บทเรียนจากดาวศุกร์กับการลดภาวะโลกร้อน

Share

จากบทความเรื่อง ทำความรู้จัก “คาร์บอน” และ “ก๊าซเรือนกระจก” ได้กล่าวถึงเรื่องของคาร์บอนและก๊าซเรือนกระจกซึ่งก๊าซเรือนกระจกมีการปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศโลกสูงสุดเกือบ 80% และส่งผลต่อการเกิดภาวะโลกร้อน ทุกภาคส่วนจึงจำเป็นต้องมีการดำเนินการในทุกด้านเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน สำหรับบทความนี้ ขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจกที่น่าสนใจจากไอเอสโอมานำเสนอเกี่ยวกับเหตุผลว่าทำไมผู้คนทั่วโลกต้องร่วมกันทำอะไรบางอย่างเพื่อสร้างจุดเปลี่ยนไปสู่การแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศอย่างแท้จริง ดังต่อไปนี้

รถที่ร้อนกลางแดด กับภาวะโลกร้อน
ตัวอย่างของปรากฏการณ์เรือนกระจกที่ทำให้เรามองเห็นภาพได้ชัดขึ้นคือ รถยนต์ที่จอดอยู่กลางแดดนั้น ดวงอาทิตย์ทำให้รถยนต์อุ่นขึ้น และดวงอาทิตย์ทำให้เรือนกระจกอุ่นขึ้น แสงที่มองเห็นทะลุผ่านกระจกและทำให้วัตถุภายในอุ่นขึ้น วัตถุเหล่านี้จะดูดซับแสงแล้วแผ่กลับไปยังแสงอินฟราเรดในอากาศเพื่อเป็นช่องทางในการปลดปล่อยพลังงาน แสงอินฟราเรดซึ่งสัมผัสได้ว่าเป็นความร้อน มีความยาวคลื่นยาวเกินกว่าจะผ่านกระจกกลับเข้าไปติดอยู่ภายในรถยนต์หรือเรือนกระจกได้ ปรากฏการณ์นี้เรียกว่ารังสีอินฟราเรด จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมรถถึงร้อนเมื่อเรานั่งรถที่อยู่กลางแดด

คำถามคือ ภาวะเรือนกระจกเป็นผลดีต่อเราในฐานะมนุษย์หรือไม่  คำตอบคือ โรงเรือนทำงานได้ดีในการเป็นที่อยู่อาศัยที่ดีสำหรับการปลูกพืช เนื่องจากปล่อยให้แสงที่มองเห็นเข้ามาแต่กักความร้อนที่ตกค้างไว้ แต่ถ้ามีการกักเก็บความร้อนมากเกินไปก็อาจเป็นอันตรายได้  ตัวอย่างที่สำคัญที่สุดก็คือคือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกนั่นเอง

ปรากฏการณ์เรือนกระจกที่ควบคุมไม่ได้คืออะไร
เราสามารถเรียนรู้ได้มากมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากดาวศุกร์ซึ่งเป็นดาวเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุดของโลก ปัจจุบันดาวศุกร์มีอุณหภูมิพื้นผิว 450 องศาเซลเซียส (องค์การนาซ่ากล่าวไว้ว่ามันร้อนพอที่จะเปลี่ยนเป็นของเหลวได้) และมีบรรยากาศที่เต็มไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 96% ซึ่งทำให้กลายเป็นไฟนรกได้ แต่ก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป จริงๆ แล้ว เป็นไปได้ว่า ครั้งหนึ่ง ดาวศุกร์อาจมีสภาพอากาศเหมือนโลกของเรา

