ไอเอสโอต่อยอดงานวิจัย พร้อมรับมือน้ำทะเลสูงขึ้น

Share

3.1 GLOBAL CLIMATE ADAPTATION STANDARDSประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ปัจจุบัน กระแสน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นยังเป็นภัยคุกคามชุมชนชายฝั่งทะเลหลายแห่งด้วย ไอเอสโอตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้และมองเห็นประโยชน์ของการมีข้อมูลเชิงลึก จึงได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟท์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อศึกษาวิจัยและระบุมาตรการการปรับตัวต่อสภาพอากาศซึ่งจะเป็นข้อมูลสำคัญในการพัฒนามาตรฐานเพื่อต่อยอดงานวิจัยในการตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลทั่วโลกได้

มาตรการปรับตัวดังกล่าวครอบคลุมหลายด้าน ตั้งแต่การแก้ปัญหาตามธรรมชาติไปจนถึงการทำเขื่อนและระบบระบายน้ำ การศึกษาวิจัยนี้จะมีส่วนร่วมกับชุมชนชายฝั่งที่หลากหลาย รวมถึงชุมชนที่เปราะบางหลายแห่งที่อาจถูกมองข้ามด้วย

นักวิจัยของงานดังกล่าว ได้แก่ ฟิลิปโป กริลโล และมาร์ไทน์ เวียร์ดา ได้เล่าให้ผู้สื่อข่าววารสารไอเอสโอฟังว่าการวิจัยจะผ่านขั้นตอนหลายอย่างในปี 2566  โดยจะเริ่มต้นจากการพิจารณามาตรการปรับตัวที่อาจเกิดขึ้นกับการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยจะพิจารณาสร้างสิ่งนี้ร่วมกับมาตรฐานที่มีอยู่ซึ่งเกี่ยวข้องกับมาตรการเหล่านั้น และจากการพิจารณาจากทั่วโลกก็จะพยายามทำความเข้าใจด้วยเรื่องใดเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุดและมีความเกี่ยวข้องในระดับโลก สิ่งนี้เป็นกระบวนการในวงกว้าง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากนักวิจัยเชิงวิชาการอย่างศาสตราจารย์เฮงเคียเดอฟรีส์ และ ดร.นีลค์ ดอร์น แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเดลฟท์

พวกเขาอธิบายถึงความสำคัญของแนวทางในการพิจารณาอย่างรอบคอบในระดับโลกว่าแม้ว่าระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจะส่งผลกระทบต่อชุมชนชายฝั่งเกือบทั้งหมด แต่ชุมชนกลับได้รับผลกระทบอย่างไม่เท่าเทียมกัน ยิ่งไปกว่านั้น ความต้องการและความสามารถก็ไม่เหมือนกันด้วย การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลจึงกระตุ้นให้ทีมนักวิจัยต้องทำความเข้าใจในบริบทที่มีลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น เศรษฐกิจ สังคม สถาบัน รวมทั้งสภาพทางภูมิศาสตร์  วิธีการพิจารณาอย่างรอบคอบของทีมนักวิจัยหมายความว่าไม่เพียงแต่จะเกี่ยวข้องกับผู้เชี่ยวชาญทั่วไปเท่านั้น แต่ยังพยายามรวมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่นเข้ามาด้วย  ประสบการณ์เหล่านั้นจะช่วยส่งเสริมให้ให้พิจารณาถึงบริบทของปัญหาและมาตรการที่จำเป็น

แม้ว่าทีมงานวิจัยจะไม่ได้เข้าร่วมการประชุม COP 27 แต่งานวิจัยดังกล่าวก็สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ SDG ขององค์การสหประชาชาติ และโครงการของสำนักงานความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (UNDRR) และธนาคารโลกซึ่งเป็นการส่งเสริมความคิดริเริ่มด้านการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศในแง่ที่มีการเชื่อมโยงมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อระบุแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันในการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ และกระตุ้นให้เกิดการสนับสนุนในภาพรวม

นอกจากนี้ ทีมงานวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงและระบบเตือนภัยที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศเป็นสิ่งที่จำเป็นซึ่งจะนำไปพิจารณาจัดทำเป็นกฎเกณฑ์และมาตรฐานเพื่อการปรับตัวของสภาพภูมิอากาศที่ทั่วโลกให้การสนับสนุนด้วย

การมีข้อมูลเชิงลึกจากการศึกษาวิจัยจะทำให้สามารถรวบรวมความรู้ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจาย สามารถสร้างเครือข่ายอันทรงพลัง และสร้างการมีส่วนร่วมให้กับหน่วยงานมาตรฐานระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ซึ่งทำให้ไอเอสโอสามารถพัฒนามาตรฐานที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างครอบคลุม

สำหรับตัวอย่างมาตรฐานด้านสภาพภูมิอากาศที่ไอเอสโอได้พัฒนาขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้ว เช่น ISO 14091, Adaptation to climate change – Guidelines on vulnerability, impacts and risk assessment ซึ่งอธิบายวิธีทำความเข้าใจองค์กรและวิธีการพัฒนาและดำเนินการประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสมในบริบทของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สามารถใช้ในการประเมินความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในปัจจุบันและอนาคต  ISO/TS 14092Adaptation to climate change – Requirements and guidance on adaptation planning for local governments and communities ซึ่งสนับสนุนรัฐบาลท้องถิ่นและชุมชนให้สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยพิจารณาจากความเปราะบาง ผลกระทบ และการประเมินความเสี่ยงในการทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสนับสนุนการจัดลำดับความสำคัญ การพัฒนาและปรับปรุงแผนการปรับตัวในภายหลัง เป็นต้น

ที่มา: 1. https://www.iso.org/contents/news/2022/11/iso-researches-sea-level-rise.html
2. https://www.iso.org/news/ref2625.html

 669 ผู้เข้าชมทั้งหมด