CEN/TS 16555-1:2013

1. ชื่อมาตรฐาน
(ภาษาอังกฤษ) PD CEN/TS 16555-1:2013 Innovation Management – Part 1: Innovation Management System

2. การประกาศใช้
31 กรกฎาคม 2013

3. หน่วยงานเจ้าของมาตรฐาน
European Institute of Innovation and Technology (EIT), European Committee for Standardization

4. ประเภทมาตรฐาน
CEN/TS 16555 เป็นมาตรฐานระบบการจัดการสามารถขอรับการรับรองหรือการทวนสอบจากหน่วยรับรองระบบ (Certification Body) ที่ให้บริการได้

5. ขอบเขตและการนำมาตรฐานไปใช้
CEN/TS 16555 มุ่งให้องค์กรสามารถสร้างนวัตกรรมได้อย่างเป็นระบบ เพื่อรองรับการเติบโตขององค์กรให้สามารถดำเนินการภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และสามารถสร้างนวัตกรรมได้เป็นผลสำเร็จ และช่วยในการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาขององค์กร ซึ่งระบบการจัดการนวัตกรรมสามารถดำเนินการแบบแยกออกอย่างอิสระหรือสามารถบูรณาการร่วมกับการดำเนินงานและการบริหารงานหลัก รวมถึงระบบการจัดการอื่นๆ ขององค์กร เพื่อให้มั่นใจว่าวัตถุประสงค์/เป้าหมายด้านนวัตกรรมจะมีการดำเนินงาน โดยจะมีการวัดผลและปรับปรุง และมาตรฐานนี้สามารถประยุกต์ใช้ได้กับองค์กรทุกขนาด ทุกประเภท

6. สาระสำคัญของมาตรฐาน

รูปภาพองค์ประกอบหลักของระบบการจัดการนวัตกรรม

ในมาตรฐาน CEN/TS 16555-1:2013 อ้างอิงการใช้โครงสร้าง High Level Structure ตาม ANNEX SL ของ ISO

