กรณีตัวอย่าง ISO 9001 : กรณีตัวอย่างที่ 6 (การผลิตสิ่งทอ)

1. ข้อมูลทั่วไป
บริษัทฯ เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2543 ในธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตสิ่งทอและตัดเย็บเสื้อผ้า โดยมีพนักงานประมาณ 600 คน ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าต่างประเทศกว่าร้อยละ 95 ซึ่งกระบวนการทำงานของบริษัทมีหลายส่วน ได้แก่

  • การทอเส้นด้ายสำหรับการทอผ้าผืน ซึ่งใช้เทคโนโลยีจากยุโรปและญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็น TRUTZSCHLER, CROSROL, RIETER, SAVIO, TOYODA, MURATA มีความสามารถในการผลิต (Production Capacity) ถึง 1.2 ล้านปอนด์ต่อเดือน
  • การทอผ้าผืน ประเภทของผลิตภัณฑ์ ได้แก่ Spandex, Jacquard, Transfer, Ottoman, Pique, Single, Double, Rib, Interlock, Terry Loop และ French Terry ความสามารถในการผลิตได้ 600 ตันต่อเดือน
  • การย้อมผ้า มีหลายรูปแบบ ได้แก่ Anti Bacteria, Bio Wash, Flame Retardent, UV Protection, Regular Brush, Peach Brush, Soften touch และ Brighten Color ความสามารถในการผลิตได้ 600 ตันต่อเดือน
  • การตัดเย็บเสื้อผ้าสำร็จรูป เช่น กางเกงบ๊อกเซอร์ ชุดนอน ชุดออกกำลังกาย เสื้อผ้าเด็ก เป็นต้น

2. วิสัยทัศน์และกลยุทธ์หลัก
บริษัทได้กำหนดวิสัยทัศน์การดำเนินงานเชิงคุณภาพคือ “คุณภาพของผลิตภัณฑ์สำคัญต่อลูกค้าและองค์กร” และมีกลยุทธ์หลักเน้นที่คุณภาพทั้งด้านสินค้าและการให้บริการ ดังคำกล่าวที่ว่า “ยอมเสียเงินแต่ไม่ยอมเสียชื่อเสียง” โดยมุ่งมั่นให้บริการที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า การขนส่งที่ตรงเวลา และสินค้าคุณภาพดี เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า รวมถึงการให้บริการตามที่ลูกค้าต้องการ ทั้งนี้ พนักงานได้มีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมาย และผลักดันการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย โดยใช้กลไกให้มีการตรวจสอบฝ่ายอื่นที่ต้องทำงานประสานเชื่อมโยงกัน ซึ่งเป็นการควบคุมคุณภาพของการทำงานได้อีกทางหนึ่ง

3. การพัฒนาระบบ ISO 9001 มาใช้ในองค์กร
บริษัทต้องการปรับปรุงการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาในองค์กร เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาด จึงตัดสินใจนำระบบ ISO 9001 มาใช้ตั้งแต่ในช่วงปี 2543 และใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมเพื่อขอการรับรองประมาณ 1 ปี โดยมีการประชุมเพื่อแจ้งข่าวสารและสร้างความเข้าใจแก่พนักงาน ซึ่งก่อนการจัดทำระบบ บริษัทมีปัญหาการทำความเข้าใจรายละเอียดของข้อกำหนด และได้ให้ที่ปรึกษาเข้ามาให้คำแนะนำ โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 12,000 บาท แต่ไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนของการอบรมพนักงาน บริษัทได้รับการรับรอง ISO 9001: 2000 เมื่อเดือนสิงหาคม 2544 โดยมีค่าใช้จ่ายในการขอการรับรอง 120,000 บาท

4. ผลที่เกิดขึ้นหลังการจัดทำระบบ ISO 9001
บริษัทได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการจัดทำระบบ ISO 9001 โดยได้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำการจัดทำระบบตามมาตรฐานสากล (Training Led by Consultancy: TLC) ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และหลังจากได้รับการรับรองระบบ ISO 9001 บริษัทได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวมถึงช่วยลดปัญหาในด้านการจัดเก็บเอกสารไม่เป็นระบบ ปัญหาด้านการผลิต และปัญหาด้านข้อร้องเรียนและความพึงพอใจของลูกค้า รวมถึงยังมีผลกระทบในด้านอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1) ด้านการเงิน
การนำระบบ ISO 9001 มาใช้ในบริษัทมีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานด้านการเงินไม่ชัดเจนนัก ในเรื่องการเพิ่มขึ้นของรายได้จากกลุ่มลูกค้าเก่า ลูกค้าใหม่ และสินค้ารูปแบบใหม่ โดยมีผลกระทบค่อนข้างน้อยต่อการบริหารต้นทุนและการขยายกิจการ ทั้งนี้ การนำ ISO 9001 มาประยุกต์ใช้ ไม่ได้ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตจากเดิมมาก แต่ส่งผลให้การจัดทำเอกสารเพื่อรองรับการปฏิบัติงานให้ชัดเจน และสื่อสารสร้างความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงาน บริษัทยังต้องรักษาคุณภาพของสินค้าและการให้บริการอย่างสม่ำเสมอตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวมีผลกระทบโดยอ้อมต่อประสิทธิผลในการดำเนินงานด้านการเงินของบริษัท

