาณก๊าซเรือนกระจกขององค์กร โครงการและผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ กลุ่มมาตรฐาน ISO 14060 เป็นโปรแกรมสำหรับก๊าซเรือน ในกรณีที่มีโปรแกรมเกี่ยวกับการลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas programme) ให้ถือว่าโปรแกรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานฉบับนี้
2) องค์กรที่นำไปใช้
• ISO 14064-1 และ ISO 14064-2 (มอก. 14064 เล่ม 1 และ มอก. 14064 เล่ม 2) สามารถประยุกต์ใช้ได้กับองค์กรทุกประเภท และทุกขนาด ที่ประสงค์จะจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization หรือ Corporate Carbon Footprint: CCF) โดยเป็นวิธีการประเภทหนึ่งในการแสดงข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการดำเนินงานขององค์กรอันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแสดงให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบผลสำเร็จดังกล่าว สามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้เพื่อรับรองตนเองหรือรับรองโดยหน่วยรับรอง
• ISO 14064-3 (มอก. 14064 เล่ม 3) สามารถประยุกต์ใช้ได้กับองค์กรที่ทำหน้าที่ดำเนินการ validate และ/หรือ verify ก๊าซเรือนกระจก และสามารถประยุกต์ใช้ได้กับการตรวจวัด การเฝ้าระวัง และ การรายงานปริมาณก๊าซเรือนกระจกขององค์กรหรือโครงการก๊าซเรือนกระจกตาม ISO14064-1 หรือ ISO14064-2
6. สาระสำคัญของมาตรฐาน
ISO 14064-1 / มตช. 14064 เล่ม 1
กล่าวถึงขอบข่าย เอกสารอ้างอิง คำศัพท์และบทนิยาม หลักการ และข้อกำหนดระดับองค์กรระบุไว้ 6 เรื่อง ได้แก่ การกำหนดขอบเขตของบัญชีรายการก๊าซเรือนกระจก จำนวนการปล่อยและการลดก๊าซเรือนกระจก กิจกรรมที่บรรเทาผลกระทบ การจัดการคุณภาพบัญชีรายการก๊าซเรือนกระจก การรายงานเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจก และบทบาทขององค์กรในกิจกรรมการทวนสอบ
ISO 14064-2 / มตช. 14064 เล่ม 2
กล่าวถึงขอบข่าย เอกสารอ้างอิง คำศัพท์และบทนิยาม หลักการ การแนะนำโครงการก๊าซเรือนกระจก และข้อกำหนดสำหรับโครงการเกี่ยวกับการลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกระบุไว้ 13 เรื่อง ได้แก่ 1) ข้อกำหนดทั่วไป 2) การอธิบายโครงการ 3) การระบุแหล่งกำเนิด แหล่งดูดซับ และแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับโครงการ 4) กำหนดข้อมูลฐานก๊าซเรือนกระจก 5) ระบุแหล่งกำเนิด แหล่งดูดซับและแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจกตามสภาวะอ้างอิง 6) การเลือกแหล่งกำเนิด แหล่งดูดซับแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจกสำหรับการติดตามตรวจสอบ หรือการประมาณค่าการปลดปล่อยและการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก 7) การหาปริมาณการปลดปล่อยและ/หรือการกำจัดก๊าซเรือนกระจก 8) การหาปริมาณ ปริมาณการลดและการกำจัดปริมาณก๊าซเรือนกระจก 9) การจัดการคุณภาพข้อมูล 10) การติดตามตรวจสอบโครงการ 11) การจัดทำเอกสารโครงการเกี่ยวกับการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก 12) การตรวจสอบความใช้ได้และ/หรือการทวนสอบโครงการ 13) การรายงานผลโครงการ
ISO 14064-3 / มตช. 14064 เล่ม 3
กล่าวถึงขอบข่าย เอกสารอ้างอิง คำศัพท์และบทนิยาม หลักการ และข้อกำหนดของการตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบระบุไว้ ได้แก่ 1) ข้อกำหนดที่ประยุกต์ใช้ในการทวนสอบและตรวจสอบ 2) การทวนสอบ ที่ต้องมีการวางแผน การดำเนินการ และทำให้สำเร็จ 3) การตรวจสอบ ต้องมีการวางแผน การดำเนินการ และทำให้สำเร็จ 4) การทบทวนที่เป็นอิสระ 5) การประกันความคิดเห็น 6) ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรมการตรวจสอบความใช้ได้หรือการทวนสอบ
7. ประโยชน์จากการจัดทำมาตรฐาน
• ภาคธุรกิจ
– สามารถประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมขององค์กร
– สามารถจำแนกสาเหตุของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีนัยสำคัญและหาแนวทางเพื่อลดขนาดของคาร์บอนฟุตปรินท์
– โครงการที่ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง สามารถนำไปขายเป็นคาร์บอนเครดิต หรือทำการชดเชยคาร์บอนกับองค์กรอื่นๆ
• ภาครัฐ
– ใช้ในการขับเคลื่อนให้เกิดการบริหารจัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร เพื่อประโยชน์โดยรวมของประเทศ
8. แหล่งข้อมูลและเอกสารอ้างอิง
– https://www.iso.org/standard/66453.html
– https://www.iso.org/standard/66454.html
– https://www.iso.org/standard/66455.html
– https://service.tisi.go.th/standard-shop/web/index.php?r=site/view_nac&nac=12
– https://service.tisi.go.th/standard-shop/web/index.php?r=site/view_nac&nac=12
– https://service.tisi.go.th/standard-shop/web/index.php?r=site/view_nac&nac=41
– https://ratchakitcha.soc.go.th/pdfdownload/?id=17116622
– https://ratchakitcha.soc.go.th/pdfdownload/?id=138D142S0000000001300
– https://ratchakitcha.soc.go.th/pdfdownload/?id=138D142S0000000001400

ปรับปรุงข้อมูลเมื่อเดือนกันยายน 2564