CEN/TS 16555-1:2013

1. Scope

2. Normative references

3. Terms and definitions

4. Context of the organization

5. Leadership of innovation

6. Planning for innovation success

7. Innovation enablers/driving factors

8. Innovation management process

9. Performance assessments of the innovation management system

10. Improvement of the innovation management system

11. Innovation management techniques

มาตรฐานนี้ กล่าวถึงขอบข่าย บทนิยาม และข้อกำหนดของระบบการบริหารจัดการนวัตกรรม ประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้
ข้อ 4 บริบทองค์กร Context of the organization)
– วิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ทั้งปัจจัยภายในและภายนอกองค์กร เช่น ข้อมูลด้านตลาด (ความต้องการของผู้ใช้ คู่แข่ง คู่ค้า ผู้จัดจำหน่าย ฯลฯ) ข้อมูลด้านเทคนิค (ทรัพย์สินทางปัญญา งานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ฯลฯ) ข้อมูลด้านกฎหมาย (กฎหมาย มาตรฐาน กฎระเบียบ Code of Conduct สิทธิประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศ ฯลฯ) ข้อมูลด้านสังคม (สิถิติทางประชากร แนวโน้ม ความหลากหลาย ฯลฯ) ข้อมูลด้านวัฒนธรรม (ทัศนคติ ความคิดความเชื่อ ฯลฯ) เป็นต้น
– วิเคราะห์ความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ข้อ 5 บทบาทของผู้นำด้านนวัตกรรม (Leadership for innovation)
– ผู้บริหารต้องกำหนดวิสัยทัศน์ด้านนวัตกรรมขององค์กร
– ผู้บริหารต้องแสดงให้เห็นถึงภาวะความเป็นผู้นำและความเอาใจใส่ต่อหน้าที่ความรับผิดชอบในระบบบริหารจัดการนวัตกรรม ผ่านสิ่งต่างๆ เช่น การกำหนดกลยุทธ์ นโยบายและวัตถุประสงค์ด้านนวัตกรรม การสนับสนุนทรัพยากร อำนวยความสะดวกและสนับสนุนบุคลากรเพื่อให้เกิดประสิทธิผล เป็นต้น
– ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการสร้างนวัตกรรมขององค์กร
ข้อ 6 การวางแผนเพื่อความสำเร็จด้านนวัตกรรม (Planning of innovation success)
– วางแผนการปฏิบัติ โดยพิจารณาถึงบริบทองค์กร และความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย และให้มีการระบุความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม
– ระบุประเด็นปัญหาด้านนวัตกรรมทั้งภายในและภายนอกองค์กร
– มีการวางแผนวิธีการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นวัตกรรม กำหนดกิจกรรม ทรัพยากร ความรับผิดชอบ ปัจจัยผลักดัน ขันตอนการจัดการนวัตกรรมและสร้างตัวชี้วัดในการตรวจสอบความสำเร็จในระยะสั้นและระยะยาวของระบบบริหารจัดการนวัตกรรม
ข้อ 7 ปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินงานด้านนวัตกรรม (Innovation enablers/driving factors)
– องค์กรต้องจัดโครงสร้าง บทบาท ความรับผิดชอบ และทรัพยากร
– องค์กรต้องกำหนดคุณสมบัติของบุคลากรที่รับผิดชอบ และจัดให้มีการพัฒนาทักษะและความรู้ความสามารถที่จำเป็น
– การสร้างความตระหนักให้แก่บุคลากรขององค์กร และสร้างแรงจูงใจ/วัตนธรรมองค์กรด้านนวัตกรรม
– การสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร
– การจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและความรู้
– การสร้างความร่วมมือ (Collaboration)
ข้อ 8 กระบวนการจัดการนวัตกรรม (Innovation management process)
– องค์กรต้องกำหนดกระบวนการสร้างนวัตกรรมตามความเหมาะสมกับบริบทขององค์กร
ข้อ 9 การประเมินผลการปฏิบัติงานระบบการบริหารจัดการนวัตกรรม (Performance assessment of the innovation management system)
– กำหนดตัวชี้วัด วิธีการสำหรับการตรวจติดตามและเกณฑ์ในการตรวจวัด
– การตรวจประเมินภายใน
– การทบทวนฝ่ายบริหาร
ข้อ 10 การปรับปรุงระบบการจัดการนวัตกรรม (Improvement of the innovation management system)
ชี้บ่งความเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้น และกำหนดวิธีการแก้ไข เพื่อกำจัดสาเหตุของความเบี่ยงเบน หรือสร้างการดำเนินการแก้ไขเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและผลลัพธ์ของระบบการบริหารจัดการนวัตกรรม
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ข้อ 11 เทคนิคการจัดการนวัตกรรม (Innovation management techniques)
– เทคนิคการจัดการนวัตกรรมเกี่ยวข้องกับความหลากหลายของด้านที่ต้องการพัฒนา
– การจัดการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจทางกลยุทธ์
– การคิดแบบนวัตกรรม
– การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา
– การจัดการสร้างความร่วมมือ
– การจัดการความคิดสร้างสรรค์

7. ประโยชน์จากการจัดทำมาตรฐาน
การนำระบบการบริหารจัดการนวัตกรรม CEN/TS 16555 มาใช้อย่างเป็นระบบมีส่วนช่วยสร้างประโยชน์ดังต่อไปนี้

องค์กรมีการเติบโตเพิ่มขึ้น มีระบบการสร้างแนวคิดนวัตกรรมหรือคุณค่าใหม่ๆ จากผลิตภัณฑ์หรือบริการ ก่อให้เกิดรายได้และผลกำไรจากนวัตกรรม นอกจากนี้ ยังสามารถนำค่าใช้จ่ายการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อขอยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวน 3 เท่าของค่าใช้จ่ายจริง (การยกเว้นภาษีร้อยละ 300)
ช่วยองค์กรในการคาดการณ์มูลค่าจากความเข้าใจด้านความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง รวมถึง ช่วยองค์กรในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของตลาดใหม่ในอนาคต
สามารถนำระบบการบริหารจัดการนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้กับข้อปฏิบัติหรือระบบการจัดการอื่นๆ ขององค์กร เพื่อรองรับวัตถุประสงค์/เป้าหมาย และเป็นส่วนช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินการให้ดีขึ้น

8. แหล่งข้อมูลและเอกสารอ้างอิง
– CEN/TS 16555-1:2013 Innovation Management System
– เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตร CEN/TS 16555-1:2013 Innovation Management System สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ

ปรับปรุงข้อมูลเมื่อเดือนเมษายน 2560