2) ด้านลูกค้า
ระบบ ISO 9001 ได้ให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นอย่างมาก โดยองค์กรต้องมีการปรับตัวและสร้างความเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้า มีการพัฒนาองค์กรให้เกินความคาดหมายของลูกค้า สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าอย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น และสามารถรักษาลูกค้าและมีการแนะนำต่อ ๆ กันไป

บริษัทมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องกับการดูแลลูกค้าหลายหน่วยงานและได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานเฉพาะสำหรับลูกค้าที่เกี่ยวข้อง โดยการประยุกต์ใช้ ISO 9001 ทำให้บริษัทมีการปรับปรุงในกระบวนการบริหารลูกค้า มีความชัดเจนในขั้นตอนการทบทวนความต้องการของลูกค้า มีกระบวนการทำงานร่วมกับลูกค้า และสามารถติดตามความก้าวหน้าในขั้นตอนการผลิตและตรวจสอบความบกพร่องของการผลิตมีความเป็นระบบยิ่งขึ้น ส่งผลให้บริษัทสามารถผลิตได้ตรงกับความต้องการและลูกค้ามีความพึงพอใจ

การดำเนินงานโดยนำระบบ ISO 9001 มาใช้ในองค์กร บริษัทมีความเห็นว่าเกิดความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นมาในหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความสามารถในการรักษาลูกค้าเดิม การสื่อสารข้อมูลข่าวสารต่างๆกับลูกค้า และการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า นอกจากนี้ ยังส่งผลให้การเปลี่ยน-คืนสินค้าและจำนวนข้อร้องเรียนของลูกค้าลดลง ส่วนประเด็นอื่นๆ มีผลกระทบอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ภาพลักษณ์ของบริษัทและคุณภาพสินค้า ความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า การส่งมอบสินค้าให้ตรงตามเวลา ความสามารถในการแก้ไขข้อร้องเรียนของลูกค้า และสินค้าชำรุดระหว่างการจัดส่ง

3) ด้านกระบวนการจัดการภายใน
ในส่วนของกระบวนการผลิตมีการวางแผนการดำเนินงาน วิเคราะห์หาสาเหตุ การแก้ไขป้องกัน โดยจัดทำเป็นคู่มือการดำเนินงานและกำหนดหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องไว้ชัดเจน และมีการฝึกอบรมทั้งในระดับหัวหน้างานและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการให้มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการผลิตเพื่อให้สามารถทำงานได้ถูกต้อง ทำให้ลดระยะเวลาและปัญหาความผิดพลาดในการทำงาน

นอกจากนี้ในการดำเนินงานตามระบบ ISO 9001 การแก้ไขปรับปรุงกระบวนการต่างๆ ในการทำงาน ได้ใช้ข้อมูลจากการติดตามภายในของบริษัทและการเฝ้าระวังปัญหาที่อาจเกิดขึ้น การรายงานผล การจัดทีมทำการเก็บข้อมูล และนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์เพื่อหาทางแก้ไขหรือใช้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและวางแนวทางแก้ไข ซึ่งส่งผลให้พนักงานมีการยอมรับร่วมกันในการแก้ไขปัญหา และเกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดให้ต้องมีการทบทวนทุกๆ 3 เดือน เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้งาน และแต่ละแผนกต้องสรุปผลการดำเนินกิจกรรมและรายงานผลทุกสิ้นปี

