ไอเอสโอก้าวทันอนาคต รุกพัฒนามาตรฐานใหม่

Share

2.1 TECHNOLOGY TRENDS AND INTERNATIONAL STANDARDSในประวัติศาสตร์ เราได้เห็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมหลายครั้ง แต่ละครั้งได้เปลี่ยนแปลงตลาดแรงงานไปเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการพัฒนาและยกระดับการผลิตอย่างต่อเนื่องด้วยการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ ทุกวันนี้ เทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังมาบรรจบกัน ทำให้เกิดความก้าวหน้าที่รวดเร็วยิ่งขึ้น และการเปลี่ยนแปลงลักษณะการทำงานที่ส่งผลกระทบมากขึ้น ในอนาคต การทำงานต่างๆ จะพึ่งพาระบบอัตโนมัติมากขึ้นในขณะที่เทคโนโลยีดิจิทัลและการเปลี่ยนแปลงของสังคมทำให้เราต้องเปลี่ยนวิธีการและสถานที่ทำงานของเราไปจากเดิม  ดังนั้น ไม่ใช่แค่คำจำกัดความของคำว่า “กำลังคน” จะเปลี่ยนไปเท่านั้น แต่สิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานด้านทรัพยากรบุคคลทำจะเปลี่ยนจากการเน้นที่ “แรงงาน” ไปเป็น “ทุนมนุษย์” ด้วย

อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นแนวโน้มที่สังเกตเห็นได้ชัดและมีการศึกษามาเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ความก้าวหน้าในเอไอหรือปัญญาประดิษฐ์  Smart manufacturing และ “หุ่นยนต์” ทำให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลมากกว่าคนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลมหาศาลต่อภาพรวมของการจ้างงานทั่วโลก โดยผลการศึกษาบางส่วนคาดการณ์ว่าในระดับโลกนั้น  ระบบอัตโนมัติสามารถกำจัดงานที่มีอยู่ออกไปราว 9% และทำให้เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงราวหนึ่งในสามส่วนของงานในอีก 15 ถึง 20 ปีข้างหน้า

สิ่งที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรมนี้แตกต่างจากที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้คือ ความเร็วที่เกิดขึ้น ตามที่พอจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนกระทั่งจำเป็นต้องมีการกำกับดูแลอย่างรอบคอบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ในขณะที่การศึกษาจำนวนมากมุ่งเน้นไปที่การทำงานที่อาจสูญเสียงานไปเพราะระบบอัตโนมัติ แต่สิ่งสำคัญคือต้องระลึกถึงไว้ก็คือ อย่างน้อยที่สุดในระยะยาว ระบบอัตโนมัติจะส่งผลให้เกิดการสร้างงานที่สำคัญโดยจะมีการสร้างงานรูปแบบใหม่ โดยมนุษย์ไม่จำเป็นจะต้องทำงานที่ไม่ปลอดภัย น่าเบื่อ และซ้ำซากอีกต่อไป แต่ยังสามารถเพิ่มผลิตภาพและทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความยืดหยุ่นและมีเวลาพักผ่อนมากกว่าในอดีตอีกด้วย  งานใหม่เหล่านี้มีแนวโน้มว่าจะต้องใช้ทักษะทางเทคนิคในระดับสูงและทักษะทางสังคมและความคิดสร้างสรรค์มากกว่างานที่จะหายไป

พลิกโฉมการทำงาน

ในขณะที่ระบบอัตโนมัติกำลังเปลี่ยนงานประเภทต่าง ๆ ไป เทคโนโลยีใหม่ๆ และความกดดันทางสังคมก็กำลังเปลี่ยนวัฒนธรรมในที่ทำงานและวิธีการทำงานของเราเช่นกัน เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นสามารถทำงานจากระยะไกลและมีตารางเวลาที่ยืดหยุ่นมากขึ้น แนวโน้มนี้ไม่ได้เริ่มต้นจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 แต่การระบาดใหญ่เป็นตัวเร่งให้เกิดมากขึ้นโดยส่งผลให้มีคนทำงานจากระยะไกลและใช้การประชุมทางวิดีโอและการประชุมเสมือนเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมากควบคู่ไปกับการเดินทางเพื่อธุรกิจที่ลดลงเป็นอย่างมาก รวมทั้งการใช้พื้นที่สำนักงานทางกายภาพก็ลดลงด้วย

