ก้าวสู่ Net-Zero ให้ได้ภายในปี 2593

Share

2.1 Achieving Net Zero EMISSIONS by 2050_ปัจจุบัน ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประชากร และสิ่งแวดล้อมทั่วโลกต้องเผชิญกับปัญหาภัยพิบัติมากขึ้นทั้งในแง่ของความถี่และขนาดของผลกระทบ เพียงแค่ช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา โลกต้องประสบปัญหาภัยพิบัติอันเป็นผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน ดังตัวอย่างเหตุการณ์ครั้งสำคัญที่เกิดขึ้น ดังต่อไปนี้

– เดือนมกราคม 2564 หลังคลื่นความร้อนเข้าปกคลุมเข้าปกคลุมทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศออสเตรเลีย ทำให้อุณหภูมิพุ่งสูงขึ้นมากในหลายเมืองใหญ่ บางแห่งสูงถึง 40 องศาเซลเซียส และไฟป่าปะทุขึ้นกว่า 10,000 ไร่
– ตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายน 2565 เป็นต้นมา ประเทศปากีสถาน ได้เผชิญหน้ากับฤดูมรสุมอย่างรุนแรงจนกระทั่งในเดือนสิงหาคม ได้เกิดน้ำท่วมอย่างฉับพลันในพื้นที่ถึง 1 ใน 3 ของประเทศ มีผู้เสียชีวิตกว่า 1,500 คน และถือว่าเป็นภัยพิบัติที่เลวร้ายที่สุดในรอบทศวรรษของประเทศ
– กลางเดือนมิถุนายน 2565 และกลางเดือนกรกฎาคม 2565  พบผู้เสียชีวิตกว่า 16,000 คนจากคลื่นความร้อนในทวีปยุโรป
– เดือนสิงหาคม 2565 ประเทศสเปน พบผู้เสียชีวิตสะสมกว่า 600 รายจากการแผ่คลื่นความร้อนไปเกือบทั่วประเทศ
– เดือนสิงหาคม 2565 ประเทศจีนประสบภัยแล้งอย่างรุนแรงทำให้ระดับน้ำในบริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2504 (ค.ศ.1961) ส่งผลกระทบต่อการขาดแคลนน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูก  และโรงไฟฟ้าพลังน้ำในบริเวณใกล้เคียงก็ผลิตไฟฟ้าได้น้อยลงด้วย  ภาครัฐจึงต้องใช้มาตรการประหยัดพลังงาน
– เดือนตุลาคม 2565 ประเทศสหรัฐอเมริกา พบผู้เสียชีวิต 83 รายจากภัยพิบัติเฮอริเคน “เอียน” ที่พัดผ่านภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ
– เดือนตุลาคม 2565 ประเทศไนจีเรีย พบผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 500 รายจากภัยพิบัติน้ำท่วม และประชาชนต้องอพยพออกนอกบริเวณที่อยู่อาศัยกว่า 1.4 ล้านคน

ภัยพิบัติและความสูญเสียที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างแท้จริงโดยมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มารองรับถึงแม้ว่าจะยังคงมีผู้คนเข้าใจผิดว่าปัญหาโลกร้อนเป็นเรื่องลวงโลกอยู่บ้างก็ตาม  นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยหลายฉบับระบุว่าประเทศที่ยากจนกว่าจะได้รับผลกระทบมากที่สุดเนื่องจากไม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด

ดังนั้น ทุกภาคส่วนจากทั่วโลกจึงต้องให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งได้รวมเอาวาระของความยุติธรรมด้านสภาพภูมิอากาศเข้าไว้ในการประชุม COP 27 ระหว่างวันที่ 6 – 18 พฤศจิกายน 2565 ที่เมืองชาร์ม เอล-ชีค ประเทศอียิปต์ ซึ่งหมายความว่าโลกของเราต้องมีเงินทุนจำนวนมากในการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ และจะต้องทำให้ได้อย่างรวดเร็วเพื่อเร่งให้ก้าวสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 (ค.ศ.2050)

ดังนั้น การใช้การเงินสีเขียวหรือการเงินที่ยั่งยืนจึงมีความสำคัญมาก มาร์ก คาร์นีย์ ทูตพิเศษด้านปฏิบัติการและการเงินแห่งองค์การสหประชาชาติ ได้เน้นย้ำถึงปัญหานี้ในตอนที่กล่าวสุนทรพจน์ในการประชุมประจำปีของสภาเศรษฐกิจโลก (WEF) ที่เมืองดาวอสในเดือนพฤษภาคม 2565 ว่า การกล่าวว่าประเทศต่าง ๆ จะก้าวไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายปี 2563 ไม่ได้ช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้จริง  แต่จะต้องมุ่งเน้นทำในสิ่งที่จะต้องทำให้ได้และต้องใช้เวลาหลายปีถัดไปเพื่อดำเนินการให้สอดรับกับเป้าหมายนี้

ปัญหาหลักคือการจัดหาเงินทุนที่ยั่งยืนที่ไม่ใช่แค่ว่าจะไม่เพียงพอเท่านั้น แต่มีการประมาณการที่ชี้ให้เห็นว่าจำเป็นต้องมีเงินทุนสูงถึง 50 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2593  และยังมีแผนและวิธีการที่เป็นอุปสรรคต่อความคืบหน้าและส่งผลให้มีการใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศในปัจจุบันเพียง 0.7% ของ GDP โลก

เพื่อสนับสนุนในเรื่องดังกล่าว ไอเอสไอได้เผยแพร่มาตรฐาน ISO14093  เพื่อให้องค์กรต่างๆ (เช่น สถาบันการเงิน องค์กรผู้ให้ทุน) นำไปใช้เป็นกลไกในการจัดหาเงินทุนสำหรับการปรับตัวในท้องถิ่นเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  และมาตรฐาน  ISO 32210 เพื่อให้องค์กรต่างๆ (รวมทั้งนักลงทุน ผู้จัดการและผู้ให้บริการสินทรัพย์) นำไปใช้ประยุกต์ใช้หลักการ แนวทางปฏิบัติ และคำศัพท์ด้านความยั่งยืนที่ครอบคลุมสำหรับกิจกรรมทางการเงิน

การก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกประเทศและมีการเปลี่ยนแปลงในทุกระดับเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการลดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกลง 1.5 องศาเซลเซียสภายใต้ความตกลงปารีสและการปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนทั้งหมดภายในปี 2593  โดยองค์กรต่าง ๆ สามารถนำมาตรฐานสากลด้านการเงินที่ยั่งยืนไปใช้เพื่อสนับสนุนให้ก้าวไปสู่เป้าหมายดังกล่าวร่วมกัน

ที่มา: 1. https://www.sdgmove.com/2022/10/11/pakistan-flood-monsoon-climate-change/
2. https://www.bbc.com/thai/international-63571202
3. https://www.iso.org/contents/news/2022/11/how-finance-can-advance-climate-.html

 1,036 ผู้เข้าชมทั้งหมด