4) การเรียนรู้และพัฒนา
การนำระบบ ISO 9001 มาใช้ในบริษัท ช่วยให้บริษัทและบุคลากรมีความชัดเจนในการทำงานและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้อย่างชัดเจน รวมถึงช่วยให้บุคลากรได้รับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สอดคล้องกับภาระงานที่ได้รับ ซึ่งในการทำงานนั้นได้พบข้อผิดพลาดจากการทำงานลดลง และผลที่สำคัญคือ ทำให้พนักงานได้พัฒนาศักยภาพในการวิเคราะห์หาสาเหตุของข้อผิดพลาดและปรับปรุงแก้ไขได้ และได้เรียนรู้จากการร่วมทำงานและแสดงความเห็นในกลุ่มทำงาน สำหรับด้านระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงานนั้น บริษัทยังไม่ได้ใช้เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และผลิตสินค้า แต่โดยทั่วไปได้ใช้เพื่อสนับสนุนการบริหารงานของบริษัทซึ่งทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ในระดับที่พอใจ

5. ปัญหาอุปสรรค
ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการจัดทำระบบ ISO 9001 ที่สำคัญคือ การจัดทำเอกสารให้สอดคล้องและครบถ้วนตามข้อกำหนด และปัญหารองลงมา คือ ปัญหาการได้รับความร่วมมือของพนักงานในองค์กร การขาดบุคลากรที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง การจัดการเอกสาร และการปรับเปลี่ยนระบบการปฏิบัติงานตามข้อกำหนด โดยบริษัทต้องให้ความรู้ สร้างความเข้าใจและจูงใจให้พนักงานเห็นประโยชน์ของการพัฒนาระบบบริหารตามมาตรฐาน ISO 9001 รวมทั้งผู้บริหารได้แสดงให้พนักงานได้ทราบถึงความมุ่งมั่นในการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย

6. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
ตัวแทนบริษัทมีความเห็นว่ามาตรฐานระบบ ISO 9001 มีความจำเป็นต่อการบริหารงานขององค์กร เพราะเป็นมาตรฐานที่เน้นการพัฒนาระบบการจัดการในองค์กร และสามารถทำให้บริษัททราบถึงระบบบริหารงานบริษัทว่ามีความบกพร่องในส่วนใด สำหรับภาครัฐ ควรให้การสนับสนุนและชี้ให้ผู้ประกอบการเห็นถึงความแตกต่างระหว่างองค์กรที่ได้ทำระบบและไม่ได้ทำระบบ และมีความเห็นว่าการให้การยอมรับระหว่างมาตรฐานต่างๆ ยังมีน้อย จึงทำให้มาตรฐานระบบการจัดการถูกมองว่าเป็นข้อกำหนดที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการกีดกันทางการค้า

1. ข้อมูลทั่วไป
บริษัทฯ เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2543 ในธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตสิ่งทอและตัดเย็บเสื้อผ้า โดยมีพนักงานประมาณ 600 คน ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้าต่างประเทศกว่าร้อยละ 95 ซึ่งกระบวนการทำงานของบริษัทมีหลายส่วน ได้แก่

  • การทอเส้นด้ายสำหรับการทอผ้าผืน ซึ่งใช้เทคโนโลยีจากยุโรปและญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็น TRUTZSCHLER, CROSROL, RIETER, SAVIO, TOYODA, MURATA มีความสามารถในการผลิต (Production Capacity) ถึง 1.2 ล้านปอนด์ต่อเดือน
  • การทอผ้าผืน ประเภทของผลิตภัณฑ์ ได้แก่ Spandex, Jacquard, Transfer, Ottoman, Pique, Single, Double, Rib, Interlock, Terry Loop และ French Terry ความสามารถในการผลิตได้ 600 ตันต่อเดือน
  • การย้อมผ้า มีหลายรูปแบบ ได้แก่ Anti Bacteria, Bio Wash, Flame Retardent, UV Protection, Regular Brush, Peach Brush, Soften touch และ Brighten Color ความสามารถในการผลิตได้ 600 ตันต่อเดือน
  • การตัดเย็บเสื้อผ้าสำร็จรูป เช่น กางเกงบ๊อกเซอร์ ชุดนอน ชุดออกกำลังกาย เสื้อผ้าเด็ก เป็นต้น

2. วิสัยทัศน์และกลยุทธ์หลัก
บริษัทได้กำหนดวิสัยทัศน์การดำเนินงานเชิงคุณภาพคือ “คุณภาพของผลิตภัณฑ์สำคัญต่อลูกค้าและองค์กร” และมีกลยุทธ์หลักเน้นที่คุณภาพทั้งด้านสินค้าและการให้บริการ ดังคำกล่าวที่ว่า “ยอมเสียเงินแต่ไม่ยอมเสียชื่อเสียง” โดยมุ่งมั่นให้บริการที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า การขนส่งที่ตรงเวลา และสินค้าคุณภาพดี เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า รวมถึงการให้บริการตามที่ลูกค้าต้องการ ทั้งนี้ พนักงานได้มีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมาย และผลักดันการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย โดยใช้กลไกให้มีการตรวจสอบฝ่ายอื่นที่ต้องทำงานประสานเชื่อมโยงกัน ซึ่งเป็นการควบคุมคุณภาพของการทำงานได้อีกทางหนึ่ง

