AS 9100 : 2016 (Revision D)

1. ชื่อมาตรฐาน
(ภาษาอังกฤษ) Quality Systems – Aerospace – Model for Quality Assurance in Design, Development, Production, Installation and Servicing
(ภาษาไทย) ระบบคุณภาพ – สำหรับอุตสาหกรรมการบินและอากาศยาน – แบบจำลองสำหรับการประกันคุณภาพในการออกแบบ การพัฒนา การผลิต การติดตั้ง และการบริการ

2. การประกาศใช้
20/09/2016

3. หน่วยงานเจ้าของมาตรฐาน
The International Aerospace Quality Group (IAQG)

4. ประเภทมาตรฐาน
AS 9100 : 2016 (Revision D) เป็นมาตรฐานระบบการจัดการสามารถขอการรับรองได้

5. ขอบเขตและการนำมาตรฐานไปใช้
ระบบคุณภาพ AS 9100 : 2016 (Revision D) สามารถนำไปใช้ในหลากหลายกิจกรรมตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ในอุตสาหกรรมการบินและอากาศยาน รวมถึงการออกแบบและการผลิต อุปกรณ์ต่าง ๆ การจัดหาชิ้นส่วนอากาศยาน การปฏิบัติการของ ท่าอากาศยานและสายการบิน ชิ้นส่วนทดแทน การจัดหาและ การบำรุงรักษา ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ (overhaul) การปฏิบัติการ การบิน (flight operation) และการขนส่งสินค้า (cargo handling)

6. สาระสำคัญของมาตรฐาน
มาตรฐาน AS 9100 : 2016 (Revision D) เน้นที่ความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ การป้องกันชิ้นส่วน ปลอมแปลง การจัดการความเสี่ยง การสร้างการรับรู้ การจัดการที่ชัดเจน และการแก้ไขปัญหาตามความต้องการของลูกค้า การวางแผนและการสร้างผลิตภัณฑ์ การให้บริการหลังการส่งมอบ เป็นต้น โดยสอดแทรกรายละเอียดไว้ในแต่ละข้อกำหนด
AS 9100 เป็นมาตรฐานที่จัดทำขึ้นโดยอาศัยพื้นฐานของข้อกำหนด ISO 9001 โดยเพิ่มข้อกำหนดสำหรับอุตสาหกรรมการบินและอากาศยาน ซึ่งปรับใช้โครงสร้างมาตรฐาน High Level Structure ตาม ANNEX SL ของ ISO/IEC Directives, Part 1

ที่มา https://www.sae.org/iaqg/projects/9100-2016-key-changes.pdf
ภาพที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างมาตรฐาน ISO 9001 และ กลุ่มมาตรฐาน AS 9100 (AS 9100 Series)

โครงสร้างมาตรฐาน AS 9100 : 2016 (Revision D) มีดังนี้

AS 9100 : 2016 (Revision D)

1. ขอบข่าย (Scope)

2. เอกสารอ้างอิง (Normative references)

3. คำศัพท์และบทนิยาม (Terms and definitions))

4. บริบทขององค์กร (Context of the organization)

5. ภาวะผู้นำ (Leadership)

6. การวางแผน (Planning)

7. การสนับสนุน (Support)

8. การดำเนินงาน (Operation)

9. การประเมินผลการดำเนินงาน (Performance of evaluation)

10. การปรับปรุงระบบ (Improvement)

