นักวิทย์ชี้ลดโลกร้อนเร่งด่วน ต้อง “ฟื้นฟูป่าธรรมชาติ ควบคู่ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก”

Share

ผลการศึกษาวิจัยใหม่ล่าสุดเรื่อง “Integrated global assessment of the natural forest carbon potential” ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 แสดงให้เห็นว่า นอกเขตเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม ป่าธรรมชาติที่มีความหลากหลายทางชีวภาพนั้น มีศักยภาพในการดักจับคาร์บอนเพิ่มเติมสูงถึง 226 กิกะตัน  แต่เนื่องจากมีการตัดไม้ทำลายป่าอย่างต่อเนื่อง ปริมาณคาร์บอนทั้งหมดที่สะสมอยู่ในป่าไม้จึงต่ำกว่าสภาพธรรมชาติราว 328 กิกะตัน  ดังนั้น ธุรกิจอุตสาหกรรมจึงควรดำเนินการเพื่อยุติการดำเนินการบางอย่างที่มีส่งผลการตัดไม้ทำลายป่าในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของตนเองรวมทั้งในห่วงโซ่อุปทานด้วย

ข้อมูลจากงานวิจัยดังกล่าว ระบุว่า หากปล่อยให้ป่าธรรมชาติฟื้นตัว จะสามารถกักเก็บคาร์บอนเพิ่มอีกราว 226 กิกะตันคาร์บอนซึ่งสิ่งนี้จะไม่สำเร็จได้ด้วยการปลูกต้นไม้ตามปกติออกไปในบริเวณกว้าง แต่จะทำได้ด้วยการปกป้องป่าธรรมชาติที่ยังเหลืออยู่แล้วฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมจนเติบโตเต็มที่ซึ่งคิดเป็น 61% ส่วนที่เหลืออีก 39% จะทำได้โดยเชื่อมโยงภูมิทัศน์ป่าที่มีอยู่กระจัดกระจายให้เข้ากับการจัดการและฟื้นฟูระบบนิเวศที่ยั่งยืนและเหมาะสมกับบริบท รวมทั้งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ วนเกษตร และการฟื้นฟูป่าโดยทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นทางเลือกทางเศรษฐกิจที่เป็นไปได้สำหรับชุมชน

ข้อมูลดังกล่าวยังระบุด้วยว่าความหลากหลายทางชีวภาพนับเป็นครึ่งหนึ่งของป่าไม้ทั่วโลกซึ่งแสดงให้เห็นว่าศักยภาพของป่าไม้ไม่สามารถทำได้ด้วยการปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพียงชนิดเดียว แต่จะต้องมีแนวทางปฏิบัติด้านการเกษตร ป่าไม้ การปกป้องความสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางธรรมชาติ และการฟื้นฟูที่ยั่งยืนซึ่งส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพที่ดีต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของคนในท้องถิ่นซึ่งมีศักยภาพสูงสุดในการดักจับและกักเก็บคาร์บอนในระยะยาวด้วย

ทั่วโลก มีชุมชน ประชากรพื้นเมือง เกษตรกร และธุรกิจต่างๆ ที่เลือกความหลากหลายทางชีวภาพตามธรรมชาติและเป็นทางเลือกที่ดีกว่า  มีตัวอย่างมากมายที่ความหลากหลายทางชีวภาพช่วยเพิ่มรายได้ระยะยาวให้กับผู้คนซึ่งควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก

ตัวอย่างเช่น ในเขตกาฟฟาของประเทศเอธิโอเปีย การผลิตกาแฟได้ทำลายดินและความหลากหลายทางชีวภาพลง จึงมีการคาดการณ์ว่าพืชกาแฟจะลดลงมากถึง 30% ในอีก 70 ปีข้างหน้า เนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดปริมาณน้ำฝนที่ไม่แน่นอนและความแห้งแล้งที่ยืดเยื้ออย่างยาวนาน ส่งผลให้คุณภาพของดินแย่ลง และทำให้เกิดภัยคุกคามมากขึ้นต่อความหลากหลายทางชีวภาพ

ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ป่าธรรมชาติยังไม่สามารถทดแทนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ดังนั้น เราจึงต้องมีทั้งการปลูกป่าให้มีความหลากหลายทางชีวภาพ การฟื้นฟูป่าธรรมชาติ และดำเนินการทุกอย่างที่ช่วยให้ลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะพิจารณาในฐานะที่เป็นปักเจกบุคคลหรือในฐานะที่เป็นองค์กร เราสามารถมีส่วนร่วมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้

ในฐานะที่เป็นปัจเจกชน มีแนวทางในการมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจก 4 ประการดังต่อไปนี้

  1. พิจารณาถึงสิ่งที่เราบริโภคและพยายามเลือกสิ่งที่มาจากท้องถิ่นของตนเอง
  2. ลงทุน บริจาค และซื้อผลิตภัณฑ์ที่มาจากชุมชนท้องถิ่นที่ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ
  3. เรียกร้องให้องค์กร และภาครัฐให้มีส่วนร่วมในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ
  4. ส่งเสริมกลไกทางการเงิน และเชิงนโยบายเพื่อมุ่งเน้นไปสู่การส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนทั่วโลก

ในฐานะที่เป็นองค์กรหรือภาคธุรกิจอุตสาหกรรม มีแนวทางในการมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจก 3 ประการ ดังต่อไปนี้

  1. ยุติการดำเนินการบางอย่างที่ส่งผลต่อตัดไม้ทำลายป่าที่มีส่วนมาจากการดำเนินงานขององค์กร และพยายามลดผลกระทบเหล่านั้นให้เหลือน้อยที่สุด
  2. เร่งดำเนินการเพื่อจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งยังคงคุกคามระบบนิเวศทั่วโลกของเรา
  3. ลงทุนในความพยายามที่ขับเคลื่อนโดยชุมชนท้องถิ่นนับที่ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลก

เราทุกคนและทุกองค์กรมีส่วนสำคัญในการบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับองค์กรหรือธุรกิจอุตสาหกรรมสามารถนำมาตรฐานที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไปใช้งานได้ เช่น มาตรฐาน ISO 14064-1 Greenhouse Gases – Part 1 (GHG Inventory)  มาตรฐาน ISO 14064-2 Greenhouse Gases – Part 2 (GHG Project) มาตรฐานการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน เล่ม 1 (TIS/มอก. 14061-1) และเครื่องมือ CFO คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร Scope I, Scope II และ Scope III เป็นต้น

สำหรับท่านที่สนใจความรู้หรือบริการด้านความยั่งยืนของ MASCI สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายทวนสอบด้านความยั่งยืน โทรศัพท์ 026171723 – 36  หรือ Email: VVD@masci.or.th

 946 ผู้เข้าชมทั้งหมด