3. การพัฒนาระบบ ISO 9001 มาใช้ในองค์กร
บริษัทต้องการปรับปรุงการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาในองค์กร เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาด จึงตัดสินใจนำระบบ ISO 9001 มาใช้ตั้งแต่ในช่วงปี 2543 และใช้เวลาในการเตรียมความพร้อมเพื่อขอการรับรองประมาณ 1 ปี โดยมีการประชุมเพื่อแจ้งข่าวสารและสร้างความเข้าใจแก่พนักงาน ซึ่งก่อนการจัดทำระบบ บริษัทมีปัญหาการทำความเข้าใจรายละเอียดของข้อกำหนด และได้ให้ที่ปรึกษาเข้ามาให้คำแนะนำ โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 12,000 บาท แต่ไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนของการอบรมพนักงาน บริษัทได้รับการรับรอง ISO 9001: 2000 เมื่อเดือนสิงหาคม 2544 โดยมีค่าใช้จ่ายในการขอการรับรอง 120,000 บาท

4. ผลที่เกิดขึ้นหลังการจัดทำระบบ ISO 9001
บริษัทได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการจัดทำระบบ ISO 9001 โดยได้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำการจัดทำระบบตามมาตรฐานสากล (Training Led by Consultancy: TLC) ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และหลังจากได้รับการรับรองระบบ ISO 9001 บริษัทได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวมถึงช่วยลดปัญหาในด้านการจัดเก็บเอกสารไม่เป็นระบบ ปัญหาด้านการผลิต และปัญหาด้านข้อร้องเรียนและความพึงพอใจของลูกค้า รวมถึงยังมีผลกระทบในด้านอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1) ด้านการเงิน
การนำระบบ ISO 9001 มาใช้ในบริษัทมีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานด้านการเงินไม่ชัดเจนนัก ในเรื่องการเพิ่มขึ้นของรายได้จากกลุ่มลูกค้าเก่า ลูกค้าใหม่ และสินค้ารูปแบบใหม่ โดยมีผลกระทบค่อนข้างน้อยต่อการบริหารต้นทุนและการขยายกิจการ ทั้งนี้ การนำ ISO 9001 มาประยุกต์ใช้ ไม่ได้ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตจากเดิมมาก แต่ส่งผลให้การจัดทำเอกสารเพื่อรองรับการปฏิบัติงานให้ชัดเจน และสื่อสารสร้างความเข้าใจกับผู้ปฏิบัติงาน บริษัทยังต้องรักษาคุณภาพของสินค้าและการให้บริการอย่างสม่ำเสมอตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวมีผลกระทบโดยอ้อมต่อประสิทธิผลในการดำเนินงานด้านการเงินของบริษัท

2) ด้านลูกค้า
ระบบ ISO 9001 ได้ให้ความสำคัญกับลูกค้าเป็นอย่างมาก โดยองค์กรต้องมีการปรับตัวและสร้างความเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้า มีการพัฒนาองค์กรให้เกินความคาดหมายของลูกค้า สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าอย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น และสามารถรักษาลูกค้าและมีการแนะนำต่อ ๆ กันไป

บริษัทมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องกับการดูแลลูกค้าหลายหน่วยงานและได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานเฉพาะสำหรับลูกค้าที่เกี่ยวข้อง โดยการประยุกต์ใช้ ISO 9001 ทำให้บริษัทมีการปรับปรุงในกระบวนการบริหารลูกค้า มีความชัดเจนในขั้นตอนการทบทวนความต้องการของลูกค้า มีกระบวนการทำงานร่วมกับลูกค้า และสามารถติดตามความก้าวหน้าในขั้นตอนการผลิตและตรวจสอบความบกพร่องของการผลิตมีความเป็นระบบยิ่งขึ้น ส่งผลให้บริษัทสามารถผลิตได้ตรงกับความต้องการและลูกค้ามีความพึงพอใจ

การดำเนินงานโดยนำระบบ ISO 9001 มาใช้ในองค์กร บริษัทมีความเห็นว่าเกิดความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นมาในหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความสามารถในการรักษาลูกค้าเดิม การสื่อสารข้อมูลข่าวสารต่างๆกับลูกค้า และการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า นอกจากนี้ ยังส่งผลให้การเปลี่ยน-คืนสินค้าและจำนวนข้อร้องเรียนของลูกค้าลดลง ส่วนประเด็นอื่นๆ มีผลกระทบอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ภาพลักษณ์ของบริษัทและคุณภาพสินค้า ความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า การส่งมอบสินค้าให้ตรงตามเวลา ความสามารถในการแก้ไขข้อร้องเรียนของลูกค้า และสินค้าชำรุดระหว่างการจัดส่ง

