มตช. 9-2565

1. ชื่อมาตรฐาน
ภาษาไทย : การตรวจสอบย้อนกลับการรีไซเคิลพลาสติกและการประเมินความสอดคล้องและส่วนผสม รีไซเคิล-ข้อกำหนด
2. การประกาศใช้
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 29 กันยายน 2565
3. หน่วยงานเจ้าของมาตรฐาน
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
4. ประเภทมาตรฐาน
มาตรฐานนี้เป็นข้อกำหนดซึ่งสามารถใช้ประเมินความสอดคล้อง สามารถการตรวจสอบและรับรองได้ องค์กรที่ต้องการแสดงให้เห็นถึงความสอดคลองตามมาตรฐานนี้สามารถทำโดย
– พิจารณาด้วยตนเองและประกาศตนเอง (self-declaration)
– ใหการยืนยันความสอดคล้องโดยหน่วยงานซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับองค์กร เช่น ลูกค้า
– ใหการรับรอง โดยหน่วยงานภายนอกองค์กร (third party)
5. ขอบเขตและการนำมาตรฐานไปใช้
มาตรฐานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้สำหรับองค์กรที่ต้องการมีขั้นตอนและข้อมูลที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับการรีไซเคิลพลาสติก สำหรับผู้ผลิตเรซินและพลาสติกที่มีส่วนผสมจากพลาสติกรีไซเคิลหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหน่วยงานด้านกฎระเบียบ หน่วยรับรอง และหน่วยงานอื่นๆ สามารถนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบและรับรอง โดยไม่คำนึงถึงสถานที่ตั้ง และขนาด
6. ประโยชน์ของการนำมาตรฐานไปใช้
• สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยสามารถตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลได้
• ลดการใช้วัตถุดิบใหม่ และค่าใช้จ่ายด้านวัตถุดิบขององค์กร
• สร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการใช้งานแล้ว ที่สามารถนำกับมาใช้ประโยชน์ได้อีก
• ลดจำนวนขยะพลาสติกที่ต้องนำไปกำจัด
7. สาระสำคัญของมาตรฐาน
มาตรฐานนี้ระบุข้อกำหนดสำหรับขั้นตอนและข้อมูลที่จำเป็นเพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับการรีไซเคิลพลาสติก ทั้งการผลิตเรซินรีไซเคิลที่เป้นกระบวนการทางกล (Mechanical process) และการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลครอบคลุมตั้งแต่การรับวัสดุพลาสติกรีไซเคิล จนเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลเพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งที่มาของส่วนผสมของวัสดุพลาสติกรีไซเคิล รวมถึงมีข้อมูลสำหรับการคำนวณและประเมินส่วนผสมพลาสติกรีไซเคิล ขอบข่ายของมาตรฐาน ดังภาพที่ 1

