The Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) System (CXC 1 – 1969, Rev.5-2020)

1. ชื่อมาตรฐาน
(ภาษาไทย)

  • มอก.7000-2549 ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร และคำแนะนำในการนำไปใช้
  • มกษ.9024-2550 ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมและแนวทางในการนำไปใช้ (HACCP)

(ภาษาอังกฤษ)

  • The Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) System (CXC 1 – 1969, Rev.5-2020)

2. การประกาศใช้เมื่อ
22 มกราคม 2551 (มาตรฐานไทย) /5 November 2020 (มาตรฐานสากล)

3. หน่วยงานเจ้าของมาตรฐาน (ผู้ประกาศใช้)
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.), สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ /Codex Alimentarius Commission

4.ประเภทมาตรฐาน

GMP/GHP และ HACCP เป็นมาตรฐานระบบการจัดการ สามารถขอการรับรองจากหน่วยรับรองระบบ (Certification Body) ที่ให้บริการได้

5.ขอบเขตและการนำมาตรฐานไปใช้

GMP/GHP และ HACCP เป็นมาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร รวมถึงอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องการควบคุมด้านสุขลักษณะที่ดีในการผลิต และการควบคุมด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ เช่น ยา เครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์ที่สามารถสัมผัสกับอาหารโดยตรง

6. สาระสำคัญของมาตรฐาน และประโยชน์ในการนำมาตรฐานไปปฏิบัติ

ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในการผลิตอาหาร HACCP (Hazard Analysis and Critical Point System) เป็นระบบการจัดการเพื่อความปลอดภัยของอาหารโดยใช้การควบคุมจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (CCP) ของการผลิต ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร (Food business operator: FBO) สามารถนำไปปฏิบัติได้โดยตลอดในห่วงโซ่อาหารตั้งแต่ผู้ผลิตเบื้องต้น (Primary Producer) จนถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้ายเพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์นอกจากนี้ยังลดการกีดกันทางการค้าของประเทศนำเข้าอีกด้วย ระบบ HACCP ยึดหลักเกณฑ์ตามโครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (Codex) ซึ่งสามารถป้องกันอันตราย หรือสิ่งปนเปื้อนทางชีวภาพ เคมีและกายภาพของอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะเน้นการควบคุมพนักงานและ/หรือเทคนิคการตรวจติดตามอย่างต่อเนื่องที่จุดวิกฤตที่ต้องควบคุมและลดความสำคัญของการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุดท้าย

รายละเอียดของมาตรฐาน HACCP

ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม และคำแนะนำสำหรับการใช้งาน (Hazard Analysis and Critical Control Point (HACCP) System and  Guidelines for its Application)
–    บทนำ
–    ส่วนที่ 1: หลักการของระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Principle of the HACCP system)
–    ส่วนที่ 2: คำแนะนำทั่วไปสำหรับการประยุกต์ใช้ระบบ HACCP (General Guidelines for the application of the HACCP system)
–    ส่วนที่ 3: การประยุกต์ใช้ (Application)
ภาคผนวก 1 – การเปรียบเทียบมาตรการควบคุมต่าง ๆ ด้วยตัวอย่าง (Comparison of control measures with examples)

ประโยชน์ของ HACCP

  • เกิดผลดีต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค
  • ลดการสูญเสียในด้านเศรษฐกิจเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
  • มีการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของอาหารอย่างมีระบบ และใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัดค่าใช้จ่าย
  • ลดการกีดกันทางการค้า และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาด
  • เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์กร และผลิตภัณฑ์
  • เป็นระบบคุณภาพด้านความปลอดภัยของอาหารที่สามารถขอการรับรองได้
  • เป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาสู่ระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001

7. แหล่งข้อมูลและเอกสารอ้างอิง

ปรับปรุงข้อมูลเมื่อเดือนมิถุนายน 25ุ64