มาตรฐานนี้ กล่าวถึงขอบข่าย เอกสารอ้างอิง คำศัพท์และคำจำกัดความ และข้อกำหนด ตั้งแต่ข้อ 4 ถึง ข้อ 10 ซึ่งได้แก่
ข้อ 4 บริบทองค์กร (Context of the organization)
4.1 ความเข้าใจในองค์กรและบริบทขององค์กร (Understanding the organization and its context)
4.2 ความเข้าใจในความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย (Understanding the needs and expectations of interested parties)
4.3 การกำหนดขอบข่ายของระบบการจัดการคุณภาพ (Determining the scope of the management system)
4.4 ระบบการบริหารจัดการคุณภาพและกระบวนการ (Quality management system and its process)
ข้อ 5 บทบาทของผู้นำ (Leadership)
5.1 ภาวะผู้นำและความมุ่งมั่น (Leadership and commitment)
5.2 นโยบาย (Policy)
5.3 บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ และอำนาจขององค์กร (Organization roles, responsibilities and authorities)
ข้อ 6 การวางแผน (Planning)
6.1 การจัดการความเสี่ยงและโอกาส (Actions to address risks and opportunities)
6.2 วัตถุประสงค์คุณภาพและการวางแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ (Quality objectives and planning to achieve them)
6.3 การวางแผนสำหรับการเปลี่ยนแปลง (Planning of change)
ข้อ 7 การสนับสนุน (Support) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน
7.1 ทรัพยากร (Resources)
7.2 ความสามารถ (Competence)
7.3 ความตระหนัก (Awareness)
7.4 การสื่อสาร (Communication)
7.5 เอกสารสารสนเทศ (Documented information)
ข้อ 8 การนำไปปฏิบัติ (Operation)
8.1 การวางแผนและการควบคุมการปฏิบัติ (Operational planning and control)
8.2 ข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการ (Requirements for products and services)
8.3 การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ (Design and development of products and services)
8.4 การควบคุมกระบวนการจัดหา ผลิตภัณฑ์ และบริการ จากภายนอก (Control of externally provided processes, products and services)
8.5 กระบวนการผลิตและการให้บริการ (Production and service provision)
8.6 การตรวจปล่อยผลิตภัณฑ์และการบริการ (Release of products and services)
8.7 การควบคุมผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด (Control of nonconforming outputs)
ข้อ 9 การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance evaluation)
9.1 การเฝ้าระวัง การวัด การวิเคราะห์ และการประมินผลการปฏิบัติงาน (Monitoring, measurement, analysis and evaluation)
9.2 การตรวจประเมินภายใน (Internal audit)
9.3 การทบทวนของฝ่ายบริหาร (Management review)
ข้อ 10 การปรับปรุง (Improvement)
10.1 ข้อกำหนดทั่วไป (General) สำหรับการดำเนินการปรับปรุงและแก้ไข
10.2 การดำเนินการกับความไม่สอดคล้องตามข้อกำหนดและการปฏิบัติการแก้ไข (Nonconformity and corrective action)
10.3 การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continual improvement)

7. ประโยชน์จากการจัดทำมาตรฐาน
การนำมาตรฐานระบบการจัดการ AS 9100 มีส่วนช่วยสร้างประโยชน์ดังต่อไปนี้

สร้างความมั่นใจในการดำเนินงานขององค์กรที่สอดคล้องกับข้อกำหนดของลูกค้า และสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า
ช่วยในการจัดการกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นที่จะส่งกระทบต่อผลิตภัณฑ์และบริการ
เพิ่มความสามารถทางการตลาดของผลิตภัณฑ์และบริการ ที่พิสูจน์ (โดยหน่วยงาน/บุคคลที่ 3) ได้จากความมุ่งมั่นในการส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพสูง
สามารถเข้าถึงตลาดทั่วโลกโดยผ่านการรับรองระบบที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

8. แหล่งข้อมูลและเอกสารอ้างอิง

http://www.sae.org/iaqg/publications/standards.htm
https://www.sae.org/iaqg/projects/9100-2016-key-changes.pdf
https://www.nsf.org/newsroom_pdf/isr_as9100_transition_guide.pdf
http://www.qtimeconsult.com/as-9100.html
http://www.tpa.or.th/publisher/pdfFileDownloadS/FQ145_p33-36.pdf

ปรับปรุงข้อมูลเมื่อเดือนมิถุนายน 2560