ภาพที่ 1 ขอบข่ายมาตรฐาน

มาตรฐานนี้ ประกอบด้วย ส่วนที่เป็นข้อกำหนดทั่วไป คือ บทนำ และ ข้อ 1 – ข้อ 3 และส่วนที่เป็นข้อกำหนดสำหรับนำไปปฏิบัติ คือ ข้อ 4 – ข้อ 15 ดังนี้
บทนำ
1. ขอบข่าย
2. มาตรฐานอ้างอิง : ไม่มี
3. ศัพท์และนิยามศัพท์ : มีจำนวน 19 ข้อ
4. การจัดการ กล่าวถึง
– การกำหนดบทบาท ความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่ สำหรับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
– การจัดให้บุคลากรมีความรู้ความสามารถ สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามที่มอบหมายและสอดคล้องกับมาตรฐานนี้ และเก็บรักษาเอกสารสารสนเทศที่เหมาะสม
– การมีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น
– การจัดทำและควบคุมเอกสารสารสนเทศที่กำหนดโดยมาตรฐานนี้ และเอกสารที่องค์กรพิจารณาแล้วว่าจำเป็นสำหรับองค์กร
5. การควบคุมการรับเข้าวัสดุพลาสติกรีไซเคิล กล่าวถึง
– รูปแบบและเกณฑ์สำหรับวัสดุพลาสติกรีไซเคิลที่รับเข้า
– การได้รับข้อมูลที่จำเป็นต่อการระบุและตรวจสอบประเภทของวัสดุรีไซเคิลจากผู้ส่งมอบทุกครั้ง
– การระบุและดำเนินกิจกรรมที่จำเป็นต่อการตรวจสอบวัสดุพลาสติกรีไซเคิลเพื่อให้มั่นใจว่าสอดคล้องกับเกณฑ์และข้อมูลการส่งมอบที่ระบุไว้
– วัสดุพลาสติกรีไซเคิลต้องได้รับตรวจวัดปริมาณจากเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรง น่าเชื่อถือ และทวนสอบได้ และบันทึกผล
– องค์กรต้องเก็บรักษาเอกสารสานเทศสำหรับการส่งมอบ
6. การจัดเก็บวัสดุพลาสติกรีไซเคิล กล่าวถึง
– การกำหนดวิธีในการจัดเก็บวัสดุพลาสติกรีไซเคิล
– การกำหนดขั้นตอนกรปฏิบัติงาน
– การกำหนดการตรวจสอบการจัดเก็บในพื้นที่ เพื่อให้ปริมาณของวัสดุพลาสติกรีไซเคิลที่แสดงในระบบคลังสินค้าและในพื้นที่ที่ถูกต้อง
7. ผู้รับช่วง กล่าวถึง
– การกำหนดวิธีการคัดเลือกและการควบคุมผู้รับช่วง
– การจัดทำเอกสารสารสนเทศที่จำเป็น
8. กระบวนการรีไซเคิล กล่าวถึง
– การจัดให้มีข้อมูลพื้นฐานของกระบวนการรีไซเคิลตามที่สามารถประยุกต์ใช้ได้
– การวางแผนและดำเนินการผลิต ภายใต้เงื่อนที่มีการควบคุม
– การจัดทำเอกสารสารสนเทศที่จำเป็น
– การวิเคราะห์ข้อมูล
9. การตรวจสอบคุณภาพระหว่างการผลิตและผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิล กล่าวถึง
– การตรวจสอบคุณภาพ
– การระบุข้อมูลสำหรับการคำนวณส่วนผสมรีไซเคิล และองค์ประกอบที่จำเป็น
10. การจัดเก็บผลิตภัณฑ์ กล่าวถึง
– การกำหนดวิธีการในการจัดเก็บผลิตภัณฑ์รีไซเคิล
– การกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพื่อควบคุมข้อมูลการจัดเก็บ และการนำออกผลิตภัณฑ์พลาสติกในพื้นที่จัดเก็บ
– การกำหนดการตรวจสอบการจัดเก็บในพื้นที่
– การจัดเก็บเอกสารสารสนเทศที่เหมาะสม
11. การบรรจุและการขนส่งผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิล กล่าวถึง
– การกำหนดขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อการขนส่งผลิตภัณฑ์พลาสติกไปยังหน่วยงานอื่นๆ
– การกำหนดวิธีการในการชี้บ่ง แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการขนส่ง บรรจุภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่ได้นำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ และสามารถสอบกลับได้
12. การจัดการผลลัพธ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด กล่าวถึง
– การจัดการผลลัพธ์ที่ไม่สอดคล้องต่อข้อกำหนดต้องถูกชี้บ่ง และถูกควบคุมเพื่อป้องกันการนำไปใช้ที่ไม่เจตนาหรือถูกส่งมอบ
– การดำเนินกิจกรรมอย่างเพียงพอเหมาะสม บนพื้นฐานลักษณะธรรมชาติของความไม่สอดคล้อง และผลกระทบต่อความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์ และการตรวจสอบผลลัพธ์ที่ไม่สอดคล้องและได้รับการแก้ไขแล้ว
– การจัดเก็บเอกสารสารสนเทศ
13. การขาย กล่าวถึง
– การจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดส่งสินค้าผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลที่มีการอ้างสิทธิ์ทั้งหมดที่ได้จำหน่าย หรือที่มีการขนย้าย
14. กฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง
– การนำไปปฏิบัติและรักษาไว้ซึ่งกระบวนการสำหรับการระบุ เข้าถึง และประเมินกฎหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ
– การนำข้อกำหนดที่เป็นกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ถูกนำมาใช้ในการดำเนินการและรักษาไว้
– การติดตามการเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย
– การจัดเก็บเอกสารสารสนเทศ
15. สิ่งแวดล้อม กล่าวถึง
– การกำจัดของเสียที่อยู่ในรูปของแข็ง
– การกักเก็บและบำบัดน้ำฝนที่ไหลผ่านพื้นที่
– การสูญเสียเรซินและของเสีย
– การปนเปื้อนต่อสิ่งแวดล้อม
8. แหล่งข้อมูลอ้างอิง
– https://ratchakitcha.soc.go.th/pdfdownload/?id=139D232S0000000002700
– https://service.tisi.go.th/license/web/index.php?r=site%2Fviewnac&ifdr=68
– https://psmplasitech.com/tcas9-recycle-plastic-standard/

ปรับปรุงข้อมูล เดือน กุมภาพันธ์ 2566