ทำความรู้จัก “คาร์บอน” และ “ก๊าซเรือนกระจก”

Share

ไอเอสโอได้นำเสนอบทความเรื่อง “The Greenhouse Effect: Counting Gases and Why It Matters” โดยกล่าวถึงความหมาย ความสำคัญ และที่มาของก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีหลายประเด็นที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

  1. สิ่งมีชีวิตไม่อาจขาด “คาร์บอน” แต่ คาร์บอน ก็ส่งผลต่อภาวะโลกร้อน
    เมื่อพูดถึง “คาร์บอน” เราอาจมีความรู้สึกหลายอย่างปะปนกันไป ในด้านหนึ่ง สิ่งมีชีวิตบนโลกไม่สามารถอยู่ได้โดยปราศจากคาร์บอน เนื่องจากคาร์บอนมีความสามารถในการสร้างพันธะกับอะตอมอื่น ๆ ได้อย่างง่ายดาย ทำให้มีความยืดหยุ่นในรูปแบบและหน้าที่ที่ชีวโมเลกุลสามารถรับได้เช่นดีเอ็นเอ และอาร์เอ็นเอซึ่งจำเป็นต่อการกำหนดลักษณะพิเศษของสิ่งมีชีวิตอย่างการเจริญเติบโตและการจำลองแบบ แต่ในอีกด้านหนึ่ง คาร์บอนมีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอันเป็นผลมาจากการที่คาร์บอนเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ผลิตได้มากที่สุดและกักเก็บความร้อนไว้ในชั้นบรรยากาศซึ่งเรียกว่าปรากฏการณ์เรือนกระจก และทำให้โลกอุ่นขึ้นจนถึงระดับที่ทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลกสามารถมีชีวิตอยู่ได้ หากไม่มีคาร์บอน โลกของเราก็จะกลายเป็นสถานที่เยือกแข็งและไม่สามารถอยู่อาศัยได้
  2. ไม่โทษ “คาร์บอน” อย่างเดียว
    ความสมดุลอันละเอียดอ่อนของชีวิตบนโลกของเราขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ซับซ้อนมากมาย ตั้งแต่ภูเขาไฟระเบิดและไฟป่า ไปจนถึงการตัดไม้ทำลายป่าและเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งวัฏจักรคาร์บอนก็ได้รับผลกระทบจากธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ด้วย เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างมากมายเพื่อเป็นพลังงานนั้น ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกจากคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดอุณหภูมิที่สูงขึ้นและเปลี่ยนแปลงระบบภูมิอากาศของโลกจนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง
  3. ที่มาของปรากฏการณ์เรือนกระจก
    เมื่อดวงอาทิตย์แผ่พลังงานออกไป ส่วนหนึ่งถูกโลกดูดซับไว้ และส่วนที่เหลือก็สะท้อนกลับสู่อวกาศ อย่างไรก็ตาม ก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศของโลกก็กักเก็บพลังงานที่สะท้อนบางส่วนไว้ด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้หลุดออกไปในห้วงอวกาศโดยสิ้นเชิง ดังนั้น จึงมีส่วนทำให้โลกของเราร้อนขึ้น กระบวนการอุ่นขึ้นตามธรรมชาตินี้สามารถสังเกตได้บนโลกและบนดาวเคราะห์ดวงอื่นภายในระบบสุริยะของเราซึ่งเป็นคำจำกัดความอย่างง่ายของปรากฏการณ์เรือนกระจก แล้วอะไรทำให้เกิดปรากฏการณ์นี้

ผลกระทบของก๊าซเรือนกระจกเกิดจากก๊าซบางชนิดที่เรียกว่าก๊าซเรือนกระจก โมเลกุลของก๊าซเรือนกระจกดูดซับและปล่อยรังสีความร้อนออกมา เช่นเดียวกับส้อมเสียง (Tuning fork คือ ส้อมโลหะแบบสองง่ามที่ใช้เป็นเครื่องสะท้อนเสียงได้ มีไว้เพื่อปรับแต่งเสียงเครื่องดนตรี) ที่ดูดซับและส่งคลื่นเสียงที่ปรับตามความถี่ของมัน  และโมเลกุลของก๊าซเรือนกระจกก็ปล่อยรังสีความร้อนบางส่วนกลับสู่พื้นผิวโลกอันมีส่วนในการสะสมความร้อน

