ISO 21001 ช่วยสถานศึกษาก้าวข้ามวิกฤตหลังยุค COVID-19

Share

โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่มีวันเหมือนเดิมในยุคหลัง COVID-19 นั้นได้รับผลกระทบในหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการศึกษา แม้ว่าการเรียนการสอนในสถานศึกษาต่าง ๆ จะยังคงดำเนินต่อไป แต่ก็ต้องปรับตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์  จะเห็นได้ว่ากระบวนการเรียนรู้เป็นปัญหาและอุปสรรคในแง่ของการเข้าถึงเทคโนโลยีและคุณภาพการศึกษา แล้วเราจะเปลี่ยนวิกฤตด้านการศึกษาเรียนรู้ให้กลายเป็นโอกาสได้อย่างไร

ในยุคนี้ มาตรฐานที่เหมาะกับสถานศึกษาเป็นอย่างยิ่ง คือ มาตรฐานระบบการจัดการองค์กรการศึกษา ISO 21001, Educational Organizations Management Systems for Educational Organization – Requirements with guidance for use หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ EOMS  ซึ่งมาตรฐานนี้ นอกจากจะเหมาะกับสถานศึกษาทั่วไปแล้ว ยังเหมาะสำหรับผู้ให้บริการด้านการศึกษาทุกประเภทรวมทั้งองค์กรการศึกษาภายในองค์กรขนาดใหญ่ที่ธุรกิจหลักไม่ใช่การศึกษาอย่างฝ่ายฝึกอบรมด้วย

องค์กรสามารถนำมาตรฐาน ISO 21001 (EOMS) ไปปรับใช้เพื่อสร้างความยืดหยุ่นและความได้เปรียบให้กับองค์กร โดยมาตรฐานนี้สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการพัฒนาด้านการศึกษาในยุคหลัง COVID-19 ซึ่งบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงในระบบการจัดการการศึกษา โดยเน้นความสามารถในการปรับตัวและความยืดหยุ่น

สถาบันการศึกษาหลังการแพร่ระบาดได้ให้ความสำคัญกับรูปแบบการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น การบูรณาการทางดิจิทัล และข้อควรปฏิบัติด้านสุขภาพ ซึ่งการนำมาตรฐาน ISO 21001 ไปใช้ในองค์กรทำให้สามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้โดยส่งเสริมแนวทางที่ครอบคลุมในการจัดการการศึกษา สิ่งนี้เน้นให้เห็นว่าสถานศึกษาต่าง ๆ จำเป็นต้องรับมือกับความท้าทายอย่างมีประสิทธิภาพโดยส่งเสริมสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีพลวัตภายหลังการหยุดชะงักของโลก และเพิ่มคุณภาพและประสิทธิผลของระบบการศึกษาทั่วโลกในท้ายที่สุดด้วย

ทั้งนี้ เนื่องจาก มาตรฐาน ISO 21001 เป็นมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพที่มีเป้าหมายในการปรับปรุงกระบวนการ และเน้นความต้องการและความคาดหวังของผู้ใช้บริการ ซึ่งช่วยให้สถานศึกษา และผู้ให้บริการทางการศึกษาสามารถเชื่อมโยงกิจกรรมเข้ากับพันธกิจและวิสัยทัศน์ได้อย่างมีประสิทธิผล

นอกจากนี้ ยังทำให้การเรียนรู้ตรงตามความต้องการส่วนบุคคลมากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน และช่วยปรับปรุงกระบวนการรวมทั้งระบบที่มีอยู่สำหรับนักการศึกษา และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นซึ่งจะได้เก็บเกี่ยวผลลัพธ์ของการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอต่อไป

การนำมาตรฐาน ISO 21001 ไปใช้ไม่เพียงแต่จะช่วยให้สถานศึกษา และผู้ให้บริการด้านการศึกษาก้าวข้ามวิกฤตด้านการศึกษาในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมการสร้างอนาคตที่ดีขึ้นสำหรับการศึกษาอันเป็นการมองภาพรวมของการจัดการคุณภาพการศึกษาในระยะยาวต่อไปด้วย

ที่มา: 

1. https://www.linkedin.com/pulse/iso-industry-trends-2024-exploring-latest-developments-6pakf/ 
2.
https://www.iso.org/news/Ref2174.html

 552 ผู้เข้าชมทั้งหมด