3) ด้านกระบวนการจัดการภายใน
ในส่วนของกระบวนการผลิตมีการวางแผนการดำเนินงาน วิเคราะห์หาสาเหตุ การแก้ไขป้องกัน โดยจัดทำเป็นคู่มือการดำเนินงานและกำหนดหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องไว้ชัดเจน และมีการฝึกอบรมทั้งในระดับหัวหน้างานและเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการให้มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการผลิตเพื่อให้สามารถทำงานได้ถูกต้อง ทำให้ลดระยะเวลาและปัญหาความผิดพลาดในการทำงาน

นอกจากนี้ในการดำเนินงานตามระบบ ISO 9001 การแก้ไขปรับปรุงกระบวนการต่างๆ ในการทำงาน ได้ใช้ข้อมูลจากการติดตามภายในของบริษัทและการเฝ้าระวังปัญหาที่อาจเกิดขึ้น การรายงานผล การจัดทีมทำการเก็บข้อมูล และนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์เพื่อหาทางแก้ไขหรือใช้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและวางแนวทางแก้ไข ซึ่งส่งผลให้พนักงานมีการยอมรับร่วมกันในการแก้ไขปัญหา และเกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดให้ต้องมีการทบทวนทุกๆ 3 เดือน เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมในการใช้งาน และแต่ละแผนกต้องสรุปผลการดำเนินกิจกรรมและรายงานผลทุกสิ้นปี

4) การเรียนรู้และพัฒนา
การนำระบบ ISO 9001 มาใช้ในบริษัท ช่วยให้บริษัทและบุคลากรมีความชัดเจนในการทำงานและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้อย่างชัดเจน รวมถึงช่วยให้บุคลากรได้รับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้สอดคล้องกับภาระงานที่ได้รับ ซึ่งในการทำงานนั้นได้พบข้อผิดพลาดจากการทำงานลดลง และผลที่สำคัญคือ ทำให้พนักงานได้พัฒนาศักยภาพในการวิเคราะห์หาสาเหตุของข้อผิดพลาดและปรับปรุงแก้ไขได้ และได้เรียนรู้จากการร่วมทำงานและแสดงความเห็นในกลุ่มทำงาน สำหรับด้านระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงานนั้น บริษัทยังไม่ได้ใช้เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และผลิตสินค้า แต่โดยทั่วไปได้ใช้เพื่อสนับสนุนการบริหารงานของบริษัทซึ่งทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ในระดับที่พอใจ

5. ปัญหาอุปสรรค
ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นระหว่างการจัดทำระบบ ISO 9001 ที่สำคัญคือ การจัดทำเอกสารให้สอดคล้องและครบถ้วนตามข้อกำหนด และปัญหารองลงมา คือ ปัญหาการได้รับความร่วมมือของพนักงานในองค์กร การขาดบุคลากรที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง การจัดการเอกสาร และการปรับเปลี่ยนระบบการปฏิบัติงานตามข้อกำหนด โดยบริษัทต้องให้ความรู้ สร้างความเข้าใจและจูงใจให้พนักงานเห็นประโยชน์ของการพัฒนาระบบบริหารตามมาตรฐาน ISO 9001 รวมทั้งผู้บริหารได้แสดงให้พนักงานได้ทราบถึงความมุ่งมั่นในการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย

6. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
ตัวแทนบริษัทมีความเห็นว่ามาตรฐานระบบ ISO 9001 มีความจำเป็นต่อการบริหารงานขององค์กร เพราะเป็นมาตรฐานที่เน้นการพัฒนาระบบการจัดการในองค์กร และสามารถทำให้บริษัททราบถึงระบบบริหารงานบริษัทว่ามีความบกพร่องในส่วนใด สำหรับภาครัฐ ควรให้การสนับสนุนและชี้ให้ผู้ประกอบการเห็นถึงความแตกต่างระหว่างองค์กรที่ได้ทำระบบและไม่ได้ทำระบบ และมีความเห็นว่าการให้การยอมรับระหว่างมาตรฐานต่างๆ ยังมีน้อย จึงทำให้มาตรฐานระบบการจัดการถูกมองว่าเป็นข้อกำหนดที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการกีดกันทางการค้า