มอก.17065-2556 / ISO/IEC 17065:2012

1.ชื่อมาตรฐาน
(ภาษาไทย) มอก.17065-2556 การตรวจสอบและรับรอง – ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับหน่วยรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์
(ภาษาอังกฤษ) ISO/IEC 17065: 2012 Conformity assessment — Requirements for Bodies Certifying Products, Processes and Services

2.การประกาศใช้
มอก.: วันที่ 5 ตุลาคม 2553
ISO/IEC : 10 September 2012

3.หน่วยงานเจ้าของมาตรฐาน (ผู้ประกาศใช้)
มอก. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
ISO/IEC: International Organization for Standardization (ISO) และ International Electrotechnical Commission (IEC)

4.ประเภทของมาตรฐาน
มอก.5065 และ ISO/IEC 17065 เป็นมาตรฐานสำหรับหน่วยรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ สามารถขอการรับรองจากหน่วยรับรองระบบงาน (Accreditation Body) ที่ให้บริการได้

5.ขอบเขตและการนำมาตรฐานไปใช้
มาตรฐาน ISO/IEC 17065 ข้อกำหนดทั่วไปสำหรับหน่วยรับรองผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ กระบวนการ และบริการ โดยสามารถใช้ได้กับหน่วยรับรองทั้งภาครัฐ และเอกชน

6. สาระสำคัญของมาตรฐาน
ข้อกำหนดที่ต้องดำเนินการ ประกอบด้วย

ข้อ 1 ขอบข่าย
ข้อ 2 เอกสารอ้างอิง
ข้อ 3 ศัพท์และบทนิยาม
ข้อ 4 ข้อกำหนดทั่วไป (กฎหมายและสัญญา การจัดการความเป็นกลาง ความรับผิดและการเงิน เงื่อนไขการไม่เลือกปฏิบัติ การรักษาความลับ ข้อมูลที่มีไว้ให้แก่สาธารณะชน)
ข้อ 5 ข้อกำหนดด้านโครงสร้าง (โครงสร้างองค์กรและผู้บริหารระดับสูง คณะกรรมการเพื่อความเป็นกลาง)
ข้อ 6 ข้อกำหนดด้านทรัพยากร (บุคลากรของหน่วยรับรอง ทรัพยากรในการประเมินผล)
ข้อ 7 ข้อกำหนดด้านกระบวนการ (ข้อกำหนดทั่วไป การรับคำขอ การทบทวนคำขอ การประเมินผล การทบทวนผล การตัดสินการรับรอง เอกสารการรับรอง บัญชีรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง การตรวจติดตามผล การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการรับรอง การยุติ ลดขอบข่าย พักใช้หรือเพิกถอนการรับรอง บันทึก ข้อร้องเรียนและอุทธรณ์)
ข้อ 8 ข้อกำหนดด้านการบริหารงานสำหรับหน่วยรับรอง ทางเลือก ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 ระบบบริหารงานทั่วไป (เอกสารระบบการบริหารงานทั่วไป การควบคุมเอกสาร การควบคุมบันทึก การทบทวนของฝ่ายบริหาร การตรวจประเมินภายใน การปฏิบัติการแก้ไข การปฏิบัติการป้องกัน) ทางเลือกที่ 2 ระบบบริหารงานตาม ISO 9001

7.ประโยชน์ที่ได้รับจากนำมาตรฐานไปใช้

แสดงถึงความน่าเชื่อถือของหน่วยรับรองว่ามีการจัดการองค์กร ขั้นตอนการดำเนินงาน และบุคลากร เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานสากล
สร้างความมั่นใจให้กับระบบการตรวจประเมินและรับรองเกี่ยวกับความรู้ ความสามารถของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรับรอง และความเป็นกลางในการรับรอง

8. แหล่งอ้างอิงและเอกสารอ้างอิง

http://www.iso.org/iso/home/store/catalogue_tc/catalogue_detail.htm?csnumber=46568
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/061/10.PDF
http://www.dld.go.th/certify/th/images/stories/BLSC/standard%20farm/law/s_f_9/4.pdf

ปรับปรุงข้อมูลเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555