การสำรวจแสดงให้เห็นว่าแนวโน้มเหล่านี้สอดคล้องกับความต้องการของคนเจนวายส่วนใหญ่ คือ 92% ต้องการทำงานทางไกล และ 87% ต้องการทำงานตามกำหนดเวลา ซึ่งช่วยให้ผู้คนสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและการใช้ชีวิตที่บ้านได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีผลเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ ผู้ปฏิบัติงานบางคนอาจประสบกับความเครียดที่มีระดับเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเชื่อมต่อและผูกติดอยู่กับงานอย่างต่อเนื่องในขณะที่คนอื่น ๆ อาจเลิกทำงานและมีประสิทธิผลน้อยลงเนื่องจากสูญเสียการเชื่อมต่อทางกายภาพกับเพื่อนร่วมงานและพื้นที่ทำงานเฉพาะ  ดังนั้น องค์กรจึงเผชิญกับความท้าทายเป็นสองเท่าของการลงทุนในเทคโนโลยีที่จำเป็นเพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไฮบริดหรือระยะไกลเพื่อดึงดูดและรักษาผู้มีความสามารถที่ดีที่สุดไว้ในขณะที่ยังคงพัฒนากลยุทธ์เพื่อต่อสู้กับความเครียดที่เพิ่มขึ้นของพนักงานหรือความรู้สึกที่แตกแยกออกจากงานอย่างไม่มีชิ้นดี และการลาออกของพนักงาน

พร้อมก้าวสู่อนาคนด้วยมาตรฐานใหม่

ไอเอสโอมีการติดตามและการคาดการณ์อนาคตอยู่เสมอ จึงได้พัฒนามาตรฐานขึ้นมาจำนวนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับระบบอัตโนมัติและการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของผู้คน เช่น ISO/TR 23087, Automation systems and integration — The Big Picture of standards, ISO 29994, Education and learning services — Requirements for distance learning, ISO/AWI TR 29996, Education and learning services – Distance and digital learning services (DDLS) – Case studies (อยู่ระหว่างการพัฒนา) และ ISO/TS 15006, Robots and  and robotic devices —  Collaborative robots เป็นต้น

ทั้งนี้ ไอเอสโอได้แต่งตั้งคณะกรรมการวิชาการขึ้นมาหลายคณะเพื่อพัฒนามาตรฐานดังกล่าว ได้แก่  ISO/TC 232, Education and learning services (เผยแพร่มาตรฐานไปแล้ว 6 ฉบับ และอยู่ระหว่างพัฒนามาตรฐานใหม่อีก 3 ฉบับ), ISO/TC 299, Robotics (เผยแพร่มาตรฐานไปแล้ว 26 ฉบับ และอยู่ระหว่างพัฒนามาตรฐานใหม่อีก 10 ฉบับ), ISO/TC 260, Human Resource Management (เผยแพร่มาตรฐานไปแล้ว 26 ฉบับ และอยู่ระหว่างพัฒนามาตรฐานใหม่อีก 8 ฉบับ), ISO/TC 159/SC 1, General ergonomics principles (เผยแพร่มาตรฐานไปแล้ว 8 ฉบับ และอยู่ระหว่างพัฒนามาตรฐานใหม่อีก 1 ฉบับ),  ISO/TC 283, Occupational health and safety management (เผยแพร่มาตรฐานไปแล้ว 3 ฉบับ และอยู่ระหว่างพัฒนามาตรฐานใหม่อีก 3 ฉบับ) และ ISO/TC 292, Security and resilience (เผยแพร่มาตรฐานไปแล้ว 45 ฉบับ  และอยู่ระหว่างพัฒนามาตรฐานใหม่อีก 24 ฉบับ)

สิ่งที่ธุรกิจองค์กรควรนึกถึงอยู่เสมอคือการเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงกับความเป็นไปของโลกไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่การเมือง ในเมื่อเรามีโอกาสในการคิดใหม่ทำใหม่ผ่านการเปลี่ยนแปลงและการดิสรัพท์ของเทคโนโลยีแล้ว  อย่าลืมที่จะนำมาตรฐานไอเอสโอมาเป็นเครื่องมือสนับสนุนให้องค์กรสามารถข้ามผ่านอุปสรรคและพร้อมรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นอยู่เสมอด้วย เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

ที่มา: https://www.iso.org/foresight/the-changing-nature-of-work

 724 ผู้เข้าชมทั้งหมด