ร่วมกันลดโลกร้อนเนื่องในโอกาสวันสิ่งแวดล้อมโลก 2567

Share

“การฟื้นฟูแผ่นดิน  สภาวะดินเสื่อมโทรมจากภัยแล้งจนแปรสภาพเป็นทะเลทราย และความยืดหยุ่นต่อภัยแล้ง” (Land Restoration, Desertification & Drought Resilience) เป็นประเด็นหลักในการรณรงค์วันสิ่งแวดล้อมโลกในปี 2567 ซึ่งมีความเชื่อมโยงโดยตรงกับทศวรรษแห่งการฟื้นฟูระบบนิเวศขององค์สหประชาชาติระหว่างปี 2564-2573 (ค.ศ. 2021-2030) ภายใต้คำขวัญที่ว่า “แผ่นดินของเรา อนาคตของพวกเรา เราคือ #GenerationRestoration” โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมได้ให้ความหมายไว้ว่า “พลิกฟื้นผืนดิน สู้วิกฤตภัยแล้ง” (จากคำขวัญชนะการประกวดในประเทศไทย)

เบื้องหลังของคำว่า “พลิกฟื้นผืนดิน สู้วิกฤตภัยแล้ง” นั้น จะเห็นได้ว่าโลกกำลังเผชิญวิกฤตทั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และวิกฤตมลพิษและของเสีย ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจำเป็นต้องปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องและส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น คน พืช สัตว์ ในทุกมิติ ก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงและกว้างขวางต่อทุกภาคส่วนของสังคม

ดังนั้น การปรับตัวต่อภัยแล้ง รวมถึงการฟื้นฟูที่ดิน จึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้ชุมชนและสังคมสามารถรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

จากวิกฤตดังกล่าว ทำให้มนุษยชาติต้องร่วมกันเร่งฟื้นฟูระบบนิเวศเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อนุรักษ์พันธุ์สัตว์จากการสูญพันธุ์ และรักษาอนาคตของเราไว้ เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงเกือบครึ่งหนึ่งภายในปี 2573 เพื่อรักษาภาวะโลกร้อนให้ต่ำกว่า 2°C และหลีกเลี่ยงผลกระทบที่อันตรายที่สุด และเราไม่สามารถบรรลุเป้าหมายนั้นได้หากไม่ฟื้นฟูระบบนิเวศและแหล่งกักเก็บคาร์บอน ซึ่งในการฟื้นฟูระบบนิเวศและการลดคาร์บอนโดยมีเป้าหมายขั้นสูงสุดนั้นต้องอาศัยความร่วมมือกันทั้งในระดับประเทศและระดับระหว่างประเทศ

หากทำการหยุดยั้งและฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของผืนดินและมหาสมุทร เราจะป้องกันการสูญเสียสัตว์ใกล้สูญพันธุ์กว่า 1 ล้านชนิด นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าการฟื้นฟูระบบนิเวศตามลำดับความสำคัญของพื้นที่เพียงร้อยละ 15 สามารถลดการสูญพันธุ์ลงได้ถึงร้อยละ 60 ด้วยการปรับปรุงแหล่งที่อยู่อาศัย

การฟื้นฟูเป็นกุญแจสำคัญสู่ความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน ระบบนิเวศที่มีชีวิตสามารถให้ประโยชน์จากอาหารและน้ำซึ่งดีต่อสุขภาพและความมั่นคงของประชากรโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับรายงานใหม่ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติและองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติที่เน้นย้ำถึงความเร่งด่วนในการฟื้นฟูโลก และผลลัพธ์ที่ดีที่จะตามมาหากมนุษยชาติร่วมมือกันดำเนินการตามพันธสัญญาที่ให้ไว้

สำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมและองค์กรที่สนใจนำมาตรฐานไปใช้เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน มีมาตรฐานหลายฉบับที่ส่งเสริมการดำเนินงานของท่านเพื่อความยั่งยืน เช่น ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001, ระบบการจัดการพลังงาน ISO 50001,  มาตรฐานการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (มอก.14061-1), ISO 14068-1 – Climate change management – Transition to net zeroคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร(CFO) ตามมาตรฐาน ISO 14064-1 – Greenhouse gases Part 1: Specification with guidance at the organization level for quantification and reporting of greenhouse gas emissions and removals, ISO 14064-2 – Greenhouse gases Part 2: Specification with guidance at the project level for quantification, monitoring and reporting of greenhouse gas emission reductions or removal enhancements, T-VER โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย, คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) ตามมาตรฐาน ISO 14067 – Greenhouse gases – Carbon footprint of products – Requirements and guidelines for quantification, IWA 42: 2022 Net zero guidelines,  มตช.2 เล่ม 2 – ข้อกําหนดระบบการจัดการเศรษฐกิจหมุนเวียนสําหรับองค์กร เล่ม 2, มตช.9 – ข้อกำหนดการตรวจสอบย้อนกลับการรีไซเคิลพลาสติกและการประเมินความสอดคล้องและส่วนผสมรีไซเคิล, มตช.10 – ข้อกำหนดการจัดการเพื่อมุ่งสู่การฝังกลบกากอุตสาหกรรมเป็นศูนย์ ฯลฯ

มาตรฐานดังกล่าวสามารถนำไปปรับใช้ในองค์กรของท่านได้ และหากสนใจองค์ความรู้หรือบริการทวนสอบด้านความยั่งยืนของ MASCI สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายทวนสอบด้านความยั่งยืน โทรศัพท์ 026171723 – 36  หรือ Email: VVD@masci.or.th 

ที่มา:

1. https://www.mnre.go.th/th/news/detail/185360
2. https://www.unep.org/events/un-day/world-environment-day-2024

 498 ผู้เข้าชมทั้งหมด