แล้วเกิดอะไรขึ้นบนดาวศุกร์ เมื่อหลายพันล้านปีก่อน ภาวะเรือนกระจกที่ควบคุมไม่ได้ทำให้น้ำผิวดินทั้งหมดกลายเป็นไอ จากนั้นก็รั่วไหลออกสู่อวกาศอย่างช้าๆ สิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อดาวเคราะห์ดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์มากกว่าที่จะแผ่กลับไปยังอวกาศได้  แล้วสถานการณ์นี้อาจเกิดขึ้นบนโลกได้หรือไม่ นักวิทยาศาสตร์บางคนกล่าวว่าแม้แต่การเผาทรัพยากรเชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งหมดของโลกก็ไม่จำเป็นต้องนำเราไปสู่การล่มสลายของสภาพภูมิอากาศ การศึกษาว่าเหตุใดสภาพอากาศของดาวศุกร์จึงเป็นไปในทิศทางที่แตกต่างออกไปในเรื่องความสามารถในการอยู่อาศัย เราสามารถเรียนรู้บทเรียนอันมีค่าเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และหลีกเลี่ยงการไปถึงจุดที่ไม่สามารถหวนกลับได้

พูดง่ายๆ ก็คือ “จุดเปลี่ยน” ในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีความหมายเหมือนกับกระดานหก เช่นเดียวกับน้ำหนักเพียงเล็กน้อยที่สามารถพลิกกระดานหกและทำให้ยากต่อการกลับสู่ตำแหน่งเดิม ในระบบภูมิอากาศ จุดเปลี่ยนแสดงถึงระดับวิกฤติ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และมักจะไม่สามารถย้อนกลับได้ในรูปแบบสภาพอากาศ เมื่อข้ามจุดเหล่านี้แล้ว มันสามารถทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ โดยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น ตัวอย่างเช่น การละลายชั้นดินเยือกแข็งถาวรจะปล่อยก๊าซมีเทน และไฟป่าจะทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น เป็นต้น

ไนโตรเจนไม่ใช่ก๊าซเรือนกระจก แต่สามารถส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศได้
เนื่องจากไนโตรเจนไม่สามารถดูดซับความร้อนและส่งผลให้เกิดภาวะเรือนกระจกได้ แต่ ไนโตรเจนส่วนเกินในสิ่งแวดล้อมในรูปแบบปฏิกิริยาซึ่งมาจากการใช้ปุ๋ยสังเคราะห์ การปล่อยน้ำเสีย หรือการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล สามารถก่อให้เกิดมลพิษต่อผืนดิน น้ำ และอากาศได้ สารประกอบที่เกิดขึ้นเมื่อไนโตรเจนทำปฏิกิริยากับสารอื่นๆ เช่น ไนตรัสออกไซด์ จะทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงรุนแรงขึ้น

มาตรฐานสากลช่วยโลกของเราได้
ปัจจุบัน ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา ในการหลีกเลี่ยงและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ให้รุนแรงไปกว่าเดิม รัฐบาล องค์กร และทุกภาคส่วนทั่วโลกสามารถสนับสนุนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ด้วยการนำมาตรฐานไอเอสโอไปใช้งาน รวมไปถึงภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถปรับนโยบายเพื่อส่งเสริมระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น และส่งเสริมระบบการจัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะที่ปัจเจกบุคคลก็สามารถปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิถีชีวิตเพื่อดูแลรักษาโลกและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นได้เช่นกัน

ไอเอสโอมีมาตรฐานสากลหลายฉบับที่องค์กรสามารถนำไปใช้เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้  ยกตัวอย่างเช่น

ก๊าซเรือนกระจกที่เราปล่อยออกมาในวันนี้จะยังคงส่งผลกระทบต่อเราและลูกหลานของเราต่อไปในอนาคตตราบนานเท่านาน มาร่วมกันดูแลโลกของเราให้ดีขึ้นด้วยการนำมาตรฐานสากลและแนวปฏิบัติที่ดีไปใช้เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ รวมทั้งลดปัญหาภาวะโลกร้อน

สำหรับท่านที่สนใจความรู้หรือบริการทวนสอบด้านความยั่งยืน  รวมทั้ง CORSIA และ T-VER สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายทวนสอบด้านความยั่งยืน โทรศัพท์ 026171723 – 36  หรือ Email: VVD@masci.or.th

ที่มา: https://www.iso.org/climate-change/greenhouse-effect

 1,623 ผู้เข้าชมทั้งหมด