ก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่แล้วถือเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ก๊าซเรือนกระจกมีการดักจับความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่สะท้อนจากพื้นผิวโลก เป็นเวลากว่าหมื่นปีแล้วที่มนุษยชาติวิวัฒนาการจากการเป็นคนเก็บของป่าล่าสัตว์ไปสู่การทำอาชีพเกษตรกรรมและการเป็นอารยธรรมเมือง แต่ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศก็ยังคงค่อนข้างคงที่โดยช่วยรักษาอุณหภูมิพื้นผิวโลกให้อยู่ในระดับที่อบอุ่น

  1. ตัวอย่างหลักของก๊าซเรือนกระจก
    ก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกมีหลายรูปแบบ ตัวอย่างหลักของก๊าซเรือนกระจกมีดังต่อไปนี้
    คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) คิดเป็นเกือบ 80 % ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากมนุษย์ทั่วโลก CO2 สามารถคงอยู่ได้ระยะหนึ่ง บางส่วนถูกดูดซับอย่างรวดเร็ว แต่บางส่วนจะยังคงอยู่ในชั้นบรรยากาศนับพันปี
  • มีเทน (CH4) ยังคงอยู่ในชั้นบรรยากาศประมาณ 12 ปี ซึ่งใช้เวลาน้อยกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ แต่มีศักยภาพมากกว่ามากในแง่ของปรากฏการณ์เรือนกระจก
  • ไนตรัสออกไซด์ (N2O) เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ทรงพลัง มีศักยภาพในการทำให้โลกร้อนขึ้นได้ประมาณ 270 เท่าของ CO2 ในระยะเวลา 100 ปี และโดยเฉลี่ยจะคงอยู่ในชั้นบรรยากาศนานกว่าหนึ่งศตวรรษเล็กน้อย
  • ก๊าซฟลูออริเนต ก๊าซฟลูออริเนทที่ถูกปล่อยออกมาจากกระบวนการผลิตและอุตสาหกรรมต่างๆ นั้นเกิดจากฝีมือมนุษย์ และมี 4 ประเภทหลัก ได้แก่ ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs), เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs), ซัลเฟอร์เฮกซาฟลูออไรด์ (SF6) และไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF3)
  • ไอน้ำ (H2O) เป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีมากที่สุด ไอน้ำแตกต่างจากก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ตรงที่การเปลี่ยนแปลงของความเข้มข้นในบรรยากาศไม่ได้เชื่อมโยงกับกิจกรรมของมนุษย์โดยตรง แต่เชื่อมโยงกับภาวะโลกร้อนที่เกิดจากก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ที่เราปล่อยออกมา

หากมีการเพิ่มความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศก็เท่ากับว่าเกิดการขยายผลกระทบจากภาวะเรือนกระจกตามธรรมชาติบนโลกซึ่งเป็นการเร่งให้เกิดภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น  ดังนั้น ในการหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่คาดเดาไม่ได้  มนุษยชาติจึงจำเป็นต้องเร่งดำเนินการอย่างรวดเร็ว ประสานและดำเนินกลยุทธ์อย่างครอบคลุมเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการเปลี่ยนแปลงสู่การดำรงชีวิตที่ยั่งยืนทั่วโลก โดยมีเครื่องมือสำคัญสำหรับการดำเนินการอย่างมีข้อมูลคือการตรวจสอบอุณหภูมิของโลกและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างระมัดระวัง ซึ่งธุรกิจและองค์กรสามารถมีส่วนร่วมในเรื่องนี้ได้ด้วยการดำเนินการที่เชื่อถือได้โดยนำมาตรฐานการทวนสอบคาร์บอนฟุตพริ้นทร์ขององค์กรไปใช้ เช่น ISO 14064-1, Greenhouse gases, Part 1: Specification with guidance at the organization level for quantification and reporting of greenhouse gas emissions and removals เป็นต้น

 

สำหรับท่านที่สนใจความรู้หรือบริการทวนสอบด้านความยั่งยืน  สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายทวนสอบด้านความยั่งยืน โทรศัพท์ 026171723 – 36  หรือ Email: VVD@masci.or.th  

ที่มา:

1. https://www.iso.org/climate-change/greenhouse-effect
2.
https://www.futurelearn.com/info/courses/the-biology-of-bugs-brains-and-beasts/0/steps/68848

 421 ผู้เข้าชมทั้งหมด