Search มาตรฐานและกฎระเบียบ

อุตสาหกรรมพลังงาน

อุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence :AI)

อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงและเคมีชีวภาพ

อุตสาหกรรมสินค้าอุปโภค บริโภค

Substances of Very High Concerns: SVHCs หรือ Candidate List

หน่วยงานจัดการเคมีภัณฑ์ของสหภาพยุโรป (European Chemicals Agency: ECHA) ประกาศรายชื่อสาร SVHCs เพิ่มเติมจากเดิม 163 รายการ เป็น 168 รายการ เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นสารก่อมะเร็ง (Carcinogenic) สารที่มีพิษต่อระบบสืบพันธุ๋ (Toxic to Reproduction) สารพิษตกค้างยาวนาน (Persistent, Bioaccumulative and Toxic: PBT) และสารตกค้างยาวนานและสะสมในสิ่งมีชีวิต (Very Persistent and Vey Bioaccumulative: vPvB)

Product Safety Australia ภายใต้กฎหมายแม่บท Trade Practices Act 1974

มีการจำแนกประเภทของมาตรฐานด้านความปลอดภัยออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทบังคับ (Mandatory safety standards): มีการกำหนดข้อกำหนดขั้นต่ำด้านความปลอดภัย (specifying minimum requirements) เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค นับตั้งแต่สมรรถนะการใช้งานเฉพาะทาง (Particular performance) องค์ประกอบ (Composition) ปริมาณ/ความจุ (Content) วิธีการ/กระบวนการผลิต (Methods of manufacture or processing) การออกแบบ (Design) การก่อสร้าง (Construction) การบรรจุ (Finish or packaging) ประเภทสมัครใจ (Voluntary standards)

Chemicals in Consumer Products (CCP)

พระราชบัญญัติว่าด้วยสารเคมีในสินค้าอุปโภคบริโภค มีวัตถุประสงค์เพื่อ ติดตาม/ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นอันตรายของสารเคมีในสินค้าอุปโภคบริโภค พัฒนากฎหมาย/มาตรฐานบังคับเกี่ยวกับสินค้า โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดโอกาสของการบาดเจ็บ การเจ็บป่วยหรือการเสียชีวิตจากการใช้สินค้า

Import Commodity Clearance (ICC) Certification Mark หรือ ICC Certification Scheme ตามประกาศ The BPS Product Certification Scheme are embodied in the Department Administrative Order (DAO) Number 04: 2008 (The New Rules and Regulations Concerning the Philippine Standard Quality and/ or Safety Certification Mark Scheme of the Bureau of Philippine Standards) และ The DAO 05: 2008 (The New Rules and Regulations Concerning the Issuance of the Import Commodity Clearance under the Product Certification Mark Scheme of the Bureau of Product Standards)

ต้องแจ้งการนำเข้า (Import Commodity Clearance: ICC) ต่อหน่วยงาน Department of Trade and Industry (DTI) หรือ Bureau of Product Standards (BPS) ทุกครั้งที่มีการนำเข้าสินค้า และผู้นำเข้าต้องประทับตราสัญลักษณ์ ICC Mark บนตัวสินค้าหรือบนกล่องบรรจุภัณฑ์อย่างแน่นหนา

Singapore Green Label Scheme (SGLS) ฉลากสิ่งแวดล้อมของสิงคโปร์

สภาสิ่งแวดล้อมสิงคโปร์ (Singapore Environment Council: SEC) ประกาศใช้ “มาตรการฉลากสิ่งแวดล้อมของสิงคโปร์ หรือ Singapore Green Label Scheme (SGLS)” มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริโภคมีความรู้เรื่องการรับรองมาตรฐานสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม และการสนับสนุนการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน รวมถึง เพื่อเป็นการให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตของความต้องการของสินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อม

SINGAPORE CONSUMER PROTECTION (SAFETY REQUIREMENTS) REGISTRATION SCHEME (CPS Scheme)

ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายต้องจดทะเบียนสินค้าตามบัญชีรายการสินค้าควบคุมก่อนการวางจำหน่าย โดย CPS Scheme นี้ เป็นการดำเนินการเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าโดยดูจากเครื่องหมายด้านความปลอดภัย หรือ Safety Mark

Korea Eco-Label

เป็นมาตรการประเภทสมัครใจ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการภาคการผลิตให้มีการดำเนินการผลิตสินค้าทีเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้มีการแจ้งข้อมูลสินค้าด้านสิ่งแวดล้อมแก่สาธารณชน และเพื่อให้ผู้อุปโภคบริโภคได้รับข้อมูลที่จำเป็นและเพียงพอต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม+สินค้าอุตสาหกรรม

QUALITY MANAGEMENT AND SAFETY CONTROL OF INDUSTRIAL PRODUCTS ACT, Act No. 6315

โดยการดำเนินการตาม Quality Management & Safety Control of Industrial Products Act ต้องดูกฎหมาย Industrial Standardization Act (มาตรา 19) ประกอบด้วยในส่วนของความปลอดภัยของสินค้า และสินค้าต้องมีใบรับรองความปลอดภัย หรือ Safety Certification

Household Goods Quality Labeling Act (Act No. 104 of May 4, 1962)

กฎหมายเกี่ยวกับการติดแสดงฉลากคุณภาพของสินค้าที่ใช้ภายในครัวเรือน วัตถุประสงค์ของกฎหมาย Household Goods Quality Labeling Law เพื่อให้ผู้ซื้อสินค้าสามารถเข้าใจในคุณภาพสินค้าที่เลือกซื้อ หรือสามารถทำการใช้งานสินค้านั้นๆ ได้อย่างถูกต้อง โดยรายละเอียดในฉลากต้องเป็น “ภาษาญี่ปุ่น”

Consumer Product Safety Act (Law number: Act No. 31 of 1973, Amendment Act No. 117 of November 2007)

กฎหมายกำหนดนิยาม Consumer Product คือ สินค้าที่มีการใช้เพื่ออุปโภคบริโภคประจำวัน (Any product to be supplied mainly for use by general consumers for their routine everyday activities) โดยมีการยกเว้นสินค้าบางรายการที่ไม่ได้อยู่ในขอบข่ายของกฎหมายฉบับนี้ แสดงไว้ในตารางแนบท้ายของกฎหมาย